LASTEST NEWS

03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567

โครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

usericon

ชื่อเรื่อง      : รายงานการประเมินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน
ชื่อผู้รายงาน : นางอังคณา ฉางข้าวคำ
ปีที่รายงาน     : 2561

        การประเมินผลโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน ปีการศึกษา 2561 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ Daniel L. Stufflebeam ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ประเมินด้านสภาพบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 46 คนประกอบด้วย ครู จำนวน 3 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 18 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 18 คน และกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ขอบเขตเนื้อหาประเมินด้านสภาพบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วยฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน สำหรับครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน สำหรับนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินโครงการสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้าน แม่ป้อกใน จากการตอบแบบสอบถามของครูผู้ปฏิบัติงานโครงการ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน จำนวน 10 คน สรุปผล ได้ดังนี้
        1.1 ด้านสภาพบริบท (Context )
        พบว่า มีผลการประเมิน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ โครงการมีหลักการการดำเนินการที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 และ ฉบับที่ 3 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โครงการมีหลักการการดำเนินการที่สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ นโยบาย พันธกิจ เป้าประสงค์ของโรงเรียน รองลงมาอยู่ในระดับมาก คือ โครงการมีเป้าหมาย และผลที่คาดว่าจะได้รับ มีความเป็นไปได้ในเชิงประจักษ์และรายการที่มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับต่ำสุด แต่อยู่ในระดับมาก คือ กิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน และสรุปผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
        1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
        มีผลการประเมินความเหมาะสมโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานมีความเหมาะสมรองลงมา คือ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ/คอมพิวเตอร์ มีการเป็นผู้นำในการดำเนินงานตามโครงการ และครูและวิทยากร มีความรัก ความเอื้ออาทร และเข้าใจนักเรียน ดูแลช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรม ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดแต่อยู่ในระดับมาก คือ มีการให้การส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากร และวิทยากรมีความสามารถในการปฏิบัติงานในกิจกรรมการทอผ้ากี่เอว อย่างมีประสิทธิภาพมีปริมาณของสื่อ วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมอย่างเพียงพอ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าข้อรายการอื่น ๆ สรุปผลการประเมินผ่านเกณฑ์ทุกรายการ
            1.3 ด้านกระบวนการ (Process)
                1) ผลการประเมินความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุดอยู่ในระดับมาก คือ ขั้นการดำเนินงานโครงการ รองลงมา คือ ขั้นการประเมินผล สรุปผล และรายงานและขั้นเตรียมการโครงการ ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าข้ออื่น คือ มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่โครงการฯให้บุคลากรในโรงเรียนและนักเรียนทรายอย่างต่อเนื่อง สรุปผลการประเมินผ่านเกณฑ์ทุกรายการ
                2) ผลการประเมินความเหมาะสม ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแล้ว รายการที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุดในระดับมากที่สุด ได้แก่ การคัดเลือกนักเรียนการคัดเลือกนักเรียนเป็นสมาชิกโครงการใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น และการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลจากการเยี่ยมบ้านของนักเรียน รองลงมามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ได้แก่ การร่วมงานประเพณี สรงน้ำพระธาตุดอยม่อนและการทำบุญประจำปี การศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล กิจกรรมการบวชป่าร่วมกับชุมชน กิจกรรมการสร้างฝายชะลอน้ำหรือฝายมีชีวิตร่วมกับชุมชน การประชุมผู้ปกครองนักเรียน กิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมการปลูกป่าเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ วันเข้าพรรษา ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าข้ออื่น คือ กิจกรรมการเข้ากลุ่มยุวฑูตน้อยแยงกอยผ่อป่าร่วมกับชุมชน และการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้นตามลำดับ สรุปผลการประเมินผ่านเกณฑ์ทุกรายการ
             1.4    ด้านผลผลิต (Product )
                ผลการประเมิน ความเหมาะสมของการดำเนินงานโครงการใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านผลผลิต โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คือ กระบวนการดำเนินงาน รองลงมาคือ คุณภาพนักเรียน และรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ารายการอื่น คือ ด้านบุคลากร ตามลำดับ สรุปผลการประเมินผ่านเกณฑ์ทุกรายการ
         1.5 ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินงานโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของโรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน

    ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของโรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน จากการตอบแบบสอบถามแบบปลายเปิด ของครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า
     1. ด้านผลกระทบต่อครูผู้ปฏิบัติงานโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
         1.1 ครูมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบหลายด้านในโรงเรียน และต้องมารับผิดชอบ โครงการนี้ซึ่งเป็นภาระที่หนักมาก
         1.2 การนิเทศติดตามงานควรต่อเนื่อง สม่ำเสมอให้มากขึ้น ทั้งจากผู้บังคับบัญชาการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
         1.3 งบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ในการทอผ้ากี่เอวยังไม่เพียงพอ
    2. ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการแก้ไขปัญหา
         2.1 ควรเพิ่มบุคลากรร่วมเป็นคณะกรรมการเพิ่มเติมอีก
         2.2 จัดทำแผนการนิเทศ ปฏิทินการนิเทศ มีการนิเทศอย่างต่อเนื่องและให้ขวัญและกำลังใจแก้ผู้ที่ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
         2.3 ควรมีการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการอย่างเพียงพอ จากฝ่ายบริหารและขอความร่วมมือจากชุมชน เช่น การจัดผ้าป่า ศิษย์เก่า
        
2. ผลการประเมินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน จากการตอบแบบสอบถามของนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนในการประเมินผล การดำเนินงานโครงการ พบว่า
            2.1 ผลการประเมินโดยนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อได้พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียน รองลงมาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านคุณภาพนักเรียน และรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าข้อรายการอื่น ๆ แต่อยู่ในระดับมากได้แก่ ด้านคุณภาพนักเรียน คือ นักเรียนรู้จักตนเองและพึ่งตนเอง ตามลำดับ สรุปผลการประเมินผ่านเกณฑ์ทุกรายการ
            2.2 สรุปผลของการสอบถามความคิดเห็นด้านการเสนอแนะของนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ต่อการดำเนินงานโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน จากการตอบแบบสอบถามปลายเปิด มีดังนี้
1.    ผลกระทบที่เกิดกับการดำเนินงานตามโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญา
1) งบประมาณในการดำเนินงานจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ในกิจกรรมการเรียนรู้ การทอผ้ากี่เอว มีจำกัด
2) การประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้การทอผ้ากี่เอวให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบอย่างทั่วถึงให้อยู่ในระดับมากที่สุด
3) ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 มีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมด้วย
2. ข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินงานโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
1) ควรมีการประชุมชี้แจงและสร้างตระหนักให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้แก่ ครู ผู้ปกครอง นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้รับทราบข้อมูลและแนวทางการดำเนินงานเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการอย่างเหมาะสมในส่วนของวัสดุ อุปกรณ์การจัดทำต่างๆ รวมทั้งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องในปีต่อไป ในการดำเนินงานให้เพียงพอ
2) ควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ตามระบบอย่างต่อเนื่อง
3) ควรพิจารณาคัดเลือกสมาชิกโครงการในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 เพิ่มเติมตามความเหมาะสมและการสมัครใจสนับสนุนจากผู้ปกครองนักเรียน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^