LASTEST NEWS

03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567

การพัฒนาการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนาการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT
     ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
     รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค32101
ชื่อผู้วิจัย    นางสุกัญญา แขมคำ
ปีที่พิมพ์    2562
บทคัดย่อ
        การพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค32101 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค32101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค32101 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค32101 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 4) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ รายวิชา ค32101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 5) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนประเมินผลระดับความรู้ของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค32101 6) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนรู้จากรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค32101
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test (t-Dependent)

สรุปผลการวิจัย

การพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค32101 สรุปผลได้ดังนี้
1. จากการสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสนทนาแบบไม่เป็นทางการจากการสัมภาษณ์ครูที่สอนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค32101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการสังเคราะห์จากแบบสัมภาษณ์ พบว่า
    1.1 ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน ใช้สื่อการสอนที่ไม่น่าสนใจโดยใช้เพียงหนังสือแบบเรียนในกลุ่มสาระเท่านั้น
    1.2 เนื้อหาในหนังสือง่ายเกินไป ซึ่งทำให้นักเรียนบางส่วนไม่สนใจจึงใช้วิธีการเรียนพิเศษและนำทักษะการท่องจำมาใช้ในการทำข้อสอบ ซึ่งทำให้นักเรียนไม่ได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ในเนื้อหาที่เรียนในแต่ละเรื่อง
    1.3 นักเรียนขาดความกระตือรือร้นในการเรียน เนื่องจากเนื้อหาในหนังสือเรียนและรูปแบบการนำเสนอไม่น่าสนใจ
    1.4 ครูส่วนใหญ่ไม่มีสื่อการสอน ใช้การบรรยายอย่างเดียว ทำให้นักเรียนเบื่อไม่สนใจเรียน
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค32101 โดยดำเนินการทดลอง กับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง พบว่า
    2.1 ทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One to One Testing) โดยทดลองกับนักเรียน จำนวน 3 คน โดยเลือกผู้เรียนที่มีผลการเรียนกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อน กลุ่มละ 1 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 49.13/54.00
    2.2 ทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 9 คน คือ นักเรียนเก่ง 3 คน ปานกลาง 3 คน และอ่อน 3 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 49.00/52.88
    2.3 ทดลองใช้จริงกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 30 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 85.32/86.70
3. ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค32101 มีประสิทธิภาพ 85.32/86.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4. ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาคณิตพื้นฐาน ค32101 มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.54 หรือคิดเป็นร้อยละ 54.00
5. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค32101 มีคะแนนหลังการใช้รูปแบบการสอนทุกตอนสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค32101 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.59 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจ ด้านเนื้อหาโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก และมีความทันสมัยน่าสนใจค่าเฉลี่ย 4.62 , 4.57 และ 4.52 ตามลำดับ ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ มีลำดับขั้นตอนเหมาะสม ร่วมกิจกรรมด้วยความสุข สนุกสนาน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกขั้นตอน ค่าเฉลี่ย 4.72 , 4.71 และ 4.68 ตามลำดับ ด้านรูปแบบประกอบ การสอน พบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ น่าสนใจ สวยงาม ตัวอักษรอ่านง่าย ชัดเจน และภาพประกอบชัดเจนเหมาะสม ค่าเฉลี่ย 4.92 , 4.74 และ 4.63 และด้านการวัดและประเมินผล พบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หลากหลาย เครื่องมือวัดผลประเมินผลชัดเจนและมีประสิทธิภาพและชุดกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมกับเวลาค่าเฉลี่ย 4.64 , 4.61 และ 4.58 ตามลำดับ


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^