การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทศนิยม ของนักเรียนชั้นมัธย
ชื่อผู้ศึกษา นางเอมอร ผลสนอง ตำแหน่งครู วิทยาฐานะชำนาญการ
ปีที่พิมพ์ 2555
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มห้องเรียน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 3 ชนิด ได้แก่ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 เล่ม ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทศนิยม จำนวน 2 ชุด ใช้ในการทดสอบก่อนเรียน(Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) โดยเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่ามีความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.56 - 0.65 และค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.24 - 0.59 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนทั้งหมด 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.46 ถึง 0.97 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.08/82.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจในระดับมาก และมากที่สุด
โดยสรุป แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่งที่สามารถเร้าความสนใจให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในบทเรียน ก่อให้เกิดความรู้เข้าใจเนื้อหาได้ดีและเร็วขึ้นและสามารถพัฒนาการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและประโยชน์สูงสุดจึงทำให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการตามศักยภาพทางด้านสติปัญญา ร่างกายจิตใจ อารมณ์ และสังคม ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นมีพัฒนาการทางการเรียนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในสาระการเรียนรู้อื่น ๆ และระดับชั้นอื่น ๆ จึงน่าจะนำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ไปเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนด้วย