รายงานการประเมินโครงการ
โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ
ผู้รายงาน นางประนัดดา วงศ์ถิรวรรธน์
ปีการศึกษา 2561
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสู่สถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ ครั้งนี้ ผู้ประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านบริบทของโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสู่สถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ 2) เพื่อประเมินความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสู่สถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการของโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น สู่สถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสู่สถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ และ 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสู่สถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสู่สถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 28 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครอง จำนวน 191 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 191 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 427 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ แบบประเมินโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสู่สถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นโดยอาศัยกรอบแนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ จำนวน 5 ฉบับ แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากข้อค้นพบที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสู่สถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านผลผลิต มีความสำเร็จอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการ
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และด้านบริบท มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
2. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสู่สถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการโรงเรียนพอสู่สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ รองลงมา คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถูกต้อง และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การจัดกิจกรรม “ธนาคารขยะ”ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้มีความพอประมาณ มีเหตุผล เห็นคุณค่าของสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วและมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม