รายงานการศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ฯ
ชื่อเรื่อง รายงานการศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน
วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัสวิชา ค32202
ชื่อผู้รายงาน นายธีรนันท์ นามเสริมศรี
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนประสาทวิทยาคาร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2561
รายงานการศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัสวิชา ค32202
มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน
2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชันกับเกณฑ์ร้อยละ 70
ประชากร
เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม โรงเรียนประสาทวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 181 คน
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนประสาทวิทยาคาร จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purpossive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน เรื่อง ความน่าจะเป็น จำนวน 9 แผน เวลา 9 ชั่วโมง
2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นข้อสอบแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยสำรวจ
การวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชันโดยการทดสอบค่าที (t-test for dependent samples)
2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชันกับเกณฑ์ร้อยละ 60 โดยการทดสอบค่าที (t-test for one sample)
ผลการศึกษา พบว่า
1) นักเรียนที่เรียนตามกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน เรื่อง ความน่าจะเป็น มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2) นักเรียนที่เรียนตามกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน เรื่อง ความน่าจะเป็น มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน ร้อยละ 58.01 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 โดยการทดสอบค่าที (t-test for one sample)