LASTEST NEWS

07 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 07 ต.ค. 2567สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 47 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 ตั้งแต่วันที่ 8-31 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567จังหวัดชัยนาท รับสมัครพนักงานราชการ พนักงานวิชาการพัสดุ วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 15-21 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567สำนักงาน ป.ป.ท. รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง กวิชาการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 68,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-16 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567ศธ.หารือไมโครซอฟท์ จัดสวัสดิการเพื่อครู ซื้อคอมฯสเปกสูงราคาถูก 06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567

การพัฒนาชุดการเรียนรู้ฯ ครูสุวรรณี เรืองถาวรกุล

usericon

การพัฒนาชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
รายวิชา ส23105 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ
ผู้วิจัย    นางสุวรรณี เรืองถาวรกุล
ตำแหน่ง     ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา    โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อ 1) สำรวจสภาพปัจจุบันและปัญหาการเรียนการสอนรายวิชา ส23105 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ส23105 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ 3) ศึกษาผลการใช้จากการเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบันและปัญหาการเรียนการสอนรายวิชา ส23105 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า นักเรียนมีความสามารถสนใจในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ส23105 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ เนื่องจากนักเรียนต้องการศึกษาด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ผู้เชี่ยวชาญการสอนสังคมศึกษา เห็นด้วยกับการเรียนการสอนชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ส23105 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ ที่จะนำมาพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหานักเรียนไม่สนใจในการเรียน และสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
ขั้นตอนที่ 2 เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ส23105 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน พิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบต่าง ๆ ของชุดการเรียนรู้ นำไปทดลองใช้กับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 คน เพื่อหาความเหมาะสมในเรื่องความชัดเจนของภาษา เนื้อหา และเวลาในการปฏิบัติกิจกรรม นำไปทดลองกับ นักเรียนจำนวน 9 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ 70/70 นำไปทดลองกับนักเรียนจำนวน 30 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ 80/80 เครื่องมือในการวิจัย คือ ชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ส23105 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ จำนวน 7 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า E1/E2
ขั้นตอนที่ 3 การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่าง ก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ส23105 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ส23105 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ จำนวน 7 ชุด แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณและวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test แบบ One – sample)
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ส23105 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการวิจัย พบว่าชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.74/81.86 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด การเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ส23105 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการโดยเฉลี่ย รายด้านปัจจัยนำเข้ามีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.67 , S.D. เท่ากับ 0.47 รายด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.84 , S.D. เท่ากับ 0.19 และรายด้านผลผลิต เท่ากับ 4.77, S.D. เท่ากับ 0.31 ทุกรายด้านและรายข้อ มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^