LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ตามแนวคิดการจัดการความรู้

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย    นายเจษฎา สินมาก    
ปีที่ศึกษา    2561

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.2) ศึกษาทักษะการจัดการความรู้หลังเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนทีมีต่อรูรูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อถอดบทเรียนการจัดการความรู้ หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) การวิเคราะห์ข้อมูล พื้นฐาน
(Analysis: A) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) การออกแบบและการพัฒนา (Design and Development: D&D) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) การนำไปใช้ (Implementation: I) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D) การประเมินผล (Evaluation: E)

ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยยึดหลักการเรียนรู้ ทีเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่มมุ่งเน้นให้นักเรียนสร้างความรู้ จากการปฏิบัติร่วมกันและมีการจัดเก็บความรู้ ที่มีอยู่ในตัวตนของนักเรียนเปลี่ยนเป็นความรู้ ที่ชัดแจ้งด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้ ส่วนรูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรียกว่า PHUKET Model มีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการความรู้ 4) การวัดและประเมินผล และ 5) ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความรู้
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .01 ส่วนทักษะการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการความรู้กับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการถอดบทเรียน จากการบันทึกความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการสัมภาษณ์นักเรียน และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนจะให้ประสบผลสําเร็จนั้นต้องเริ่มต้นที่ตัวครู ก่อนโดยครูผู้สอน

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^