LASTEST NEWS

03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567

รูปแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือฯ ป.6-----ครูสมลักษณ์

usericon

วิจัยเรื่อง:        การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริม
            การอ่าน ชุดสนุกหรรษากับชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
            สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ
ชื่อผู้วิจัย:            นางสมลักษณ์ ธรรมวิชิต ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน:    โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
            สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองชุมพร
ปีที่วิจัย:            2561
บทคัดย่อ

    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สนุกหรรษากับชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สนุกหรรษากับชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการกลุ่ม เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สนุกหรรษากับชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สนุกหรรษากับชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองชุมพร จำนวน 31 คนได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนในการสุ่ม ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เครื่องมือขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐาน จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1 ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 27 ข้อ และ 2) แบบสอบถามความต้องการในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เครื่องมือที่ใช้ในทดลองใช้ มี 4 ชนิด ดังนี้ 1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สนุกหรรษากับชนิดของคำ จำนวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สนุกหรรษากับชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบคู่ขนานชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.73 ทั้ง 2 ฉบับ 4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจในการเรียน จำนวน 10 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิแอลฟ่า เท่ากับ 0.802 และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรูปแบบ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นและปรับปรุงแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานประกอบภาพ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1 ของผู้เชี่ยวชาญ และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 24 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ สมมติฐาน โดยใช้ค่าที และค่าดัชนีประสิทธิผล
    ปรากฏผลการวิจัยและพัฒนา ดังนี้
    1. สภาพปัจจุบันในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ปรากฏผลดังนี้
        1.1 สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับปานกลาง
        1.2 ความต้องการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดตานีสรสโมสร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองชุมพร มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาเรื่อง ชนิดของคำในภาษาไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
    2. การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของชนิดของคำในภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สนุกหรรษากับชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปรากฏผลดังนี้
        2.1    ความเหมาะสมของชนิดของคำในภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สนุกหรรษากับชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        2.2    ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงชนิดของคำในภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สนุกหรรษากับชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คือ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นระยะเวลาในการเรียนให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องบริหารเวลาให้เหมาะสมกับการจัด การเรียนการสอนตามความยาวของเนื้อหา
        2.3    รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สนุกหรรษากับชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1/E2 ) เท่ากับ 86.69/86.57 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
    3.    ผลการทดลองใช้ชนิดของคำในภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สนุกหรรษากับชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปรากฏผลดังนี้
        3.1    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สนุกหรรษากับชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 12.32 คิดเป็นร้อยละ 41.08 ของคะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 25.97 คิดเป็นร้อยละ 86.57 ของคะแนนเต็ม ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นร้อยละ 13.65 และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่านักเรียนมีคะแนน หลังเรียนสูงขึ้นทุกคน และเมื่อคำนวณค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ มีค่า เท่ากับ 0.7720 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางเรียนเมื่อเทียบกับคะแนนก่อนเรียนคิดเป็น ร้อยละ 77.20
        3.2    ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สนุกหรรษากับชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar=4.39)
    4. ผลประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงชนิดของคำในภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สนุกหรรษากับชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด



ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^