การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น
ชื่อผู้ศึกษา : นายวิเชียร กันยานะ
บทคัดย่อ
การศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้(STAD) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD
เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ค23102 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนโคกนางามพิทยาสรรพ์ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 23 คน ใช้เนื้อหารายวิชา ค23102 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ เครื่องมือที่ใช้ทดลองปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบร่วมมือกันเรียนรู้ จำนวน 15 แผน เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกการสะท้อนผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร ผลงานนักเรียน และเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการอธิบายเป็นความเรียง
การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผนการปฏิบัติ ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ ขั้นที่ 3 ขั้นสังเกตการณ์ ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ และมีวงจรปฏิบัติการวิจัย 3 วงจร คือ วงจรปฏิบัติการที่ 1 ประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ที่ 1–7 วงจรปฏิบัติการที่ 2 ประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ที่ 8–11 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 ประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ที่ 12–15
ผลการศึกษา พบว่า
1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD เป็นการ
จัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการและมีทักษะทางปัญญา ทักษะ
ทางสังคมและความรู้สึกในการเห็นคุณค่าของตนเอง ยึดหลักการให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงรางวัลหรือเป้าหมายของกลุ่ม ความสามารถของแต่ละบุคคลในกลุ่มมีผลต่อรางวัลและแต่ละบุคคลมีโอกาสในการช่วยเหลือให้กลุ่มประสบผลสำเร็จเท่าเทียมกัน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น ขั้นศึกษากลุ่มย่อย ขั้นสรุป และขั้นวัดผล ครูเป็นผู้กระตุ้น เสนอแนวทาง ให้คำปรึกษาในการเรียน นักเรียนร่วมมือกันปฏิบัติกิจกรรมโดยคำนึงถึงหลักการและเป้าหมาย ทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนมีความเป็นกันเอง นักเรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างชื่นชม จากการสังเกตพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งพัฒนาและเกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้
2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 71.59 และมีจำนวนนักเรียนร้อยละ 78.26 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ชื่อผู้ศึกษา : นายวิเชียร กันยานะ
บทคัดย่อ
การศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้(STAD) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD
เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ค23102 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนโคกนางามพิทยาสรรพ์ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 23 คน ใช้เนื้อหารายวิชา ค23102 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ เครื่องมือที่ใช้ทดลองปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบร่วมมือกันเรียนรู้ จำนวน 15 แผน เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกการสะท้อนผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร ผลงานนักเรียน และเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการอธิบายเป็นความเรียง
การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผนการปฏิบัติ ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ ขั้นที่ 3 ขั้นสังเกตการณ์ ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ และมีวงจรปฏิบัติการวิจัย 3 วงจร คือ วงจรปฏิบัติการที่ 1 ประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ที่ 1–7 วงจรปฏิบัติการที่ 2 ประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ที่ 8–11 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 ประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ที่ 12–15
ผลการศึกษา พบว่า
1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD เป็นการ
จัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการและมีทักษะทางปัญญา ทักษะ
ทางสังคมและความรู้สึกในการเห็นคุณค่าของตนเอง ยึดหลักการให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงรางวัลหรือเป้าหมายของกลุ่ม ความสามารถของแต่ละบุคคลในกลุ่มมีผลต่อรางวัลและแต่ละบุคคลมีโอกาสในการช่วยเหลือให้กลุ่มประสบผลสำเร็จเท่าเทียมกัน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น ขั้นศึกษากลุ่มย่อย ขั้นสรุป และขั้นวัดผล ครูเป็นผู้กระตุ้น เสนอแนวทาง ให้คำปรึกษาในการเรียน นักเรียนร่วมมือกันปฏิบัติกิจกรรมโดยคำนึงถึงหลักการและเป้าหมาย ทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนมีความเป็นกันเอง นักเรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างชื่นชม จากการสังเกตพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งพัฒนาและเกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้
2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 71.59 และมีจำนวนนักเรียนร้อยละ 78.26 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
[/blockquote]