LASTEST NEWS

07 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 07 ต.ค. 2567สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 47 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 ตั้งแต่วันที่ 8-31 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567จังหวัดชัยนาท รับสมัครพนักงานราชการ พนักงานวิชาการพัสดุ วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 15-21 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567สำนักงาน ป.ป.ท. รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง กวิชาการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 68,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-16 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567ศธ.หารือไมโครซอฟท์ จัดสวัสดิการเพื่อครู ซื้อคอมฯสเปกสูงราคาถูก 06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์

usericon

ชื่องานวิจัย    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย ปรานี ปลัดสงคราม
ตำแหน่ง     ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา    2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน (One–Group Pretest Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนราษีไศล จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอน PEACRA Model วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถาม ความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้
ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า ที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า
    1. รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ มีชื่อว่า PEACRA Model จากการสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนของ Joyce and weil (2009 : 24) และทิศนา แขมมณี (2556 : 4) สรุปได้ว่ามีองค์ประกอบสำคัญประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลระบบสังคม หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุน และสาระความรู้และสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีกระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน (PEACRA Model) ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparation: P) 2) ขั้นสำรวจค้นหา (Exploration: E) 3) ขั้นวิเคราะห์ (Analysis: A) 4) ขั้นสรุป (Conclusion: C) 5) ขั้นสะท้อนความคิด (Reflection: R) และ 6) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ (Application: A)
    2. ประสิทธิภาพ (E1/E2) ของ รูปแบบการเรียนการสอน PEACRA Model เท่ากับ 83.65 /82.00 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80 / 80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
    3. ความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
    4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน
วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^