LASTEST NEWS

07 ต.ค. 2567โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 14 - 18 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 07 ต.ค. 2567สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 47 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 ตั้งแต่วันที่ 8-31 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567จังหวัดชัยนาท รับสมัครพนักงานราชการ พนักงานวิชาการพัสดุ วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 15-21 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567สำนักงาน ป.ป.ท. รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง กวิชาการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 68,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-16 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567ศธ.หารือไมโครซอฟท์ จัดสวัสดิการเพื่อครู ซื้อคอมฯสเปกสูงราคาถูก 06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยวัฎจักรการเรียนรู้ 5ES

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยรูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5Es)
            ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research)
            เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย         วัฒนาพร รังคะราช
ปีการศึกษา     2561
    
บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยรูปแบบวัฎจักร การเรียนรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยรูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และนักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยรูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis & Mctaggart ประกอบด้วย 3 วงจรปฏิบัติการ คือ วงจรที่ 1 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 – 4 วงจรที่ 2 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 – 10 วงจรที่ 3 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 – 14 ใช้เวลาทั้งหมด 14 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 14 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ใบกิจกรรม ใบงานและแบบทดสอบท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสรุปความเรียง
            ผลการวิจัยพบว่า
1.    ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยรูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้5 ขั้น
(5Es) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ เป็นรูปแบบที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมและสำรวจค้นหาความรู้ด้วยตนเอง มีการปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น เกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ ซึ่งมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และทบทวนความรู้เดิมเพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่เตรียมความพร้อมในการเรียน 2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เป็นขั้นดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนต้องวางแผนร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบเพื่อค้นหาคำตอบโดยการสังเกต สำรวจ ทดลอง โดยใช้ใบความรู้เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้ 3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เป็นขั้นที่นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เป็นหลักการหรือความคิดรวบยอดของนักเรียนแต่ละกลุ่ม 4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นขั้นที่นำเอาองค์ความรู้ที่ได้ ไปแก้ปัญหาหรืออธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์ใหม่ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นโดยค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง 5) ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการตรวจสอบสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ว่ามีความถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนเพียงใด ด้วยการทำใบงาน ซึ่งเป็นการประเมินด้านความรู้ความเข้าใจและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาได้
2.    ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้
5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนจำนวนร้อยละ 88.57 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการกิจกรรมจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยรูปแบบ
วัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.55)





Wattanaporn Rangcharach. 2018. The Development of Mathemetics Learning
            Activities Based on Inquiring Cycle (5Es) and Cooperative learning
            Emphasizing Action Research on Trigonometric Ratio for
            Mathayomsuksa 5.

ABSTRACT

        The Development of Mathemetics Learning Activities Based on Inquiring Cycle (5Es) Emphasizing Action Research on Trigonometric Ratio for Mathayomsuksa 5 with the objective as follows: 1) To development mathematics learning activities on Trigonometric Ratio of Mathayomsuksa 5 students ulilizing Inquiring Cycle (5Es) 2) To develop mathematics learning activities on Inquiring Cycle (5ES) on Trigonometric Ratio of Mathayomsuksa 5 students aiming to have not less than 70% student out of all gain learning achievement from 70% upwards. 3) To student the satistfaction of students with the learn of Mathemetics Learning Activities Based on Inquiring Cycle (5Es) and Cooperative learning Emphasizing Action Research on Trigonometric Ratio.
        The implement used included lesson plans based on Inquiring Cycle (5ES) emphasizing Action Research on Trigonometric Ratio, learning achievement test.
        The target group used in the research was 35 Mathayomsuksa 5/1 student in Nernyangprachasamakkee School, Nernyang District, Kalasin Province affiliated to Kalasin Province Administrative Organization, studying in the frist semester, academic year 2016. This research action research abise by the theory of Kemmis and Mctaggart. The data was analyzed by means and percentages and summarized report in descriptive manner.
        The findings were found that:
        1. The outcome of mathematics learning activities development on Trigonometric Ratio of Mathayomsuksa 5 students on Inquiring Cycle (5Es) Emphasizing Action Research is the model encouraging students to engage in performing activities and explore and search for knowledge on their own, to engage in performing activities in group so as to give a chance to express opinion and learn systematically as well as to scaffold student to generate analytic thinking, all of which comprise learning-activity model management as follow: 1) Engagement: This is to draw attention, to inform learning objectives and to review prior knowledge which will be led to new knowledge and get ready to learn. 2) Exploration: This is the step to organize learning activities for students to plan. Define survey guidelines for finding answers by observing experiments using knowledge sheets as learning aids. 3) Explanation : This is the step to the stage in which the information obtained, analyzed, interpreted, summarized and presented in various forms is a principle or concept 4) Elaboration: In this step, the researcher set activities through getting students do exercise in worksheet individually, which are more difficult and complicated ones. 5) Evaluation: This is to examine what students learned that how much they are correct or erroneous. This is to evaluate the aspect of knowledge and understanding.
        2. The outcome of mathematics learning achievement development utilizing Inquiring Cycle (5Es) on Trigonometric Ratio of Mathayomsuksa 5 students was found that 88.57% students out of all students gain learning achievement initially from 70% upwards which is higher than the criterion prescribed.
3. The student were satisfaction after they learn of Mathemetics Learning     
Activities Based on Inquiring Cycle (5Es) and Cooperative learning Emphasizing Action Research on Trigonometric Ratio at the highest level. (x-bar= 4.55)

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^