ขอเเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน : นางสาวประภาพร คำวันดี
สังกัด : โรงเรียนอนุบาลหนองหานวิทยายน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้า เรื่อง รายงานผลการใช้และพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนอนุบาลหนองหานวิทยายน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 34 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง(Purposive Sampling) ใช้รูปแบบการทดลองกลุ่มเดียว โดยมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน(One Group Pretest – Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ แบบวัดความพึงพอใจ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งมีค่าความยากง่าย(P) ตั้งแต่ 0.31 - 0.77 และค่าอํานาจจําแนก(B) ตั้งแต่ 0.31 -0.75 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9086 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t
ผลการศึกษา พบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.40/87.06 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน