ผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็ก
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแตล โดยการจัดประสบการณ์แบบการทดลอง
ผู้ศึกษา นางแสงมณี โพธิสาร หน่วยงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแตล สังกัดกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2561
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบการทดลองสำหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อเปรียบเทียบ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบการทดลองสำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็ก ( 3 ขวบ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแตล สังกัดกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คู่มือการจัดประสบการณ์การทดลองเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นเด็กเล็ก ( 3 ขวบ)จำนวน 28 กิจกรรม แผนการจัดประสบการณ์การทดลองเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็ก (3 ขวบ) แบบประเมินวัดทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 4 ฉบับ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการจัดประสบการณ์การทดลองเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็ก ( 3 ขวบ) ผลการศึกษาพบว่า
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การทดลองเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นเด็กเล็ก ( 3 ขวบ) พบว่า ระหว่างการทดลองกลุ่มเป้าหมาย มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดีทุกกิจกรรม และการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทางด้านทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการแสดงปริมาณ ทักษะการสื่อความหมาย ความก้าวหน้ารวมเฉลี่ยร้อยละ 42.16 และพบว่า ทักษะทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตเป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 49.24 รองลงมาได้แก่ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ด้าน การจำแนกประเภท คิดเป็นร้อยละ 43.85 ทักษะทางวิทยาศาสตร์ด้านการแสดงปริมาณ และ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ด้านการสื่อความหมาย คิดเป็นร้อยละ 37.69
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การทดลองเพื่อพัฒนลาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นเด็กเล็ก ( 3 ขวบ) จากการประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ พบว่า ค่าคะแนนความก้าวหน้าทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05