การพัฒนาเอกสารประกอบการสอน วิชาการบัญชีเบื้องต้น 1
ผู้วิจัย นางทัศนีย์ ธนอนันต์ตระxxxล ครูชำนาญการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาเอกสารประกอบการสอน วิชาบัญชีเบื้องต้น 1 รหัสวิชา
2200-1002 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
สาขาวิชาการบัญชี นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษา
อุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเอกสารประกอบการสอน วิชาการบัญชีเบื้องต้น 1 รหัสวิชา
2200-1002 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
สาขาวิชาการบัญชี ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของ
การพัฒนาเอกสารประกอบการสอน วิชาการบัญชีเบื้องต้น 1 รหัสวิชา 2200-1002 3) เปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการสอน วิชาการบัญชี
เบื้องต้น 1 รหัสวิชา 2200-1002 และ 4) ศึกษาเจตคติของนักเรียน ที่มีต่อการสอนโดยใช้เอกสาร
ประกอบการสอน วิชาการบัญชีเบื้องต้น 1 รหัสวิชา 2200-1002 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ
นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี ปีการศึกษา
2557 จำนวน 1 กลุ่ม มีนักเรียน จำนวน 25 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการกำหนดแบบเจาะจง
(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เอกสารประกอบการสอนวิชา
การบัญชีเบื้องต้น 1 รหัสวิชา 2200-1002 จำนวน 11 หน่วย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน รหัสวิชา 2200-1002 และ 3) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้เอกสาร
ประกอบการสอน วิชาการบัญชีเบื้องต้น 1 รหัสวิชา 2200-1002
ผลการวิจัยพบว่า
1. เอกสารประกอบการสอน วิชาการบัญชีเบื้องต้น 1 รหัสวิชา 2200-1002 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาการบัญชี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.76/84.20
2. เอกสารประกอบการสอน วิชาการบัญชีเบื้องต้น 1 รหัสวิชา 2200-1002 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.81 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 81.00
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างการทดสอบก่อนเรียน และการทดสอบ
หลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีเจตคติต่อการสอน โดยใช้เอกสารประกอบการสอน วิชาการบัญชีเบื้องต้น 1 รหัสวิชา 2200-1002 โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.54