คู่มือการบริหารงานด้านงบประมาณ การเงิน พัสดุ
การบริหารงบประมาณของโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในช่วงที่ผ่านมา โรงเรียนมีบทบาทในการบริหารงบประมาณน้อยมาก บทบาทเหล่านี้จะอยู่ที่ สำนัก/ กองการศึกษา ทำให้ขาดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน แต่เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ออกระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีนำเงินรายได้ของสถานศึกษาไปจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๕๑ เมื่อระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ก็ทำให้สถานศึกษา มีรายได้จากแหล่งต่างๆ ซึ่งผู้อำนวยการสถานศึกษาจะมีอำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างได้ภายในวงเงินเกิน ๑๐๐,๐๐๐บาท ทำให้สถานศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระ และคล่องตัวในการบริหารงานงบประมาณเพิ่มมากขึ้น
แต่เมื่อมีระเบียบประกาศใช้ก็ทำให้พบปัญหาหลายประกาศ อาทิเช่น ด้านบุคลากร ซึ่งยังไม่มีความพร้อม ไม่มีประสบการณ์ในด้านงบประมาณ การเงิน พัสดุ ทำให้การดำเนินการติดขัด พบอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนเกี่ยวกับเอกสารประกอบฎีกาเบิกจ่ายต่างๆ ที่จะนำมาประยุกต์ใช้เฉพาะสถานศึกษายังไม่มีที่ชัดเจน ต้องอาศัยหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งก็พบว่าบางอย่างก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้ จึงทำให้ข้าพเจ้าได้ศึกษา ค้นคว้า และทำความเข้าใจ ปรับประยุกต์ในสิ่งที่ไม่ขัดต่อระเบียบกฎหมาย มาใช้เป็นคู่มือ ในการบริหารงานด้านงบประมาณ การเงิน พัสดุ โดยขอความอนุเคราะห์ผู้มีประสบการณ์ ผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญการในเฉพาะเรื่องได้ช่วยให้ข้อเสนอแนะแล้วนำไปทดลองใช้ และมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ทั้งการเงิน พัสดุ เข้ามาตรวจสอบ ซึ่งก็สามารถนำไปปฏิบัติงาน โดยในคู่มือได้กล่าวถึงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาสามปี แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา การเงินและบัญชี การพัสดุของสถานศึกษา ซึ่งมีตัวอย่างแบบฟอร์มเอกสารฎีกาต่างๆเป็นตัวอย่างในการดำเนินงาน
ซึ่งจาการนำไปทดลองใช้ก็พบว่าด้านวิชาการ เกี่ยวกับเนื้อหาสาระตรงกับการปฏิบัติงาน พบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.9 มีความสมบูรณ์ชัดเจนมาก การใช้ภาษา เข้าใจง่ายตามหลักวิชาการมีค่าเฉลี่ย 3.96 ดี มีความสมบูรณ์ชัดเจนมาก ในการนำเสนอลำดับขั้นตอนในการดำเนินงาน พบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.96 ดี มีความสมบูรณ์ชัดเจนมาก การติดตามและกำกับงานมีค่าเฉลี่ย 3.88 ดี มีความสมบูรณ์ชัดเจนมาก และในส่วนระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องพบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.96 ดี มีความสมบูรณ์ชัดเจนมาก
ด้านบุคลากร ได้ประเมินคุณภาพคู่มือมือ พบว่ามีประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ย 3.98 ดี มีความสมบูรณ์ ชัดเจนมาก ประโยชน์ต่อครู หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีค่าเฉลี่ย 4 ดี มีความสมบูรณ์ ชัดเจนมากที่สุด ประโยชน์ต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.96 ดี มีความสมบูรณ์ชัดเจนมาก ประโยชน์ต่อสถานศึกษาพบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.98 ดีมีความสมบูรณ์ชัดเจนมาก
ด้านบริหารทั่วไป ในส่วนของตัวอย่างเอกสารด้านงบประมาณ การเงิน พัสดุ ลดขั้นตอนความยุ่งยาก การจัดทำเอกสาร พบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.96 ดี มีความสมบูรณ์ชัดเจนมาก ความเกี่ยวเนื่องของการจัดทำเอกสาร แผนต่างๆ เอกสารบัญชี พัสดุ เป็นลำดับขั้นตอน พบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.98 มีความสมบูรณ์ ชัดเจนมาก เป็นเอกลักษณ์ในการนำไปใช้เฉพาะในสถานศึกษา พบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.96 ดี มีความสมบูรณ์ชัดเจนมาก ความสอดคล้องกับการบริหารงานอื่นๆ พบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.94 ดี มีความสมบูรณ์ชัดเจนมาก
ด้านงบประมาณ การประหยัดเวลาการจัดทำเอกสาร พบว่ามีค่าเฉลี่ย ๓.92 ดี มีความสมบูรณ์ชัดเจนมาก ลดขั้นตอนความยุ่งยากซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน พบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.92 ดี มีความสมบูรณ์ชัดเจนมาก
สำหรับข้อเสนอแนะหากว่าสถานศึกษาใดที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี มีความเข้าใจในระบบ e –GP มีความพร้อมด้านบุคลากร มีงบประมาณมาก ควรจะนำระบบ e –GP เข้ามาใช้ เพราะ e –GP คือศูนย์กลางที่เป็นหน้าต่างในการบริการข้อมูล และดำเนินธุรกรรมทางการจัดซื้อ จัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ อำนวยความสะดวกและทั่วถึงเท่าเทียมกัน และเป็นการปรับปรุงนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่มีประสิทธิภาพสามารถกระตุ้นตลาดและเสริมสร้างขีดความสามารถของภาคเอกชน