LASTEST NEWS

07 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 07 ต.ค. 2567สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 47 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 ตั้งแต่วันที่ 8-31 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567จังหวัดชัยนาท รับสมัครพนักงานราชการ พนักงานวิชาการพัสดุ วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 15-21 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567สำนักงาน ป.ป.ท. รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง กวิชาการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 68,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-16 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567ศธ.หารือไมโครซอฟท์ จัดสวัสดิการเพื่อครู ซื้อคอมฯสเปกสูงราคาถูก 06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567

การพัฒนางานด้านวิชาการโดยการใช้กระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนางานด้านวิชาการโดยการใช้กระบวนการนิเทศภายใน
ของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์)
สถานศึกษา     โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ผู้วิจัย      นายนครินทร์ เหลือบุญชู
ปีที่ทำการวิจัย    พ.ศ. 2561

บทสรุปผู้บริหาร

    การดำเนินการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับปัญหาการนิเทศภายในของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม (2) สร้างรูปแบบการนิเทศภายในของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม (3) ศึกษาผลการนำรูปแบบการนิเทศภายในของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓
(พินิจพิทยานุสรณ์) อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ไปใช้ในการบริหารงานวิชาการ และ (4) ศึกษาความพึงพอใจในการบริหารงานวิชาการ ของผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ครูและนักเรียน โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาปัญหาการนิเทศภายใน ได้แก่ ผู้บริหาร และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) ปีการศึกษา 2561 จำนวน 10 คน 2) ประชากรที่ใช้ ในการสร้างรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหาร และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในการประชุมกลุ่ม (Focus group discussion) ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 10 คน 3) ประชากรที่ใช้ในการสำรวจความพึงพอใจในการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ ครู โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 34 คน นักเรียน โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 494 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 494 คน คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) การศึกษา 2560 จำนวน 15 คน 4) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจความพึงพอใจในการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ ครูของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) จำนวน 32 คน นักเรียนของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) จำนวน 217 คน ผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) จำนวน 217 คน คณะกรรมการสถานศึกษา ของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) จำนวน 14 คน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 480 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 4 กลุ่ม ได้มาด้วยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ใช้ตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p.608) โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยครั้งนี้ มี 3 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินการนิเทศภายในด้านวิชาการ เป็นแบบคำถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ 2) แบบสอบถามสำหรับการประชุมกลุ่ม (F.G.D.) มี 4 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการบริหารงานวิชาการ ของครู นักเรียนผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) ที่มีต่อการบริหารงานวิชาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

    การศึกษาการพัฒนางานด้านวิชาการโดยการใช้กระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) สรุปผลได้ดังนี้
1.    ผลการศึกษาปัญหาการนิเทศภายในของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อและนวัตกรรม ด้านการพัฒนาหลักสูตรและด้านการวัดผลและประเมินผล ตามลำดับ
         1.1 ด้านการพัฒนาหลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การวางแผนในการนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินผลการใช้หลักสูตรภายในโรงเรียนเพื่อการนำผลประเมินมาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร และการได้รับทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ทางการศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร ตามลำดับ
        1.2 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การแนะนำให้ใช้วิธีสอนที่เน้นทักษะกระบวนการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง การสำรวจปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และการให้คำปรึกษาแก่ครูเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ
        1.3 ด้านสื่อและนวัตกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การได้รับคำปรึกษาในการผลิตสื่อและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน การสำรวจความต้องการใช้สื่อและนวัตกรรม และการส่งเสริมให้ครูมีการจัดหาหรือการสร้างสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อใช้ในการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละกลุ่มวิชา ตามลำดับ
        1.4 ด้านการวัดผลและประเมินผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างเครื่องมือวัดจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นรายกลุ่มสาระวิชา การแนะนำให้สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพ และ การแนะนำในการใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลอย่างหลากหลาย ตามลำดับ

    2. ผลการสร้างรูปแบบการนิเทศภายในของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์)
ได้รูปแบบการนิเทศภายใน ดังนี้
        การสร้างรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนด้านการบริหารงานวิชาการ ใช้วิธีการประชุม สนทนากลุ่มจากผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งหมด 10 คน โดยการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของประชากรในการวิจัยที่บ่งบอกถึงปัญหาในการนิเทศภายในโรงเรียนด้านการบริหารงานวิชาการ 4 ด้าน โดยเลือกประเด็นที่เป็นปัญหาในการนิเทศภายในโรงเรียนที่เป็นปัญหาที่มากที่สุด 3 ลำดับแรก ส่งมอบให้ผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้ศึกษาและร่วมประชุมสนทนากลุ่มให้ข้อเสนอแนะ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ ห้องโสตทัศนศึกษา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม 10 คน ที่ประชุมได้สนทนากลุ่มและสรุปข้อเสนอแนะในการกำหนดรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนด้านการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์)
    การกำหนดรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนด้านงานวิชาการของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) มีดังนี้
    1. ด้านการพัฒนาหลักสูตร
        1.1 การวางแผนในการนำหลักสูตรไปใช้ ได้รูปแบบ ดังนี้
            1) สำรวจความต้องการ
            2) จัดประชุมปฏิบัติการให้ความรู้
            3) รวบรวมเอกสาร จัดพิมพ์เป็นเล่ม
            4) นิเทศ ติดตาม สนับสนุน
            5) ประเมินผลและวิเคราะห์ปัญหา
            6) ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรม
        1.2 การประเมินผลการใช้หลักสูตร ได้รูปแบบ ดังนี้
            1) แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินหลักสูตร
            2) การวิเคราะห์สาเหตุและปัญหา กำหนดแนวทางการประเมิน
            3) ประชุมชี้แจงครู
            4) ดำเนินการประเมินผลการใช้หลักสูตร
            5) จัดทำผลการประเมินผลอย่างเป็นระบบ
            6) นำผลการประเมินมาวิเคราะห์และสรุป
            7) รายงานผลการดำเนินการ
            8) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกำกับติดตาม
        1.3 การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหลักสูตร ได้รูปแบบ ดังนี้
            1) จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน
            2) จัดทำศูนย์วิชาการ
            3) จัดการศึกษาดูงาน ประชุมสัมมนา
            4) ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการศึกษาต่อ
            5) จัดงบประมาณสนับสนุนงานด้านวิชาการ
            6) ส่งเสริมให้ครูทำผลงานทางวิชาการ
            7) นิเทศ ติดตาม ให้คำปรึกษา
    2. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
        2.1 การใช้วิธีสอนที่เน้นทักษะกระบวนการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ได้รูปแบบ ดังนี้
            1) สำรวจความต้องการของครู
            2) กำหนดโครงการ/แผนการ
            3) ดำเนินการประชุมปฏิบัติการ
            4) นิเทศติดตามและให้คำปรึกษา
            5) ประเมินผลและให้ข้อเสนอแนะ
            6) ส่งเสริมให้ครูดูงาน ประชุมสัมมนา
            7) ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
        2.2 การสำรวจปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ได้รูปแบบ ดังนี้
            1) จัดทำโครงการ
            2) แต่งตั้งกรรมการรับผิดชอบ
            3) เตรียมเครื่องมือ
            4) จัดประชุม ชี้แจง จุดประสงค์
            5) เก็บข้อมูล และสรุปปัญหา
            6) พิมพ์เอกสารเผยแพร่
        2.3 การให้คำปรึกษาแก่ครูเป็นรายบุคคล ได้รูปแบบ ดังนี้
            1) จัดตั้งศูนย์และคณะกรรมการ
            2) จัดประชุมสัมมนา
            3) รวบรวมผลการสัมมนา และแนวทางการใช้เทคนิคการสอนใหม่ๆ
            4) นิเทศ ติดตาม และประเมินผลเป็นระยะ
    3. ด้านสื่อและนวัตกรรม
        3.1 การให้คำปรึกษาในการผลิตสื่อและนวัตกรรม ได้รูปแบบ ดังนี้
            1) ประชุมชี้แจง
            2) จัดตั้งศูนย์ผลิตและบริการสื่อ
            3) แต่งตั้งคณะกรรมการ
            4) กำหนดรูปแบบการประเมินผล
            5) วิเคราะห์ข้อมูล และข้อเสนอแนะ
        3.2 การสำรวจความต้องการใช้สื่อและนวัตกรรม ได้รูปแบบ ดังนี้
            1) จัดทำโครงการสำรวจความต้องการ
            2) ตั้งกรรมการรับผิดชอบและดำเนินการสร้างเครื่องมือ
            3) ดำเนินการเก็บข้อมูล
            4) วิเคราะห์ข้อมูล สรุปหมวดหมู่
            5) พิมพ์เผยแพร่ข้อมูลและจัดบริการสื่อ
        3.3 การส่งเสริมให้ครูมีการจัดหาหรือการสร้างสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอน ได้รูปแบบ ดังนี้
            1) สำรวจปัญหาและความต้องการ
            2) จัดทำโครงการและวางแผนการจัดการฝึกอบรม
            3) จัดประชุมปฏิบัติการผลิตสื่อและนวัตกรรม
            4) นิเทศติดตามการนำสื่อและนวัตกรรมไปใช้
            5) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงและหาประสิทธิภาพ
    4. ด้านการวัดผลและประเมินผล
        4.1 การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ได้รูปแบบ ดังนี้
            1) จัดทำโครงการพัฒนาเครื่องมือ
            2) วางแผนการจัดประชุม
            3) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
            4) รวบรวมแบบทดสอบ แบบประเมินผล
            5) นำแบบทดสอบ แบบประเมินผลไปทดลองใช้จริง
            6) นำผลคะแนนการใช้มาวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพตามหลักวิชาการ
        4.2 การแนะนำให้สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล ได้รูปแบบ ดังนี้
            1) สำรวจความต้องการ
            2) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
            3) รวบรวมแบบทดสอบและแบบประเมิน
            4) นำเครื่องมือไปทดลองใช้
            5) นำผลการใช้มาวิเคราะห์ แก้ไขปรับปรุง
            6) ได้แบบทดสอบที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน
        4.3 การแนะนำในการใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลอย่างหลากหลาย
ได้รูปแบบ ดังนี้
            1) สำรวจความรู้ความเข้าใจ
            2) จัดประชุมปฏิบัติการ
            3) นำเครื่องมือวัดและประเมินผลไปใช้
            4) นำผลการใช้เครื่องมือต่างๆ มาวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพ
            5) นำเครื่องมือไปใช้ในการวัดผล
    3. ผลการนำรูปแบบการนิเทศภายในของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) ไปใช้ในการบริหารงานวิชาการ ปรากฏผลดังนี้
    1. ด้านการพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนมีผลการดำเนินงานดังนี้
        1.1 มีการสำรวจความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูเพื่อส่งครูเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเอง
        1.2 มีการจัดประชุมปฏิบัติการให้ความรู้ในด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา รวมทั้งมีการประชุมการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อร่วมมือกันจัดทำเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ และหลักสูตรท้องถิ่น ระหว่างตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนนักเรียน คณะครูและผู้บริหาร
        1.3 โรงเรียนมีคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
        1.4 มีการรวบรวมเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ และหลักสูตรท้องถิ่น จัดพิมพ์เป็นเล่ม เพื่อใช้ในโรงเรียน
        1.5 ฝ่ายวิชาการมีแผนงานการนิเทศภายในงานด้านการพัฒนาหลักสูตร และดำเนินการนิเทศภายในด้านวิชาการ (ภาคผนวก ข หน้า 182-185 และภาคผนวก ค หน้า 197-199)        1.6 ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ร่วมกันประเมินผลและวิเคราะห์ปัญหา
        1.7 ครูเข้ารับการอบรม ศึกษาดูงาน เข้าศึกษาต่อ และส่งเสริมให้ครูทำผลงานทางวิชาการ และด้านการพัฒนาหลักสูตร (ภาคผนวก ค หน้า 204-215 และภาคผนวก ค หน้า 220-222)        1.8 ผู้บริหารและคณะครูร่วมกันจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน โดยการอบรมให้ความรู้ด้านการพัฒนาหลักสูตร การจัดทำศูนย์วิชาการ
        1.9 จากการดำเนินการนิเทศภายในด้านการพัฒนาหลักสูตร พบว่าหลังจากการนิเทศภายในแล้วครูมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตรมากขึ้น
    2. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โรงเรียนมีผลการดำเนินงานดังนี้
        2.1 มีการสำรวจความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูเพื่อส่งครูเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเอง
        2.2 โรงเรียนมีคณะกรรมการดำเนินการนิเทศการจัดการเรียนการสอน ร่วมกันกำหนดโครงการ แผนการนิเทศภายใน (ภาคผนวก ข หน้า 182-185 และภาคผนวก ค หน้า 197-199)        2.3 ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ร่วมกันประเมินผลและวิเคราะห์ปัญหา
        2.4 ผู้บริหารและคณะครูร่วมกันรวบรวมผลการสัมมนา และแนวทางการใช้เทคนิคการสอนใหม่ๆ และพิมพ์เอกสารเผยแพร่
        2.5 ครูเข้ารับการอบรม ศึกษาดูงาน เข้าศึกษาต่อ และส่งเสริมให้ครูทำผลงานทางวิชาการ และจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ดังภาคผนวก ค และภาคผนวก ง)
        2.6 จากการดำเนินการนิเทศภายในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่าหลังจากการนิเทศภายในแล้วครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมากขึ้น เนื่องจากการนิเทศภายในแล้ว คณะกรรมการยังมีการให้คำปรึกษาแก่ครูเป็นรายบุคคล
    3. ด้านสื่อและนวัตกรรม โรงเรียนมีผลการดำเนินงานดังนี้
        3.1 โรงเรียนมีคณะกรรมการดำเนินการรับผิดชอบและดำเนินการสร้างเครื่องมือ ร่วมกันกำหนดโครงการ แผนการนิเทศภายใน มีการให้คำปรึกษาในการผลิตสื่อและนวัตกรรม และมีการสำรวจความต้องการใช้สื่อและนวัตกรรม
        3.2 โรงเรียนมีการประชุมชี้แจงร่วมกันกำหนดรูปแบบการประเมินผลสื่อและนวัตกรรม     
        3.3 ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ร่วมกันประเมินผลและวิเคราะห์ปัญหาการจัดทำสื่อการเรียนการสอน จากการดำเนินการนิเทศภายในด้านสื่อและนวัตกรรม
        3.4 โรงเรียนจัดทำโครงการและวางแผนการจัดการฝึกอบรมการสร้างสื่อและนวัตกรรม และจัดอบรมการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงและหาประสิทธิภาพของสื่อ
        3.5 คณะกรรมการดำเนินการนิเทศติดตามการนำสื่อและนวัตกรรมไปใช้
และมีการให้คำปรึกษาด้านสื่อนวัตกรรมแก่ครูเป็นรายบุคคล
        3.6 ผู้บริหารและคณะครูร่วมกันรวบรวมผลการสัมมนา วิเคราะห์ข้อมูล สรุปหมวดหมู่ของสื่อนวัตกรรม จัดตั้งศูนย์ผลิตและบริการสื่อ และพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลและจัดบริการสื่อ (ดังภาคผนวก ค หน้า 223-225)
        3.7 หลังจากการดำเนินการนิเทศภายใน และจัดอบรมโครงการและวางแผนการจัดการฝึกอบรมการสร้างสื่อและนวัตกรรมที่มีคุณภาพแล้ว ครูมีความรู้ความเข้าใจในการสร้างสื่อและนวัตกรรมมากขึ้น เนื่องจากการนิเทศแล้วคณะกรรมการยังมีการให้คำปรึกษาแก่ครูเป็นรายบุคคลอีกด้วย
    4. ด้านการวัดผลและประเมินผล โรงเรียนมีผลการดำเนินงานดังนี้
        4.1 โรงเรียนมีคณะกรรมการดำเนินการรับผิดชอบและดำเนินการสร้างเครื่องมือ การวัดและประเมินผล ร่วมกันกำหนดโครงการ แผนการนิเทศภายใน มีการให้คำปรึกษาในการดำเนินการสร้างเครื่องมือ และการวัดและประเมินผล
        4.2 โรงเรียนมีคณะกรรมการดำเนินการรับผิดชอบด้านการวัดและประเมินผล
        4.3 โรงเรียนมีการการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ดำเนินการสร้างเครื่องมือ และการวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพ
        4.4 โรงเรียนมีคณะกรรมการ รวบรวมแบบทดสอบ มาวิเคราะห์ แก้ไขปรับปรุง เพื่อให้ได้แบบทดสอบที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน แล้วนำไปจัดทำเป็นคลังข้อสอบ
        4.5 โรงเรียนจัดทำโครงการพัฒนาเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุง และ
มีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้านการวัดและประเมินผล
        4.6 หลังจากการดำเนินการนิเทศภายใน และจัดอบรมให้ความรู้ด้านการสร้างเครื่องมือในการวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพ แล้วครูมีความรู้ความเข้าใจในการกระบวนการวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงมากขึ้น

4. ความพึงพอใจในการบริหารงานวิชาการของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านสื่อและนวัตกรรม ตามลำดับ
        4.1 ด้านการพัฒนาหลักสูตร โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายทั้งในโรงเรียนและชุมชนในการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตร การอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และจัดทำสาระหลักสูตร ตามความต้องการของนักเรียน ชุมชนและท้องถิ่น ตามลำดับ
        4.2 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ เยี่ยมชั้นเรียนเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ การวางแผนร่วมกันในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครอบคลุมเนื้อหาตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ และ บุคคลในชุมชนมีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียนในโรงเรียน ตามลำดับ
        4.3 ด้านสื่อและนวัตกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ สื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ มีการจัดตั้งศูนย์สื่อ และการให้บริการสื่อการเรียนการสอน และสื่อการเรียนการสอนมีคุณภาพในการเสริมสร้างความสนใจของนักเรียน ตามลำดับ
        4.4 ด้านการวัดผลและประเมินผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การจัดทำแบบบันทึกหรือหลักฐานพัฒนาการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล การรายงานผลการเรียนของนักเรียนให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะ และการจัดประชุมอบรมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามลำดับ



ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^