LASTEST NEWS

07 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 07 ต.ค. 2567สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 47 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 ตั้งแต่วันที่ 8-31 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567จังหวัดชัยนาท รับสมัครพนักงานราชการ พนักงานวิชาการพัสดุ วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 15-21 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567สำนักงาน ป.ป.ท. รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง กวิชาการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 68,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-16 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567ศธ.หารือไมโครซอฟท์ จัดสวัสดิการเพื่อครู ซื้อคอมฯสเปกสูงราคาถูก 06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567

เผยแพร่ผลงานวิชาการ

usericon

ชื่อเรื่อง         การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD
และ เอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย         นางภิรัชดา สุขเกลอ             
ปีที่ศึกษา    2561
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ด้านการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด และความจำเป็นของการประเมินทักษะการอ่าน การเขียนคำ ที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย 2) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำ ที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และ เอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อประเมินผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดช่องลม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ครู เรื่อง สภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ด้านการจัดการเรียนรู้ และฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด และการประเมินทักษะการอ่าน การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) แบบสอบถามความคิดเห็นครูเกี่ยวกับความจำเป็นของการประเมินทักษะการอ่าน การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค เอ็กซ์พลิซิท และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่าน การเขียน คำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจจากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์-พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เวลาที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง 22 ชั่วโมง แบบแผนการทดลองเป็นแบบ One-Group Pretest-Posttest Design และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1/E2 และการทดสอบที (t-test dependent samples)

    
ผลการศึกษาพบว่า
    1. ผลการศึกษาสภาพผลการทดสอบ NT (National Test) ปีการศึกษา 2560 ด้านทักษะความสามารถทางด้านภาษา พบว่าได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 52.19 และสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 พบว่าได้คะแนนปลายปีเฉลี่ยร้อยละ 72.25 และผลการสัมภาษณ์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจในการนำเทคนิควิธีการ หรือสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนยังไม่หลากหลาย ขาดสื่อการเรียนการสอนที่สร้างความเร้าใจให้นักเรียน เลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผล ที่ไม่เหมาะสมกับการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ภาษาไทย รวมทั้งครูขาดทักษะในการสร้าง และวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือการประเมินและขาดทักษะการสร้างเกณฑ์การประเมินการอ่าน การเขียนภาษาไทย สำหรับความคิดเห็นต่อความจำเป็นในการประเมินทักษะการอ่าน การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.63) โดยมีความจำเป็นในด้าน ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการส่งเสริมทักษะ การอ่าน การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมากกว่าด้านอื่น
2. ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และ เอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ปรากฏผลดังนี้ การหาประสิทธิภาพรายบุคคล มีค่าเท่ากับ 53.24/51.67 การหาประสิทธิภาพกลุ่มย่อย มีค่าเท่ากับ 73.03/63.00 และการหาประสิทธิภาพภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 83.94/81.29
3. ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และ เอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.29/82.64 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ โดยทั้ง 4 เล่ม มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทุกเล่ม และผลสัมฤทธิ์การอ่าน การเขียน คำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด จากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์ พลิซิทหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการวัดความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ผลปรากฏว่าในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( =4.51, S.D. = 0.60)

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^