LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

แผนคณิต ป.2 เรื่องการบวกและการลบจำนวนนับ

usericon

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์             ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2ภาคเรียนที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องการบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000
                                     เวลา 16 ชั่วโมง
เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 100 (ไม่มีการทด)     เวลา 1 ชั่วโมง

1. สาระสำคัญ
การบวกจำนวนสองหลักใช้วิธีบวกจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกันเข้าด้วยกัน

2. จุดประสงค์การเรียนรู้
หลังจากเรียนจบชั่วโมงนี้แล้ว เมื่อกำหนดโจทย์การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 100 (ไม่มีการทด) ให้ นักเรียนสามารถ
2.1 ด้านความรู้
1. หาผลบวกได้ถูกต้อง
2. ทำแบบฝึกทักษะได้ถูกต้องอย่างน้อยร้อยละ 80
2.2 ด้านทักษะ / กระบวนการ
1. นำเสนอแนวคิดการแก้ปัญหาได้หลากหลายวิธี
2. นำความรู้คณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงในการเรียนรู้ต่างๆและในชีวิตประจำวันได้
2.3 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
    1. มีความรับผิดชอบ
    2. มีระเบียบวินัย
    3. มีการทำงานอย่างเป็นระบบ
    4. มีความรอบคอบ

3. สาระการเรียนรู้
    การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 100(ไม่มีตัวทด)หาผลบวกได้โดย นำจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกันมาบวกกัน
ตัวอย่าง














วิธีคิด
    ประโยคสัญลักษณ์ 22 + 43 =
วิธีที่ 1 วิธีบวกโดยเขียนหลักเลข
            หลักสิบ        หลักหน่วย
             2         2
            4         3
            6         5

ดังนั้น 22 + 43= 65
ตอบ ๖๕ ผล
วิธีที่ 2 วิธีบวกโดยการกระจาย

                20 + 2
                40 + 3
                60 + 5        65
ดังนั้น 22 + 43= 65
ตอบ ๖๕ ผล
วิธีที่ 3 บวกโดยวิธีลัด

                2 2
                4 3
                6 5
ดังนั้น 22 + 43= 65
ตอบ ๖๕ ผล








4. กระบวนการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. นักเรียนทบทวนความรู้เรื่องการบวกโดยการร้องเพลง การบวก จากแผนภูมิเพลงที่ครูนำมาติดบนกระดานร่วมกันพร้อมทำท่าทางประกอบเพลงเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม
    จากเพลงนักเรียนร่วมกันตอบคำถาม ดังนี้
- เพลงนี้กล่าวถึงสิ่งใด (การบวก)
- มีจำนวนอะไรบวกกันบ้าง ( 1 + 1 , 2 + 2 , 3 + 3 , 4 + 4 , 5 + 5 , 6 + 6 )
- จากบทเพลงนี้จำนวนใดที่บวกกันแล้วมีผลลัพธ์มากที่สุด (6 + 6)
2. นักเรียนทบทวนความสัมพันธ์ของค่าประจำหลัก โดยนักเรียนร่วมตอบคำถามดังนี้
            - กี่หน่วย    เป็น    1 สิบ    ( 10 หน่วย)
            - กี่สิบ        เป็น    1 ร้อย ( 10 สิบ )
        ครูแนะนำให้นักเรียนจำความสัมพันธ์ของค่าประจำหลักให้ดีเพราะจะได้ใช้ในการเรียนต่อไป
3. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบโดยให้นักเรียนอ่านแผนภูมิที่ครู
ติดไว้กระดานพร้อมกัน ครูสรุปอีกครั้งเพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในจุดประสงค์การเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
ขั้นสอน
1.ขั้นเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหารายบุคคล
1.1 ครูนำเสนอสถานการณ์ปัญหาบนกระดาน ดังนี้





        
นักเรียนอ่านสถานการณ์ปัญหาบนกระดานพร้อมกัน 2 รอบ แล้วตอบคำถามในประเด็นดังนี้
            - ปัญหานี้กล่าวถึงสิ่งใด ( ผลไม้ในกระจาด)
            - ปัญหานี้ต้องการทราบสิ่งใด (จำนวนผลไม้ทั้งหมดในกระจาด)
            - ในกระจาดมีผลไม้กี่ชนิด (2 ชนิด)
            - ผลไม้ชนิดใดมีจำนวนมากที่สุดในกระจาด (มะเฟือง)
1.2 ครูแจกบัตรกิจกรรมรายบุคคลจากสถานการณ์ปัญหาข้างบน ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมรายบุคคลเพื่อหาวิธีหาคำตอบให้ได้หลายวิธีที่สุดในเวลา 5 นาที ครูเดินดูขณะนักเรียนทำกิจกรรมโดยให้นักเรียนศึกษาสถานการณ์ปัญหาอย่างละเอียดรอบคอบ
1.3นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ 4 คน โดยคละตามความสามารถ
2. ขั้นไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย
2.1 เมื่อนักเรียนแต่ละคนแก้ปัญหาด้วยตนเองภายในเวลาที่กำหนดให้เสร็จแล้ว ให้นักเรียนเข้ากลุ่มที่ได้แบ่งไว้ เพื่อทำกิจกรรมกลุ่มย่อย
2.2 นักเรียนแต่ละคนร่วมกันเสนอแนวคิดแก้ปัญหาสถานการณ์ข้างต้นที่แต่ละคนคิดไว้ในขั้นตอนที่ 1 ครูเดินดูทุกกลุ่มและแนะนำสมาชิกทุกกลุ่มให้เห็นความสำคัญของสมาชิกทุกคนภายในกลุ่มยอมรับฟังแนวคิดของทุกคน ไม่วิจารณ์แนวความคิดของคนอื่น
2.3 กลุ่มตกลงเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดตามความคิดเห็นของกลุ่มเป็นวิธีที่สมาชิกทุกคนยอมรับ จากนั้นตัวแทนของแต่ละกลุ่มซักซ้อมการนำเสนอแนวคิดเพื่อที่จะไปเสนอต่อในระดับชั้นต่อไป
3. ขั้นเสนอแนวทางแก้ปัญหาทั้งชั้น
3.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานโดยครูจับสลากเรียงลำดับการนำเสนอ ในแต่ละกลุ่มจะนำเสนอผลงานกลุ่มว่ามีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไรบ้างโดยใช้แผนภาพประกอบหรืออ่านวิธีการแก้ปัญหาให้เพื่อนๆฟัง โดยออกเสียงชัดเจน
3.2 เมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อเห็นว่ายังมีวิธีแก้ปัญหาที่นักเรียนยังไม่ได้นำเสนอ ครูอาจใช้คำถาม    ว่านักเรียนมีวิธีแก้ปัญหาอื่นอีกหรือไม่
3.3 ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหาที่แต่ละกลุ่มได้นำเสนอมาในประเด็นดังต่อไปนี้
        - มีกลุ่มใดบ้างที่นำเสนอวิธีแก้ปัญหาเหมือนกัน
        - จัดกลุ่มวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างไร
        - นักเรียนคิดว่าวิธีการใดเหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหานี้
    3.4 ครูแนะนำวิธีคิดของแต่ละคนไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับความพร้อม ความสามารถ และความถนัดของนักเรียน ให้กำลังใจสำหรับนักเรียนที่คิดได้ช้าหรือมีปัญหา ชักชวนคนที่เก่งเปิดโอกาสให้เพื่อนคนที่อ่อนได้แสดงความคิดมากๆ
ขั้นสรุป
    ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปให้ได้ว่าการบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 100(ไม่มีการทด) สามารถหาคำตอบได้หลายวิธี เช่น วิธีบวกโดยเขียนหลักเลข วิธีบวกโดยการกระจาย และวิธีบวกโดยวิธีลัดนักเรียนสามารถนำหลักการดังกล่าวไปใช้ในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการบวก และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การซื้อสินค้า การนับสิ่งของ เป็นต้น
ขั้นฝึกทักษะ
    นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ เรื่องการการบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 100(ไม่มีการทด)

5. สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1. แผนภูมิเพลงการบวก
2. แผนภูมิจุดประสงค์การเรียนรู้
3. แผนภูมิสถานการณ์ปัญหา
4. บัตรกิจกรรมรายบุคคล เรื่องการบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 100(ไม่มีการทด)
5. บัตรกิจกรรมกลุ่มย่อย เรื่องการบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 100(ไม่มีการทด)
6. แบบฝึกทักษะ เรื่องการการบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 100(ไม่มีการทด)


6. การวัดและประเมินผล
1. วิธีการวัด
1.1 สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน
1.2 สังเกตการตอบคำถามและการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
1.3 ตรวจผลงาน
1) บัตรกิจกรรมรายบุคคล
2) บัตรกิจกรรมกลุ่มย่อย
3) แบบฝึกทักษะ
2. เครื่องมือวัด
2.1 แบบสังเกตพฤติกรรม
2.2 บัตรกิจกรรมรายบุคคล
2.3 บัตรกิจกรรมกลุ่มย่อย
2.4 แบบฝึกทักษะ
3. เกณฑ์การวัด / ประเมินผล
นักเรียนทำแบบฝึกทักษะได้อย่างน้อยร้อยละ 80


ความคิดเห็นของผู้บริหาร
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................            
(ลงชื่อ).............................................
                    (นายประสิทธิ์ เสาศิริ)
                 ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองหิ่งหาย










บันทึกผลหลังจัดกระบวนการเรียนรู้
    
ผลการเรียนรู้
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

    
ปัญหา /อุปสรรค
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................

ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

                        (ลงชื่อ)..............................................ผู้สอน
                            (นายวีระพงษ์ พลเยี่ยม)
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ ................./......................../.................





















































































ชื่อ – สกุล คนเก่ง......................................................................ชั้น.......................เลขที่....................










วิธีที่ 1...................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
วิธีที่ 2...................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
วิธีที่ 3...................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................









ชื่อกลุ่ม......................................................................
ชื่อสมาชิก 1.............................................................        2.........................................................
     3.............................................................        4.........................................................

































ชื่อ – สกุล คนเก่ง..................................................................เลขที่..................ชั้น........................
น้องๆ ช่วยพี่เม่นทำเครื่องหมาย  ใน ข้อที่ถูกและ ทำเครื่องหมาย ในข้อที่ผิด และแก้ไขให้ถูกต้องนะครับ...คุณหนูๆๆๆ

ตัวอย่าง
62 + 15= 
วิธีทำ
6 2
1 5
7 8
------
ตอบ    
1. 16 + 61= 
วิธีทำ
1 6
6 1
7 7
------
ตอบ    
2. 46 + 13= 
วิธีทำ
4 6
1 3
5 6
------
ตอบ

3. 25 + 42= 
วิธีทำ
2 5
4 2
6 8
------
ตอบ    
4. 32 + 50= 
วิธีทำ
3 2
5 0
8 2
------
ตอบ
    
5. 60 + 18= 
วิธีทำ
6 0
1 8
7 0
------
ตอบ
















ชื่อ – สกุล คนเก่ง..................................................................เลขที่..................ชั้น........................
น้องๆ ช่วยพี่เม่นทำเครื่องหมาย  ใน ข้อที่ถูกและ ทำเครื่องหมาย ในข้อที่ผิด และแก้ไขให้ถูกต้องนะครับ...คุณหนูๆๆๆ

ตัวอย่าง
62 + 15= 
วิธีทำ
6 2
1 5
7 8
------
ตอบ    
1. 16 + 61= 
วิธีทำ
1 6
6 1
7 7
------
ตอบ ๗๗    
2. 46 + 13= 
วิธีทำ
4 6
1 3
5 6
5 9
ตอบ ๕๙

3. 25 + 42= 
วิธีทำ
2 5
4 2
6 8
6 7
ตอบ ๖๗    
4. 32 + 50= 
วิธีทำ
3 2
5 0
8 2
------
ตอบ ๘๒
    
5. 60 + 18= 
วิธีทำ
6 0
1 8
7 0
7 8
ตอบ ๗๘











แบบสังเกตพฤติกรรมทางการเรียน
เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 100 (ไม่มีการทด)

ที่    ชื่อ - สกุล    ทำงานอย่างเป็นระบบ
    มีระเบียบวินัย
    มีความรอบคอบ
    มีความรับผิด
ชอบ
    รวม
    
ระดับคุณภาพ
        4    4    4    4    16    
1    เด็กชายชัยมงคล พิมพ์บูลย์                        
2    เด็กชายณัฐพงษ์ พิมพ์บูลย์                        
3    เด็กชายธนพงษ์ โสมชัย                        
4    เด็กชายธีระภัทร สารรัตน์                        
5    เด็กชายเปรื่องปราชญ์ วิกล                        
6    เด็กชายภานุพงษ์ กุลอาสา                        
7    เด็กชายภูริทัต ทิพยจรูญ                        
8    เด็กชายอัครพล ศรีทาคุณ                        
9    เด็กชายอุเทน ขันซ้าย                        
10    เด็กหญิงแก้วมณี โคตรสงคราม                        
11    เด็กหญิงชุติกาญจน์ ปนคำปืน                        
12    เด็กหญิงปิยวรรณ แสนสุพรรณ                        
13    เด็กหญิงพรพิมล อนันเอื้อ                        
14    เด็กหญิงศศิธร กิจสังสรรค์กุล                        


เกณฑ์การให้คะแนน
พฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำ    ให้ 4 คะแนน
พฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อยครั้ง    ให้ 3 คะแนน
พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง    ให้ 2 คะแนน
พฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยครั้ง    ให้ 1 คะแนน





แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 100 (ไม่มีการทด)

ชื่อกลุ่ม    พฤติกรรมที่สังเกต    ระดับคุณภาพ
    การมีส่วนร่วมในการวางแผน    การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่    การให้ความร่วมมือในการทำงาน    การแสดงความคิดเห็น    การนำเสนอผลงาน    รวม    
    4    4    4    4    4    20    
                            
                            
                            
                            
                            
                            
                            
                            



เกณฑ์การให้คะแนน
พฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำ    ให้ 4 คะแนน
พฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อยครั้ง    ให้ 3 คะแนน
พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง    ให้ 2 คะแนน
พฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยครั้ง    ให้ 1 คะแนน








ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^