LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567

รายงานผลการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม

usericon

ชื่อเรื่อง รายงานผลการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT)
เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
สถานศึกษา     โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ผู้ศึกษา     นายนครินทร์ เหลือบุญชู
ปีที่ทำการวิจัย 2561

บทสรุปผู้บริหาร

        รายงานผลการบริหารจัดการตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการดำเนินการการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนแกนนำการจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง (SEAT) 2) เพื่อศึกษาผลการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนแกนนำการจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนแกนนำการจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาและรายงานผลในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ครูจำนวน 30 คน และผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 30 คน รวม 90 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Specified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ1) แบบประเมินผลการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ 2) แบบสรุปผลการบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม โดยใช้โครงสร้างซีท(SEAT) จำนวน 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 รายงานผลการบริหารโรงเรียนในโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมปีการศึกษา 2560 ชุดที่ 2 รายงานผลการบริหารโรงเรียนในโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมปีการศึกษา 2561 3) แบบสำรวจความพึงพอใจของครู นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
    การบริหารจัดการโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม โดยใช้โครงสร้างซีท(SEAT) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ตามความคิดเห็นและความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง ต่อการดำเนินการตามโครงสร้างซีท (SEAT) ปรากฏผลโดยสรุป ดังนี้
        1. วิธีการดำเนินการการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนแกนนำการจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง (SEAT) การดำเนินงานการบริหารจัดการโรงเรียนในโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม โดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ในปีการศึกษา 2560 - 2561 ซึ่งรวมระยะเวลาการดำเนินการด้านการบริหารจัดการโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) ในการบริหารงานแกนนำจัดการเรียนร่วมเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศมาเป็นระยะเวลา 2 ปีการศึกษา
     โรงเรียนมีวิธีการบริหารจัดการตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) ในภาพรวมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) ทั้ง 4 ด้าน คือ นักเรียน สิ่งแวดล้อม กิจกรรมการเรียนการสอน และเครื่องมือ ซึ่งผู้รายงานได้วางกรอบการดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
        การบริหารงานตามโครงสร้างซีท (SEAT)
        โรงเรียนต้องบริหารองค์ประกอบหลัก 4 ประการ ตามโครงสร้างซีท (SEAT) เพื่อทำให้การบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสำหรับนักเรียนพิการหรือนักเรียนที่มี
ความบกพร่องมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ดังนี้
        1. ด้านนักเรียน (S - Students)
                1.1 นักเรียนพิการหรือนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา
                1.2 การเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนทั่วไป
        2. ด้านสิ่งแวดล้อม (E - Environment)
                โรงเรียนได้จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม โดยจัดสภาพแวดล้อมในเรื่องต่างๆ ดังนี้
                2.1 สภาพแวดล้อมทางกายภาพ โรงเรียนได้พัฒนาห้องเรียน ห้องการศึกษาพิเศษ อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ร่มรื่นน่าดู น่าอยู่ น่ามอง เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน มีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย มีแสงสว่างเพียงพอ จัดที่นั่งพักผ่อนและจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอย่างเหมาะสม
             2.2 บุคคลที่เกี่ยวข้องในสภาพแวดล้อมของเด็กนักเรียน
        3. ด้านกระบวนการเรียนการสอน (A - Activities)
            โรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ กิจกรรมที่จัดภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกันทั้งนักเรียนปกติและนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาได้มีการพัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และมีความสุขในการอยู่ร่วมในสังคม ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
                3.1 การปรับหลักสูตรให้เหมาะกับการพัฒนาผู้เรียน                            3.2 มีการจัดทำแผนจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคล (IIP)
                3.3 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคต่างๆ ให้นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมกับนักเรียนทั่วไป
                3.4 การรายงานความก้าวหน้าของผู้เรียน
        4. ด้านการบริหารและทรัพยากร หรือ เครื่องมือ (T - Tools)
                4.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการเรียนร่วม
                4.2 มีการวางแผนการบริหารจัดการเรียนร่วมเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศโดยใช้สาระสำคัญตามปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายการบริหารการศึกษาของโรงเรียน
                4.3 วิธีการนำไปสู่เป้าหมายของโรงเรียน
                4.4 ประชุมบุคลากรสร้างความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและปฏิบัติงานโดยใช้โรงเรียน เป็นฐานตั้งคณะกรรมการโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม
                4.5 ปรับวิสัยทัศน์ กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการโรงเรียนให้สอดคล้องกับ
การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมและเอื้อประโยชน์ในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา
                4.6 พัฒนาบุคลากรของโรงเรียนทุกคน โดยประสานกับศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครพนม
                4.7 มีการนิเทศ ดูแลการจัดการศึกษา การบริหารจัดการ การจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคล (IIP)
                4.8 จัดสรรงบประมาณให้เป็นการเฉพาะ เพื่อดำเนินการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมให้กับนักเรียน โดยโรงเรียนมีการประชุมวางแผนในการใช้จ่ายเงินและมีการจัดสรรหางบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น
                4.9 โรงเรียนดำเนินการจัดหาสื่อ และสิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริการแก่นักเรียนอย่างเพียงพอ เช่น อุปกรณ์ทางการเรียน รูปภาพ เกมพัฒนาสมอง วีดีโอ เป็นต้น
                4.10 จัดระบบโครงสร้างการบริหารงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำ
จัดการเรียนร่วมอย่างชัดเจน และจัดตั้งเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการดูแลโดยเฉพาะ
        2. ผลการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนแกนนำการจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ทั้ง 4 ด้าน คือ นักเรียน สิ่งแวดล้อม กิจกรรมการเรียนการสอน และเครื่องมือ

             2.1 ด้านนักเรียน (S = Students) โรงเรียนดำเนินการตามลำดับขั้น ดังนี้
                    2.1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบงานแกนนำจัดการเรียนร่วม
                     2.1.2 สำรวจข้อมูลนักเรียนพื้นฐาน คัดแยกและคัดกรอง แล้วรายงานผู้บริหารสถานศึกษาทราบ
                    2.1.3 ให้บุคลากรครูไปอบรมด้านการคัดกรองนักเรียน และการจัดการเรียนร่วมทุกคน
                    2.1.4 สำรวจข้อมูลนักเรียนพื้นฐาน คัดแยกและคัดกรอง แล้วรายงานผู้บริหารสถานศึกษาทราบ
                    2.1.5 จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนทั่วไปและนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้ทราบในการเข้าร่วมโครงการ
                    2.1.6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนทั่วไปและนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้เรียนร่วมกันทุกรายวิชา โดยกำหนดเป็นนโยบาย
                    2.1.7 จัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ อารมณ์ และทักษะให้แก่นักเรียน มีความสุขในการเรียน
                    2.1.8 จัดทำโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียน ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริม ดังนี้
-    จัดกิจกรรมแข่งขันทักษะวิชาการร่วมกับนักเรียนปกติ
-    จัดกิจกรรมทัศนศึกษา
-    จัดชั่วโมงสอนเสริมจัดกิจกรรมอบรมนักเรียน
-    จัดชุมนุมพี่สอนน้อง
                    2.1.9 จัดประชุมสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ปกครอง โรงเรียน ครู และนักเรียนได้เข้าใจในการจัดการเรียนร่วม ประสานงานร่วมมือในการดูแลนักเรียน
                    2.1.10 จัดป้ายประชาสัมพันธ์การดำเนินการและประกาศการรับนักเรียน
            2.2 ด้านสิ่งแวดล้อม (E = Environment) มีวิธีการบริหารจัดการโดยการให้บริการนักเรียน 2 ด้าน คือ
                    2.2.1 ด้านกายภาพ โรงเรียนได้บริการนักเรียน ดังนี้
                         - จัดทำป้ายเพิ่มเติม จำนวน 10 แห่ง ทั้งในและนอกห้องเรียน
                         - ปรับปรุงห้องเรียนทุกห้องเรียนให้มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเท และติดพัดลมทุกห้องเรียน และมีการจัดมุมความรู้
                         -มีห้องเรียนเสริมเป็นเอกเทศ
                         - มีห้องดำเนินการในโครงการโรงเรียน แกนนำจัดการเรียนร่วมเฉพาะ เป็นเอกเทศ มีสาระ โครงสร้างการบริหารงาน การบริการสื่อ เกมพัฒนาสมอง และทักษะ
                    2.2.2 ด้านบุคคล โรงเรียนได้จัดบุคลากรครูและขอความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการเรียนร่วม ดังนี้
                         - แต่งตั้งครูทำหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมโดยเฉพาะ และเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการดำเนินการ
                         - แต่งตั้งคณะกรรมการคัดกรองนักเรียนโดยมีผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่ปรึกษา นักเรียน ครูการศึกษาพิเศษหรือครูที่มีประสบการณ์ คณะกรรมการสถานศึกษา เป็นทีมงานคัดกรองนักเรียน
                         - แต่งตั้งครูผู้สอนทักษะและความรู้แก่นักเรียนเป็นการเฉพาะ เช่น ครูภาษาไทย ทำหน้าที่สอนด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เป็นต้น
                         - จัดอบรมครูเกี่ยวกับการดูแลนักเรียนเรียนร่วม
                         - จัดอบรมครูเกี่ยวกับการเขียนแผนการสอนเฉพาะบุคคล และแผนการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคล
                     - จัดศึกษาดูงานแก่ครูผู้รับผิดชอบงาน
                         - ครูทุกคนสามารถทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล
                         - จัดอบรมครูเกี่ยวกับการศึกษานักเรียนเป็นรายกรณี และการวิจัยในชั้นเรียน
            2.3 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (A = Activities) โรงเรียนดำเนินการ ดังนี้
                    2.3.1 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรโดยปรับปรุงและแยกออกจากหลักสูตรสถานศึกษา เป็นหลักสูตรเฉพาะนักเรียนในโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม
                    2.3.2 ปรับกระบวนการและวิสัยทัศน์ใหม่ให้มีความสอดคล้องและผู้เรียน
                    2.3.3 ครูผู้สอนทุกคนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคล (IEP)
ในรายวิชาที่ตนสอนทุกคนทุกรายวิชา
                    2.3.4 จัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP)ในรายวิชาที่ตนสอนทุกคน
ทุกรายวิชา
                    2.3.5 นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน และจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล
                    2.3.6 มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย
                    2.3.7 มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน
                    2.3.8 จัดให้นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาได้เรียนร่วมกับนักเรียนทั่วไป ทุกรายวิชา
                    2.3.9 จัดกิจกรรมสอนเสริมนอกเวลาเรียน
                    2.3.10 จัดครูดูแลนักเรียนเป็นการเฉพาะ โดยครู 1 คน ต่อนักเรียน 1-2 คน
        2.4 ด้านเครื่องมือ (T = Tools) โรงเรียนดำเนินการ ดังนี้
                    2.4.1 จัดหาคอมพิวเตอร์สำหรับบริการนักเรียนด้านการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ตแก่นักเรียน
                    2.4.2 จัดหาเครื่องเล่น VCD สำหรับเรียนรู้ฝึกทักษะ
                    2.4.3 จัดหาหนังสือและเอกสารเพิ่มเติม หนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับนักเรียน
                    2.4.4 จัดเจ้าหน้าที่ดูแลประจำห้องเรียนเสริม
                    2.4.5 จัดทำคู่มือการบริหารจัดการโรงเรียน ในโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม
                    2.4.6 มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายในการจัดการเรียนร่วมโดยเฉพาะ
                    2.4.7 มีหลักสูตรสำหรับนักเรียนในโครงการโดยเฉพาะ
                    2.4.8 มีโครงสร้างการบริหารงานในโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT)โดยเฉพาะ
                    2.4.9 จัดหาเกมฝึกทักษะ ความรู้ ให้แก่นักเรียน
     ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) ด้านที่ 1 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.44, S.D. = 0.26 ) เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีการบริหารจัดการในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่รายการที่ 9 มีการสอนทักษะการช่วยเหลือเพื่อนนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาให้แก่นักเรียนทั่วไป และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาเป็นปกติทุกปี ( = 4.60, S.D. = 0.65) และรองลงมาได้แก่รายการที่ 1 มีการสำรวจข้อมูลนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาจัดทำข้อมูลเป็นปัจจุบันทุกปี ( = 4.51, S.D.= 0.51) รายการที่มีระดับมากและค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือรายการที่ 6 โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพนักเรียนเป็นเฉพาะบุคคลจนมีความสามารถที่จะเรียนต่อหรือประกอบอาชีพได้ เป็นประจำทุกปี ( = 4.36, S.D. = 0.70)
        3. ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครอง ครู และนักเรียนที่มีต่อการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ตามโครงสร้างซีท (SEAT) 4 ด้าน คือ นักเรียนสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการสอน และเครื่องมือ ที่ดำเนินการในปีการศึกษา 2560 - 2561 ได้ผล
ตามตารางการวิเคราะห์ผลดังนี้
        ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การสำรวจความพึงพอใจของครู นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) ด้านที่ 1 นักเรียน โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.40, S.D. = 0.25) ด้านที่ 2 สิ่งแวดล้อม โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.41, S.D. = 0.24) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจความพึงพอใจของครู นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓
(พินิจพิทยานุสรณ์) ด้านที่ 3 กิจกรรมการเรียนการสอนโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.45,S.D = 0.24) ด้านที่ 4 เครื่องมือ โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.15, S.D. = 0.18) โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.34, S.D. = 0.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า รายการที่มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ด้านที่ 3 กิจกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด รองลงมาคือด้านที่ 2 สิ่งแวดล้อม ( = 4.41, S.D. = 0.24) รายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านที่ 4 เครื่องมือ โดยมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ย ( = 4.15, S.D.= 0.18)

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^