LASTEST NEWS

07 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 07 ต.ค. 2567สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 47 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 ตั้งแต่วันที่ 8-31 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567จังหวัดชัยนาท รับสมัครพนักงานราชการ พนักงานวิชาการพัสดุ วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 15-21 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567สำนักงาน ป.ป.ท. รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง กวิชาการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 68,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-16 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567ศธ.หารือไมโครซอฟท์ จัดสวัสดิการเพื่อครู ซื้อคอมฯสเปกสูงราคาถูก 06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย     นางวิจิตรา สุขสานต์
หน่วยงาน     โรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2 องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ปีการศึกษา        2561
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) ประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2 องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 คัดเลือกโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 29 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 17 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ “In – ABLE Model” ในขั้นการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยขั้นจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 5 ขั้น คือ (1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction : In) (2) ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Activity : A) ประกอบด้วย 2.1 ขั้นกำหนดปัญหา (Define a problem) 2.2 ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหา (Identify) 2.3 ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้าและระดมความคิด (Brainstorm solutions) (3) ขั้นการเรียนรู้ด้วยการสังเคราะห์ความรู้ (Based Learning synthesis of knowledge : B) (4) ขั้นสรุปการเรียนรู้และนำเสนอ (Learning summary & Sharing : L) (5) ขั้นนำไปใช้ (Extend : E) 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบทีแบบไม่อิสระ
    ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียน ครูและผู้ทรงคุณวุฒิให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล มีความคิดเห็นว่าต้องการให้นักเรียนเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างแท้จริง สื่อการเรียนรู้เป็นใบความรู้ ใบกิจกรรม ใบงาน และแบบทดสอบ มีการวัดผลโดยการใช้การทดสอบ และมีความต้องการให้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นไปตามรูปแบบที่สร้างขึ้นเพื่อนำไปพัฒนาต่อไป
     2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 82.26/82.44
3. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วัดความสามารถในการแก้ปัญหา ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.86 คิดเป็นร้อยละ 74.31 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 81.96/82.18 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^