กลยุทธ์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบริหารพัฒนาในการจัดการเรียนรู้
สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครสวรรค์
ผู้รายงาน นายอนุวัฒน์ พรเหลืองชมภู
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถานศึกษา
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ
ปีการศึกษา 2560
_____________________________________________________________________________________
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องกลยุทธ์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบริหารพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบริหารพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้กลยุทธ์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบริหารพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ 4 ด้าน คือ 1. ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 2. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3. ด้านสื่อการเรียนรู้ 4. ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ และ 3) เพื่อประเมินการเรียนรู้ตามกลยุทธ์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบริหารพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ กลุ่มตัวอย่างจากการวิจัยโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางกำหนดอัตราส่วนของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, อ้างถึงใน พิสณุ ฟองศรี, 2546 : 108) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาคณะครูผู้สอน คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และประธานชุมชนวัดไทรเหนือ ที่มีต่อการดำเนินงานตามกลยุทธ์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบริหารพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ 2) แบบสอบถามผลของกลยุทธ์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบริหารพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ และ 3) แบบสอบถามการประเมินการเรียนรู้ตามกลยุทธ์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบริหารพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ การดำเนินการศึกษาสภาพปัญหาการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ วางแผนและประชุมกำกับติดตาม ทดลองใช้สังเกตการณ์ดำเนินกิจกรรมวัดระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและคณะครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1) จากการพัฒนากลยุทธ์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบริหารพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ ก่อนการดำเนินกลยุทธ์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบริหารพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ ยังขาดความรู้ความเข้าใจชัดเจนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จึงส่งผลกระทบไปยังการจัดการเรียนรู้ที่ขาดประสิทธิภาพ เมื่อได้มีกลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติโดยผู้บริหารสถานศึกษาคณะครูผู้สอน คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และประธานชุมชนวัดไทรเหนือ ได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาแลกเปลี่ยนความรู้นำแนวคิดไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2) ผลของการใช้กลยุทธ์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบริหารพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ ทั้ง 4 ด้านคือ ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับดีมาก ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูผู้สอน คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานและประธานชุมชนวัดไทรเหนือ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารในระดับมากที่สุด ซึ่งส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเด็กนักเรียนมีคุณภาพที่ดีขึ้น
3) การประเมินการเรียนรู้ตาม กลยุทธ์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบริหารพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ โดยในภาพรวมพบว่า การเรียนรู้ตามกลยุทธ์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบริหารพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ อยู่ในระดับมาก เพราะผลงานของนักเรียนสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างรายได้ให้นักเรียนและครอบครัวได้ นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมพึงประสงค์ตามมาตรฐานการวัดผลตามหลักสูตร ผลงานของนักเรียนสามารถเก็บไว้สำหรับรุ่นต่อไป นักเรียนได้นำความรู้ไปประยุกต์ให้สามารถประกอบอาชีพได้ นักเรียนมีความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจและสติปัญญา และนักเรียนสามารถปฏิบัติได้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาสอน นักเรียนมีสมาธิในการปฏิบัติตามการจัดการเรียนรู้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น นักเรียนมีความรับผิดชอบร่วมกัน ผลงานของนักเรียนสามารถเก็บไว้สำหรับรุ่นต่อไป นักเรียนรู้จักการทำบัญชีจากผลงานภูมิปัญญาท้องถิ่น นักเรียนรู้จักการบันทึกขั้นตอนการปฏิบัติและรายงานผลการปฏิบัติ นักเรียนได้เรียนรู้ระบบข้อมูลข่าวสารและการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นักเรียนนำผลงานไปให้สมาชิกในครอบครัวได้ทำตาม นักเรียนมีความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาแห่งชาติ