รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่ว
STAD รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 เรื่อง จำนวนจริง สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
ผู้วิจัย นางกัญญารัตน์ ทิพแสง
หน่วยงาน โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ 2555
STAD รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 เรื่อง จำนวนจริง สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
ผู้วิจัย นางกัญญารัตน์ ทิพแสง
หน่วยงาน โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ 2555
[/blockquote]
บทคัดย่อ
การพัฒนานี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือ STAD รายวิชาคณิตศาสตร์ 1 เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 หาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อพฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 32 คน โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 5 บทเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ .27-.78 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .22 - .81 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ .81 แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.20-0.75 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 และแบบสอบถามพฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.50-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอที (t – test)
ผลการพัฒนาพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือ STAD รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 เรื่อง จำนวนจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.91/82.19 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือ STAD รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 เรื่อง จำนวนจริง มีค่าเท่ากับ 0.7131 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 71.31
3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือ STAD รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 เรื่อง จำนวนจริง มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและ หลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือ STAD รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 เรื่อง จำนวนจริง โดยรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่าการเรียนรู้ทำให้นักเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนให้ได้คะแนนสูงสุด ทำให้นักเรียนเอาใจใส่ต่อการเรียนรู้มากขึ้น นักเรียนรู้สึกสนุกเมื่อได้เรียนจากสื่อและอุปกรณ์ที่ครูนำมาใช้สอน โดยรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้แสดงความคิดและลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองจนเกิดความรู้หรือทักษะ นอกจากนี้นักเรียนยังเห็นด้วยกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ ของครู ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน
5. ผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่นักเรียนมีการพัฒนาแนวคิดเร็วในการแก้โจทย์ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ได้ด้วยตนเอง ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ และศึกษาทบทวนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จำนวนจริง และฝึกปฏิบัติเป็นประจำ
โดยสรุป การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือ STAD รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 เรื่อง จำนวนจริง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้น มีพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ที่แสดงถึงความสนใจในการปฏิบัติงาน มีความตั้งใจและกล้าคิดริเริ่ม อยู่ในระดับมาก ดังนั้น จึงสมควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนนำกิจกรรม การเรียนรู้ดังกล่าวไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นอื่นต่อไป