การพัฒนาบทเรียนบทเรียนอีเลิร์นนิง (e-Learning) เรื่อง พระไตรปิฎก
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย นายชุมพล น้อยถนอม
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาคุณภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เรื่อง พระไตรปิฎก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง (e-Learning) เรื่อง พระไตรปิฎก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียน อีเลิร์นนิง (e-Learning) เรื่อง พระไตรปิฎก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิง (e-Learning) เรื่อง พระไตรปิฎก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เรื่อง พระไตรปิฎก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 หน่วย แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิง (e-Learning) แบ่งเป็น 2 ฉบับ คือ 1) แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิง (e-Learning) ด้านเนื้อหา 2) แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิง (e-Learning) ด้าน เทคโนโลยีการศึกษา แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 เรื่อง พระไตรปิฎก เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ค่าความยาก ระหว่าง 0.02 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.20 ถึง 0.70 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิง (e-Learning) เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t (t-Distribution)
ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เรื่องพระไตรปิฎก สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.95, S.D. = 0.08) ด้านเทคโนโลยีการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.60, S.D.= 0.28) 2) ประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เรื่อง พระไตรปิฎก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 85.58/87.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เรื่อง พระไตรปิฎก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เรื่อง พระไตรปิฎก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D.= 0.72)