LASTEST NEWS

03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567

รายงานการพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ

usericon

ชื่อเรื่อง         การพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ
การอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย         นางจุไรรัตน์ แป้นโก๋             
ปีที่ศึกษา    2561
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และความจำเป็นของการประเมินทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย 2) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้แบบฝึก-ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อประเมินผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ครู เรื่อง สภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ด้านความรู้และการประเมินทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นครูเกี่ยวกับความจำเป็นของการประเมินทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ 3) แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต 4) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านคิดวิเคราะห์ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจจากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เวลาที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง 15 ชั่วโมง แบบแผนการทดลองเป็นแบบ One-Group Pretest-Posttest Design และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1/E2 และการทดสอบที (t-test dependent samples)
    ผลการศึกษาพบว่า
    1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ย 43.36 โดยมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ และสาระการเรียนรู้ที่ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ หลักภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 40.76 และต่ำกว่าระดับประเทศ และผลการสัมภาษณ์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า การสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนยังไม่เอื้อต่อการฝึกการอ่านคิดวิเคราะห์ ครูไม่สามารถนำเทคนิควิธีการที่หลากหลายมาบูรณาการกับการเรียนการสอนให้นักเรียนพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ได้ สื่อเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอนยังไม่หลากหลายไม่สามารถกระตุ้นความสนใจให้นักเรียน สนุกและเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนไม่น่าตื่นเต้นเร้าใจ ทำให้นักเรียนมีความเบื่อหน่าย มีกิจกรรม แบบฝึก ที่ยังไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ได้อย่างเต็มศักยภาพของนักเรียน วิธีการวัดประเมินผล เครื่องมือในการวัดประเมินผล สำหรับความคิดเห็นต่อความจำเป็นในการประเมินทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.30, S.D. = 0.72) โดยมีความจำเป็นในด้านโดยความจำเป็นด้านครูตระหนักว่าการประเมินทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ มีความสำคัญเท่าเทียมกับการประเมินสาระความรู้ มีมากกว่าด้านอื่น
    2. ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ปรากฏผลดังนี้ การหาประสิทธิภาพรายบุคคล มีค่าเท่ากับ 66.67/60.00 การหาประสิทธิภาพกลุ่มย่อย มีค่าเท่ากับ 72.17/71.67 และการหาประสิทธิภาพภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 82.78/81.02
3. ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.38/81.90 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ โดยทั้ง 6 เล่ม มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทุกเล่ม และผลสัมฤทธิ์การอ่านคิดวิเคราะห์ จากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่อง อิศรญาณภาษิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการวัดความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ผลปรากฏว่าในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก ( =4.39, S.D. = 0.61)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^