เผยแพร่ผลงาน
ผู้วิจัย นางสาวสายฝน กลิ่นศรีสุข
ปีที่วิจัย 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง การแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง การแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง การแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนบ้านตระเปียงเตีย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 32 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้วิธีการจับฉลากและใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง การแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) คู่มือประกอบ การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง การแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง การแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง การแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ดำเนินการทดลองโดย 1) สร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 2) นำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง การแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 3) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ดำเนินการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง การแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ (t - test dependent sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง การแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.12/82.81 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง การแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง การแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.11)