รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนบ้านเป้าวิทยาคาร อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ศึกษา นางสาวเดือนนวล สมเพาะ
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านเป้าวิทยาคาร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเป้าวิทยาคาร ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเป้า วิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเป้าวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเป้าวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านเป้าวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเป้าวิทยาคาร จำนวน 5 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเป้าวิทยาคาร จำนวน 20 แผน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วย การเรียนรู้การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเป้าวิทยาคาร ชุดที่ 1 เรื่องโครงสร้างของพืช มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.76/83.08 ชุดที่ 2 เรื่องหน้าที่ของรากและลำต้น มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.49/80.00 ชุดที่ 3 เรื่องหน้าที่ของใบและการสังเคราะห์ด้วยแสง มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.88/86.92 ชุดที่ 4 เรื่องปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 88.09/88.46 และชุดที่ 5 เรื่องการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 88.19/86.15 ซึ่งชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แต่ละชุดมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 โดยภาพรวมชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.88/84.92 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเป้าวิทยาคาร มีความก้าวหน้าของนักเรียนหลังจากจัดการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในภาพรวมพบว่ามีค่าเท่ากับร้อยละ 40.51 โดยที่ร้อยละของการทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนมีค่า เท่ากับ 40.77 และ82.05 ตามลำดับ
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียน การสอนมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด ( = 4.55)