LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567

ศศิมา รุ่งสินวนิช

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้วิจัย        นางสาวศศิมา รุ่งสินวนิช
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร

ปีวิจัย        ปีการศึกษา 2560 (พ.ศ. 2560 - 2561)


บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพแวดล้อมของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อสร้างรูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร 4) เพื่อประเมินรูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน 20 คน รวมจำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า
จากการวิเคราะห์ข้อมูล มีข้อค้นพบและสรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร เป็นรูปแบบที่มีขั้นตอนในการขับเคลื่อนรูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ แบ่งเป็นขั้นการเตรียมการก่อนสร้างรูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และขั้นการสร้างรูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ซึ่งขั้นนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) การก่อตัวของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) การประสานเชื่อมโยงชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) การขยายฐานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 4) การดำรงอยู่ของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ซึ่งในแต่ละระยะมีปัจจัยในการขับเคลื่อนรูปแบบการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อยู่ 6 ประการ ได้แก่ 1) การมีแกนนำเชื่อมประสานงานของเครือข่าย 2) การมีสมาชิกมาร่วมกัน 3) การมีเป้าหมายร่วมกัน 4) การติดต่อประสานงานกันระหว่างสมาชิกและภายนอกเครือข่าย 5) การมีกิจกรรมร่วมกันและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และ 6) การระดมทรัพยากรที่ทำงานร่วมกัน
2. ผลการสร้างรูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ในแต่ละกิจกรรมดังนี้
ผลการสร้างรูปแบบ พบว่า รูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร มีระยะเวลาและปัจจัยในการสร้างรูปแบบ โดยมีระยะการดำเนินการแบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้ ได้แก่ 1) การก่อตัวของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) การประสานเชื่อมโยงชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) การขยายฐานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 4) การดำรงอยู่ของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ซึ่งในแต่ละระยะมีปัจจัยในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามรูปแบบ อยู่ 6 ประการ ได้แก่ 1) การมีแกนนำที่เข้มแข็ง 2) การมีสมาชิกมารวมกัน 3) การกำหนดจุดมุ่งหมาย / หลักการร่วมกัน 4) การประสานงาน 5) การทำกิจกรรม / การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6) การระดมทรัพยากรร่วมกัน และมีองค์ประกอบ จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านการบริหาร (Management : M) 2. ด้านกลยุทธ์ (Strategy Management : S) 3. ด้านการเรียนรู้ด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) 4. ด้านการประเมินผล (Evaluation : E) 5. ด้านความพึงพอใจ (Satisfaction : S)
3. ผลการใช้รูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร
3.1 ผลการดำเนินการตามกิจกรรมฝึกอบรม พบว่า ครูเกิดความรู้ความเข้าใจแนวทางการดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และเห็นแนวทางในการนำกิจกรรมต่างๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนเป็นอย่างดี
3.2 ผลการศึกษาดูงาน พบว่า ครูเกิดความรู้ความเข้าใจรูปแบบการจัดกิจกรรม และเห็นแนวทางในการนำกิจกรรมต่างๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร เป็นอย่างดี
3.3 ผลการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชน และกรรมการสถานศึกษา ช่วยกันเสนอความคิดเห็นในที่ประชุมและจัดทำแผนในการพัฒนา กลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อย่างมีส่วนร่วมด้วยกันทุกฝ่าย ทำให้ได้ผลการสัมมนาที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และทุกฝ่ายมีความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมไปในทิศทางเดียวกัน อย่างกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม
3.4 ผลการสังเกตการจัดการเรียนการสอนของครู พบว่า ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้ เมื่อได้รับการพัฒนาจนสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการสอน และสามารถออกแบบการจัดกิจกรรมของตนเองได้อย่างหลากหลาย
3.5 ผลการชี้แนะ การเป็นครูพี่เลี้ยง ในกิจกรรม 8 กิจกรรม พบว่า กิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 พบว่า ครูผู้สอนเกิดคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 สอนให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาการสอนบทเรียนผ่านเว็บ พบว่า ครูเกิดทักษะในการใช้สื่อมัลติมิเดีย และสื่อโซเชียลได้ เมื่อนำมาประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก และสามารถเข้าใจเนื้อหาวิชาได้ดี กว่าการเรียนโดยไม่มีสื่อการสอน กิจกรรมส่งเสริมการนิเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยชั้นเรียน พบว่า ครูสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้ โดยยกระดับเป็นครูมืออาชีพ สามารถทำการศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล Cast Study และสามารถใช้การทำวิจัยในชั้นเรียนแก้ปัญหาของนักเรียนที่ไม่สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ กิจกรรมพัฒนาหลักสูตรรายวิชา พบว่า ครูสามารถจัดทำหลักสูตรเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ และเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพมาตรฐานอีกด้วย รวมทั้งสามารถวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง(หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)พุทธศักราช 2556)ได้ กิจกรรมพัฒนาการจัดการเรียนแบบ STEM ศึกษา พบว่า ครูสามารถเข้าใจหลักการ รูปแบบการจัดการเรียน การสอนแบบ STEM ศึกษา โดยให้เด็กสร้างสรรค์ชิ้นงานทางวิศวกรรมได้ และครูได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับผู้เรียน กิจกรรมการพัฒนาการสอนยุค THAILAND 4.0 พบว่า ครูเกิดทักษะ 7C อย่างครบถ้วน เหมาะสมที่จะเป็นครูในยุค THAILAND 4.0 และมีความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ในยุค 4.0 ได้ กิจกรรมส่งเสริมการสอนแบบ Active Learning พบว่า ครูสอนโดยให้นักเรียนลงมือกระทำ โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก ไม่ใช่ผู้สอน และนักเรียนก็ผ่านการเรียนโดยการลงมือทำด้วยตนเอง ถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะไม่มีวันลืม กิจกรรมส่งเสริมการสอนแบบโครงงาน (Project Based Learning) และ (Inquiry Learning) พบว่า ครูใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะหมวดวิชาทักษะชีวิต วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิชาชีพเฉพาะตามสาขาวิชาได้ เพราะนักเรียนได้เรียนโดยการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง ตามความสามารถและความสนใจของตนเอง และได้ฝึกการนำเสนอผลงานอีกด้วย ครูก็มีความสุขจากการทำงานเพราะมีการท้าทายความสามารถทั้งของผู้เรียนเองและครูผู้สอน
3.6 ผลการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูมีทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนเพราะได้ผ่านการอบรมและได้ฝึกทักษะในการทำวิจัย จากผู้ที่มาให้คำแนะนำในการทำวิจัยในชั้นเรียน

4. ผลการประเมินรูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร
    4.1. ด้านการบริหาร การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.74) เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่า ระบบตรวจสอบและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่แม่นยำและเชื่อถือได้ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.80) ระดับมากที่สุดรองลงมาคือ ระบบการบริหารจัดการเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.78) ระดับมากที่สุด การจัดโครงสร้างและระบบการทำงานเพื่อสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ( = 4.71) ระดับมากที่สุด อยู่ในลำดับสุดท้าย
    4.2. ด้านกลยุทธ์ การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.73) เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่า การพัฒนาครูเกี่ยวกับแนวทางการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.79) ระดับมากที่สุดรองลงมาคือ การจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อให้ครูสามารถสะท้อนจุดแข็ง จุดอ่อนของเพื่อนครูอย่างสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.77) ระดับมากที่สุด ส่วนการประสานความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกที่มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ย ( = 4.69) ระดับมากที่สุด อยู่ในลำดับสุดท้าย
    4.3. ด้านการเรียนรู้ด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.74) เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่า การใช้คำถามชี้นำเพื่อกระตุ้นให้ครูเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทางวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.79) ระดับมากที่สุดรองลงมาคือ การชี้แนะเพื่อให้ครูวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติงานที่ต้องการได้อย่างชัดเจน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.78) ระดับมากที่สุด ส่วนการมุ่งเน้นการพัฒนาครูด้วยการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกันอย่างเป็นระบบ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.71) ระดับมากที่สุด อยู่ในลำดับสุดท้าย
    4.4. ด้านการประเมินผล การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.77) เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่า ปรับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโดยมุ่งเน้นการประเมินการประเมินครูที่เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อตอบสนองเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.82) ระดับมากที่สุดรองลงมาคือ ผู้บริหารและครูร่วมกันกำหนดและใช้รูปแบบการประเมินที่หลากหลายโดยคำนึงถึงมาตรฐานการศึกษาและบริบทของชุมชน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.81) ระดับมากที่สุด ส่วนมีการประเมินที่หลากหลาย เหมาะสมกับการประเมินกิจกรรมในลักษณะต่างๆ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.69) ระดับมากที่สุด อยู่ในลำดับสุดท้าย
4.5. ด้านความพึงพอใจ การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.77) เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่า ครูมีความพึงพอใจกับความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของตนเองที่เพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ย ( = 4.82) ระดับมากที่สุดรองลงมาคือ ผู้เข้าร่วมพัฒนาการศึกษามีความพึงพอใจคุณลักษณะของการเรียนรู้ด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.81) ระดับมากที่สุด ส่วนมีการเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติตามกิจกรรมการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยการปฏิบัติกิจกรรมทั้ง 8 กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ย ( = 4.69) ระดับมากที่สุด อยู่ในลำดับสุดท้าย
5. การประเมินผลรูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ผลประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมาก 14 ข้อ มากที่สุด 2 ข้อ เรียงค่าเฉลี่ยจากมาไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ดีจะต้องมีขอบเขตความรับผิดชอบที่หลากหลาย มีค่าเฉลี่ย ( = 4.86) รองลงมาได้แก่ มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ร่วมวิจัยและเวลาที่แน่นอนในการทำความสะอาด , ครูสามารถกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานด้วยตนเอง , ได้รับงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด และ กลยุทธ์ที่ดีจะต้องมีขอบเขตความรับผิดชอบที่หลากหลาย มีค่าเฉลี่ย ( = 4.71) และอันดับสุดท้าย เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองจากการไปศึกษาดูงาน , ครูส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับการพัฒนาวิชาชีพของตนเอง จากการเข้าร่วมกิจกรรม , มีการชี้แนะและการเป็นครูพี่เลี้ยง , ครูมีความอิสระและคล่องตัวในการทำงาน , ครูสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ , มีการพัฒนาการสื่อสารภายในสถานศึกษา , ระบบการสื่อสารสามารถใช้งานได้จริง ไม่ชำรุด , ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง , สถาบันอุดมศึกษามีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความรู้ให้กับครู และบุคลากรทางการศึกษา , วิทยากรบรรยายมีความรู้และมีประสิทธิภาพ , ได้รับความร่วมมือจากนักเรียน ในการร่วมทำกิจกรรมทั้ง 8 กิจกรรม , มีการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการทำงานอย่างเป็นระบบ , ครูทำงานด้วยกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร , มีการประมวลผลการทำกิจกรรมโดยใช้สถิติในการประมวลผล , การดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบฯ เป็นไปตามตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.57) เป็นลำดับสุดท้าย
    6. การประเมินความพึงพอใจในการดำเนินการตามรูปแบบกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ครูได้รับมอบหมายงานที่เหมาะสมกับความสามารถและความต้องการของตนเองในการดำเนินการจัดกิจกรรมตามรูปแบบฯ ( = 4.84) ระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ครูได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพอย่างเท่าเทียมกันในการทำงาน ( = 4.83) ระดับมากที่สุด ส่วนการชี้แนะเพื่อให้ครูวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติงานที่ต้องการได้อย่างชัดแจน ( = 4.62) ระดับมากที่สุด อยู่ในระดับน้อย
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^