วิจัยชั้นเรียน
การพัฒนานักเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4
เรื่องตรีโกณมิติ โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 พบว่า นักเรียนเป็น
นักเรียนที่อยู่ในระดับปานกลางเป็นส่วนมาก แต่ยังมีนักเรียนบางคนขาดทักษะการคิดคำนวณ ส่วนนักเรียนที่เรียนดีก็ยังไม่รอบคอบในการทำงาน และบางครั้งยังเขียนคำตอบจากโจทย์ที่กำหนดให้ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ จึงได้จัดทำวิจัยนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
เพื่อแก้ปัญหานักเรียนไม่ตั้งใจ
วิธีดำเนินการวิจัย
4.1 ประชากร นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์
ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ จำนวนทั้งหมด 28 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
4.2 ตัวอย่าง นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์
ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนที่สอบหลังเรียนที่ได้คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 10 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
4.3 เครื่องมือการวิจัย
1. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ที่มีความยากง่ายพอเหมาะ
2. การให้การเสริมแรงระหว่างเรียน
4.4 วิธีการเก็บข้อมูล บันทึกคะแนน
4.5 สถิติที่ใช้และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
- ใช้สถิติค่าร้อยละ ( Percentage ) ของคะแนนหลังการเรียน
- ค่าเฉลี่ย (X ̅)
5. สรุปผลการวิจัย
จากการศึกษาและวิเคราะห์คะแนนที่ได้จากผลการทำชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่องตรีโกณมิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 จำนวน 10 คน นั้นแสดงให้เห็นว่า นักเรียนทุกคนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าหลังเรียนทุกคน คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนก็เพิ่มขึ้นจากเดิม คิดเป็นร้อยละ 68.75 ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่องตรีโกณมิติ และการเสริมแรงด้วยการให้รางวัลและวาจานั้นสามารถทำให้ผู้เรียนนั่นมีพัฒนาการทางด้านการคิดเพิ่มขึ้น
6.ภาคผนวก
6.1 เครื่องมือแก้ปัญหา
6.2 ผลคะแนนของนักเรียน