การพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
จังหวัดอำนาจเจริญ
ผู้วิจัย นางสาวพรรำไพ ศรชัย
โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ
อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อประเมินโครงการการพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ในด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) ทั้งนี้การพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบงานตามกรอบงาน 5 ด้าน คือ ด้านงานบริหาร ด้านงานเทคนิค ด้านงานบริการ ด้านงานสนับสนุนการเรียนการสอน และด้านงานกิจกรรมนักเรียน กลยุทธ์ในการพัฒนา คือ การประชุมแบบมีส่วนร่วม และการนิเทศภายใน ตามกระบวนการพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) คือ การค้นหาระบบ (Systems Investigation) การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) การออกแบบระบบ (Systems Design) การนำระบบไปใช้ (Systems Implementation) การบำรุงดูแลรักษาและทบทวนระบบ (Systems Maintenance and Review) โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) 2 วงรอบ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มผู้ร่วมวิจัยและผู้ให้ข้อมูล จำนวน 4 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และครูผู้รับผิดชอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน 2 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมจำนวน 389 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูจำนวน 20 คน นักเรียนอาสางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนจำนวน 26 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 290 คน และวิทยากรผู้มีประสบการณ์ด้านระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน 2 คน ส่วนประเมินโครงการการพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 368 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratify random sampling) ตามสูตรของทาโร ยามาเน (Yamane) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วม แบบบันทึกการนิเทศภายใน แบบบันทึกการสังเกต แบบมีส่วนร่วม แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบประเมินตนเอง แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วม การตรวจสอบข้อมูลยึดหลักการตรวจสอบแบบสามเส้า และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเชิงพรรณนา การประเมินโครงการมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ฉบับที่ 1 ใช้สอบถามความคิดเห็นผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้สอบถาม 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 – 0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 ฉบับที่ 2 ใช้สอบถามความคิดเห็นของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ คือ ด้านผลผลิตสำหรับนักเรียน จำนวน 25 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 – 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ
ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลจากการพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ตามกรอบงาน 5 ด้านคือ ด้านบริหาร ด้านเทคนิค ด้านบริการ ด้านงานสนับสนุนการเรียนการสอน และด้านงานกิจกรรมนักเรียน ตามกระบวนการ SDLC โดยอาศัยกลยุทธ์ ประชุมแบบมีส่วนร่วม และการนิเทศภายใน โดยภาพรวมในการพัฒนา ปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้ง มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดำเนินงานตามขั้นตอนการพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ได้เป็นที่น่าพอใจ และบรรลุตามเป้าหมาย
การประเมินโครงการการพัฒนาระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62,
S.D. = 0.57) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมสูงสุด 3 อันดับ พบว่า อันดับแรก คือ ด้านผลผลิต ( = 4.56, S.D. = 0.63) รองลงมาคือ ด้านสภาวะแวดล้อม ( = 4.53, S.D. = 0.72) และด้านกระบวนการ ( = 4.51, S.D. = 0.67) ตามลำดับ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ
ด้านปัจจัยนำเข้า ( = 4.43, S.D. = 0.84)