LASTEST NEWS

07 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 07 ต.ค. 2567สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 47 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 ตั้งแต่วันที่ 8-31 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567จังหวัดชัยนาท รับสมัครพนักงานราชการ พนักงานวิชาการพัสดุ วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 15-21 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567สำนักงาน ป.ป.ท. รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง กวิชาการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 68,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-16 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567ศธ.หารือไมโครซอฟท์ จัดสวัสดิการเพื่อครู ซื้อคอมฯสเปกสูงราคาถูก 06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน

usericon

การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน ดังนี้ 2.1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวัด การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน และ 2.2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการเรียนรู้ ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม โดยจำแนกการดำเนินการเป็น 4 ระยะ 6 ขั้นตอน ระหว่างปีการศึกษา 2559 – 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การวัด การชั่ง และการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน จำนวน 30 ชั่วโมง ซึ่งรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน เป็นรูปแบบการสอนที่มีการผสมผสานคุณลักษณะเด่นของวิธีการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) และแนวคิดการสอนแบบเรียนปนเล่นในกระบวนการเรียนการสอน โดยออกแบบรูปแบบการสอนตั้งอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาและทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based learning) และทฤษฎีการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมสมอง 2) ขั้นเชื่อมโยงประสบการณ์เดิม 3) ขั้นเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่ 4) ขั้นร่วมใจนำมาปฏิบัติ และ 5) ขั้นรู้ชัดพร้อมนำไปใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าทีแบบไม่อิสระจากกัน (t – test Dependent) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า
1.รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน มีประสิทธิภาพ 89.38/87.24
2.ผลการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน พบว่า
2.1ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การวัด การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2.2ดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการเรียนรู้ ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การวัด การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน ก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 0.8211 หมายความว่าการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การวัด การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.8211 หรือคิดเป็นร้อยละ 82.11
3.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นเป็นฐาน โดยรวม อยู่ระดับมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^