LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567

การพัฒนาครูโดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเทศบาลบ้านศร

usericon

บทคัดย่อ
หัวข้องานวิจัย การพัฒนาครูโดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล
ผู้วิจัย นายไพฑูรย์ พั้วป้อง
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล
ปี ที่พิมพ์ 2561

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล 2) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วม ของครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือครูผู้สอน จำนวน 52 คน และนักเรียน จำนวน 712 คน โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล โดยใช้วิธีการสุ่มแบบอาสาสมัคร จำแนกเป็ นครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 11 คน และนักเรียนชั ้นประถมศึกษาปี ที่ 3 , 4 และ 6 จำนวน 328 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูผู้สอนจำนวน 11 คน จำแนกเป็นครูผู้นิเทศ จำนวน 7 คน และครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 8 คน (ซึ่งเป็นครูที่ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้นิเทศและผู้รับ การนิเทศ จำนวน 4 คน) และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3,4 และ 6 จำนวน 328 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบอาสาสมัคร (Volunteers Sampling) เครื่องมอที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต และประเด็นสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test ค่า T-test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า
1) รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนมีชื่อว่า ซีไอพีอี (CIPE Model) ประกอบด้วย หลักการ มุ่งเน้นกระบวนการนิเทศที่เป็นระบบสัมพันธ์กันและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการนิเทศและการทำวิจัยในชั้นเรียน กระบวนการนิเทศ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 Classifying : C การคัดกรองระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อจัดกลุ่มครูและเลือกวิธีการนิเทศที่เหมาะสมสำหรับครูแต่ละกลุ่ม ขั้นตอนที่ 2 Informing : I การให้ความรู้ ก่อนการนิเทศ ขั้นตอนที่ 3 Proceeding : P การดำเนินงาน ได้แก่ 3.1 การประชุม ก่อนการสังเกตการสอน (Pre conference) 3.2 การสังเกตการสอน(Observation) 3.3 การประชุมหลังการสังเกตการสอน (Post conference) ขั้นตอนที่ 4 Evaluating : E การประเมินผลการนิเทศโดยมีการกำกับ ติดตาม (Monitoring)อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอน และ
2) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับสูงมาก และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศแบบมีส่วนร่วมก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ มีสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับสูงมาก และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีผลการเรียนรู้ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมของครูผู้รับการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ นักเรียนมีผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^