LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม

usericon

ชื่อเรื่อง    การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การแจกแจงปกติ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับวิธีสอนแบบร่วมมือกัน(STAD) และวิธีสอนแบบปกติ
ชื่อผู้วิจัย    นางสาวจุฑาทิพย์ สายสี
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา    โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีการศึกษา 2561
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ Randomized Control- Group Pretest – Posttest Design มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การแจกแจงปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการสอนแบบร่วมมือกัน (STAD) 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การแจกแจงปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การแจกแจงปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนแตกต่างกัน 2 วิธี คือ วิธีการสอนแบบร่วมมือกัน (STAD) และวิธีการสอนแบบปกติ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีการสอนแบบร่วมมือกัน (STAD) วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การแจกแจงปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีการสอนแบบปกติ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การแจกแจงปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 80 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การแจกแจงปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกัน(STAD) จำนวน 11 แผน 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การแจกแจงปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนด้วยวิธีสอนแบบปกติ จำนวน 11 แผน 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การแจกแจงปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีการสอนทั้ง 2 วิธี จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ(%), ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x-bar), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบ t แบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent Samples t-test) และแบบสองกลุ่มอิสระต่อกัน (Independent Samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกัน(STAD) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การแจกแจงปกติ ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( x-bar = 26.18, S.D. = 2.09) สูงกว่าก่อนเรียน ( x-bar = 12.40, S.D. = 1.91)
2. นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอนแบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การแจกแจงปกติ ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( x-bar = 23.28, S.D. = 2.51) สูงกว่าก่อนเรียน ( x-bar = 12.15, S.D. = 2.13)
3. นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกัน (STAD) และนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอนแบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การแจกแจงปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกัน (STAD) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน( x-bar = 26.18, S.D. = 2.09) สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอนแบบปกติ ( x-bar = 23.28, S.D. = 2.51)
4. นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อวิธีการสอนแบบร่วมมือกัน (STAD) วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง
การแจกแจงปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.51, S.D. = 0.15)
5. นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อวิธีการสอนแบบปกติ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง
การแจกแจงปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x-bar = 4.26, S.D. = 0.16)

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^