LASTEST NEWS

03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567

การพัฒนารูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน

usericon

ชื่อนวัตกรรม    :     การพัฒนารูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้ศึกษา    :    นางอรทัย ชุมขุน
ตำแหน่ง    :    ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด    :    โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดโพธาวาส)
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
ปี    :    2561

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัย อายุ 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดโพธาวาส) สังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 34 คน เครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ รูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 แบบสังเกตและประเมิน รูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติ แบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติ และแบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรโดยใช้ t-test หาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติ ตามเกณฑ์ 80/80 โดยหาค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ย E1/E2
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มี ทั้งหมด 8 กิจกรรม ประกอบด้วย แมงมุมขยุ้มหลังคา รีรีข้าวสาร โพงพาง ตะล๊อกต๊อกแต๊ก มอญซ่อนผ้า จ้ำจี้ เสือไล่หมู และxxxูเอ่ย
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
2.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีผลการประเมินด้านกระบวนการ (E1) ของรูปแบบการสอน ได้ค่าประสิทธิภาพ 84.25 และผลการประเมินของผลลัพธ์ (E2) ของรูปแบบการสอน ได้ค่าประสิทธิภาพ 83.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80 / 80 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ที่ตั้งไว้ว่า รูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2.2 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการเขียน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า คะแนนการเขียน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 ที่ตั้งไว้ว่า ทักษะด้านการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังจากการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน
2.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีตต่อรูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีตต่อรูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย=4.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย=4.59) รองลงมาได้แก่ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย=4.57) ส่วนด้านประโยชน์ของรูปแบบการสอน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย =4.51) เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3 ที่ตั้งไว้ว่า ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการสอนแบบภาษาธรรมชาติโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^