LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

การยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย อบจ.เชียงใหม

usericon

การยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

นางศิริรัตน์ อินทรกำแหง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
________________________________________________________________________________


บทคัดย่อ
     งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้ว ผดุงพิทยาลัย 3) เพื่อติดตาม และประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ ครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 15 คน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 225 คน ปีการศึกษา 2561 โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Focus Group) สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน พี่เลี้ยงทางวิชาการ บุคลากรจากภาคีหน่วยงานความร่วมมือผู้ปกครองและแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนใช้สอบถามครู และนักเรียน แบบตรวจสอบรายการภาระงาน และผลงานของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหา และแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต้นแก้ว ผดุงพิทยาลัย คือ ปัญหาด้านการเรียนรู้ของนักเรียน ได้แก่ นักเรียนขาดแรงจูงใจขาดความกระตือรือร้นใน การเรียน ส่วนปัญหาด้านวิธีการเรียนการสอนของครู ได้แก่ ครูขาดเทคนิควิธีการสอนที่ถูกต้องเหมาะสมทันสมัย แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา 3 แนวทาง คือ (1) กระบวนการสอนแบบทีม (Team Teaching) (2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาแบบหน่วยบูรณาการ (Module) (3) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) 2) การดำเนินงาน การยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนโมดูลในระดับมัธยมศึกษา เรื่อง ภัยพิบัติ การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงวัย และสมาร์ทฟาร์ม การจัดกิจกรรมร่วมกันให้กำลังใจกันส่งผลให้ครูเกิดความมั่นใจในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การออกแบบ และ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสอนแบบทีม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนให้ความสนใจ สนุก และมีความสุขกับการเรียนรู้ สะท้อนผลได้จากผลความพึงพอใจใน การจัดการเรียนรู้ของนักเรียน และความสนใจอยากให้มีการจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการ (Module) เพิ่มขึ้น การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้ครูมีเทคนิคการสอนแบบใหม่แก้ปัญหาและพัฒนการสอนได้ 3) ติดตามและประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและครูต่อกิจกรรมที่ทำอยู่ระดับ มากที่สุด

คำสำคัญ: การยกระดับคุณภาพการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม

บทนำ
โลกในยุคปัจจุบันเป็นสังคมที่ทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว เป็นสังคมที่ผสมผสานและเกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติได้รับผลกระทบ และมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สิ่งแวดล้อมได้รับการพัฒนา และบางครั้งถูกแทนที่ด้วยกลไกทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และการถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ นี้ ทิศทางการศึกษาของโลกอนาคต จึงต้องได้รับการพัฒนาและมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เท่าทัน เป็นไปได้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น การเรียนรู้ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ และเข้าใจ ประยุกต์ใช้ และอยู่ในสังคมดิจิทัลอย่างเท่าทัน มีความสามารถใช้หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อพัฒนาตนเองและคุณภาพชีวิตให้ ดีขึ้น อีกทั้งการศึกษายังต้องสามารถทำให้ผู้เรียนค้นพบศักยภาพของตัวเอง ค้นพบเป้าหมาย และเตรียมการเข้าสู่อาชีพในอนาคตได้เร็วขึ้น การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณภาพ และพร้อมที่จะเผชิญกับโลกในอนาคตอย่างเท่าทันได้นั้นจึงเป็นหน้าที่ของภาคีทางการศึกษาทุกภาคส่วนที่จะต้องร่วมมือ และดำเนินการอย่างจริงจังให้เป็นรูปธรรมโดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง เช่น นักเรียน ผู้ปกครอง โรงเรียน สถาบันการศึกษาที่จะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งกระบวนการ ทั้งร่วมกันคิด ร่วมมือกันวางแผน ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมประเมินผล และร่วมกันพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจะทำให้คุณภาพการศึกษาได้รับการพัฒนา และยกระดับคุณภาพเหมาะสมกับกับการสร้างคนในอนาคต
จากแนวคิดของนักการศึกษาหลายท่านกล่าวว่าทรัพยากรการบริหารที่สำคัญแบ่งได้ 4 ประเภท ได้แก่ คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการ ซึ่งในบรรดาทรัพยากรการบริหารทั้ง 4 ประเภทนี้ ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือ “คน” เพราะคนจะเป็นผู้นำทรัพยากรอื่นๆ ไปใช้ในการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ ฉะนั้นหากจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาจึงต้องพัฒนาคนให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานได้เต็มศักยภาพ และทำงานอย่างมีความสุขอันจะส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัยให้ประสบผลสำเร็จ ปัจจัยด้านคนจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการดำเนินงานทุกด้านในการพัฒนา “คน” ที่สำคัญนั้นคือการพัฒนา “ศักยภาพ” ให้คนสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเป็นกระบวนการสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาหน่วยงาน ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาบุคลากรเป็นกระบวนการเพิ่มพูนความรู้แก่บุคลากร ทำให้บุคลากรในหน่วยงานมีความสามารถ มีทักษะในการปฏิบัติงานส่งผลต่อการพัฒนา และเพิ่มผลผลิตของหน่วยงาน การพัฒนาบุคลากรมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้บุคลากรมีความรับผิดชอบมากขึ้น ช่วยให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดการพัฒนางานเดิมที่ปฏิบัติอยู่เกิดความคิดสร้างสรรค์พัฒนางานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ทำให้องค์กรเกิดความทันสมัยตลอดเวลา ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นครูจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อน การดำเนินการจัดการศึกษา ครูเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาด้านการศึกษา นักเรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนที่ดีขึ้นอยู่กับคุณภาพการสอนของครู ครูต้องสามารถรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ Sallis (2002, pp. 138-145) ได้กำหนดองค์ประกอบของกรอบงานคุณภาพของสถานศึกษาไว้ประการหนึ่งว่า การฝึกอบรมบุคลากรเพื่อสร้างคุณภาพ (Initiating Staff Training for Quality) การพัฒนาบุคลากรเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความตระหนัก และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพการบริหารในอนาคตจะต้องดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ของผู้ปฏิบัติ และค่านิยมร่วมกันของทุกฝ่าย การฝึกอบรมเป็นเครื่องมือ ในการสร้างค่านิยมเหล่านั้นให้เกิดขึ้น เพื่อให้การฝึกอบรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ ผู้บริหารระดับสูงจะต้อง มีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในการจัดโปรแกรมการอบรม เพื่อให้การบริหารจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษามีคุณภาพ มีเอกภาพ และเกิดประสิทธิภาพ (efficiency) ประสิทธิผล (effectiveness) ดังที่ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ (2555) กล่าวว่า การประเมินคุณภาพโรงเรียนในปัจจุบัน มีปัญหาสำคัญที่ตัวชี้วัดส่วนใหญ่ไม่ได้วัดสัมฤทธิ์ผลของนักเรียนอย่างแท้จริง จึงไม่ช่วยสร้างการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ ที่ผ่านมาการประเมินคุณภาพโรงเรียนยังสร้างภาระให้กับครูในการที่ต้องจัดเตรียมเอกสารต่างๆ มากมาย จึงเหลือเวลาในการเตรียมการสอนน้อยลง ดังที่โครงการ Teacher Watch เคยสำรวจพบว่า ร้อยละ 83 ของครูทำงานธุรการร้อยละ 20 ของเวลางาน และร้อยละ 10 ของครูทำงานธุรการร้อยละ 50 ของเวลางานนอกจากนั้นยังระบุว่า ปัญหาของคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย มีสาเหตุมาจากการมีระบบประเมินผลที่ผิดพลาด โดยการประเมินโรงเรียน และครูแทบจะไม่มีความเชื่อมโยงกับผลการเรียนรู้ของนักเรียน และยังสร้างภาระต่อครูมากมาย ซึ่งมีผลในการดึงครูออกจากนักเรียน ส่วน การสอบมาตรฐานนั้น แม้โดยหลักการจะเป็นการวัดการเรียนรู้ของนักเรียนโดยตรง แต่ก็มีปัญหาคุณภาพของข้อสอบ และไม่มีการเปิดเผยคะแนนสอบเฉลี่ยของโรงเรียนต่อสาธารณะอย่างเป็นระบบ ระบบการประเมินที่เป็นอยู่จึงไม่เชื่อมโยงกับการสร้างความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจในการยกคุณภาพการศึกษา
เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพการศึกษาพบว่า ประเทศไทยประสบปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ต่ำ ดังจะเห็นได้จากผลการทดสอบ PISA และ TIMSS ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่อยู่ในกลุ่ม OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ซึ่งผลการประเมิน PISA 2015 ของประเทศไทยพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยด้านวิทยาศาสตร์ 421 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 493 คะแนน), ด้านการอ่าน 409 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 493 คะแนน) และด้านคณิตศาสตร์ 415 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 490 คะแนน) ส่วนผลการประเมิน TIMSS 2015 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์ 456 และคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 431 ซึ่งน้อยกว่าค่ากลางของ การประเมินที่กำหนดไว้ที่ 500 คะแนน โดยนักเรียนไทยส่วนใหญ่ยังมีระดับความสามารถทางการเรียนในระดับต่ำ (มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 400-474 คะแนน) ทั้งนี้อาจเนื่องจากนักเรียนไม่เข้าใจบทเรียนอย่างแท้จริงเรียนแบบท่องจำทำให้นักเรียนไม่สามารถเชื่อมต่อความรู้เป็นภาพใหญ่ได้ และไม่สามารถนำบทเรียนนั้นไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้ จากประเด็นปัญหาดังกล่าว สะเต็มศึกษาน่าจะเป็นคำตอบที่สามารถพัฒนากำลังคนที่มีทักษะและช่วยเพิ่มการสร้างผลผลิต (Productivity) ของประเทศขึ้นได้ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องให้ความสนใจเรื่องสะเต็มศึกษา ซึ่งสะเต็มศึกษานี้นอกจากจะสามารถช่วยผู้เรียนที่กำลังอยู่ในระบบการศึกษาให้มีทักษะสะเต็มแล้ว ยังสามารถช่วยยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมของประชากรวัยทำงานได้อีกด้วยโดยเฉพาะแรงงานในวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม เพื่อให้บริษัทเหล่านี้สามารถพัฒนาไปสู่บริษัทที่มีทักษะ และความสามารถที่จะผลิตสินค้าคุณภาพสูงได้ ประเทศไทยจำเป็นต้องทำให้สะเต็มศึกษาขยายวงให้กว้างขึ้น (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2559)
สะเต็มศึกษา (STEM Education: Science Technology Engineering and Mathematics Education) เป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่จะช่วยเพิ่มความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน โดยการผสมผสานหลักการทางเทคโนโลยี และวิศวกรรม ผ่านการเรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนแบบโครงงาน (Project-Based Learning) และการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) โดยทั้งสองวิธีเป็นแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบเสาะด้วยตนเองผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนจะได้ลงมือปฏิบัติเพื่อหาคำตอบบูรณาการความรู้ และทักษะในการแก้ปัญหา สรุปข้อค้นพบ และสร้างความรู้ใหม่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ (Bender, 2012; Moursund, 2009; พิมพันธ์ เดชะคุปต์, 2553; ลัดดา ภู่เกียรติ, 2552 และ วัฒนา มัคคสมัน, 2554) ซึ่งการจัดการเรียน การสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาจะช่วยเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในการศึกษาระดับสูง และเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพที่ใช้ความรู้ และทักษะทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (Fan, 2011) ในปัจจุบัน สะเต็มศึกษา (STEM Education) หมายถึง แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) (Capraro, Capraro, & Morgan. 2013; Gonzalez & Kuenzi. 2012; Zollman, 2012) สำหรับประเทศไทย เมื่อศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พบว่าในหลักสูตรได้กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งสอดคล้องกับสะเต็มศึกษาที่หมายถึงการจัดการเรียนรู้บูรณาการ ในที่นี้ สะเต็มศึกษา หมายถึง การจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบพหุวิทยาการ ใน 3 สาระ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) คณิตศาสตร์ (Mathematics) การงานอาชีพและเทคโนโลยี (Occupations and Technology) เนื่องจากไม่มีสาระวิศวกรรม (Engineering) แต่จะใช้การสอดแทรกกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering design process) เข้าไปใน 3 สาระดังกล่าว (จำรัส อินทลาภาพร, 2558) Drake & Bums (2004) ได้แบ่งการ บูรณาการออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ 1) การบูรณาการพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) เป็นการสอนที่มุ่งไปยังการบูรณาการวิชาต่างๆ โดยครูใช้การบูรณาการการสอนในแต่ละวิชาตามหัวข้อ และมาตรฐานการเรียนรู้ 2) การบูรณาการ สหวิชาการ (Interdisciplinary) เป็นการสอนที่ใช้หลักสูตรการเรียนรู้ข้ามกลุ่มวิชาตามหัวข้อการเรียนตามความคิดรวบยอดและตามทักษะมีคำตอบที่หลากหลาย ได้แก่ การอ่านเขียนทักษะการคิด และทักษะการทำวิจัย และ 3) การบูรณาการข้ามวิชา (Transdisciplinary) เป็นการบูรณาการหลักสูตรจากหัวข้อที่นักเรียนให้ความสนใจ นักเรียนพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตจากประสบการณ์ และกระบวนการเรียนรู้ด้วยการทำโครงงานเป็นพื้นฐานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษามีความสำคัญต่อผู้เรียน คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และสร้างนวัตกรรมที่ใช้ความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม ผู้เรียนเข้าใจสาระ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มากขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดรวบยอดในศาสตร์ต่างๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ และคุณค่าของสิ่งที่เรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนเข้ากับชีวิตจริง (วิชัย วงษ์ใหญ่, 2554; สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2557; จำรัส อินทลาภาพร, 2558) นอกจากนี้การที่จะประสบความสำเร็จในการบูรณาการวิชาทั้งสี่ในสะเต็มศึกษาได้นั้นครูผู้สอนต้องผสมผสานองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอน 2 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียนเอง และด้านเนื้อหา (Content) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้พื้นฐานที่สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น (Deeper Learning) (พลศักดิ์ แสงพรมศรี และคณะ, 2558) จำเป็นต้องให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ทำงานเป็นกลุ่ม อภิปราย และสื่อสารเพื่อนำเสนอผลงาน คล้ายกับแนวทางการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning: PBL) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning: PBL) และการเรียนรู้โดยใช้การออกแบบเป็นฐาน (Design-Based Learning) (พรทิพย์ ศิริภัทราชัย, 2556) สอดคล้องกับงานวิจัยของ Fan (2011) ที่ทำการสำรวจประเทศที่มีการจัดการศึกษารูปแบบสะเต็มศึกษาจำนวน 20 ประเทศในทุกทวีป พบว่า การจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาในทุกทวีป และมีจำนวน 13 ประเทศที่จัดการศึกษารูปแบบสะเต็มศึกษาในระดับประถมศึกษาสามารถพัฒนาศักยภาพของนักเรียนได้อย่างไรก็ตามจากการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาระดับประถมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในทวีปยุโรปพบว่า ครูประถมศึกษาขาดความรู้ และความเชี่ยวชาญทางด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เนื่องจากครูประถมศึกษาสำเร็จการศึกษาโดยไม่มีวิชาเอกที่เชี่ยวชาญเฉพาะ ทำให้ขาดความชำนาญ และเกิดความไม่มั่นใจเมื่อต้องจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษา ทั้งนี้ในมหาวิทยาลัยเซนท์แคทเธอรีน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้นักศึกษาครูในสาขาประถมศึกษาต้องเรียนวิชาที่ว่าด้วยการจัดการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาเพื่อให้ครูประถมศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ (Joyce, 2011; Murphy, 2011)
การจัดการศึกษาของโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในทุกระดับชั้นมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ มีสมรรถนะ และความสามารถตามหลักสูตร และส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบความถนัด และความสนใจของตนเอง สามารถนำองค์ความรู้ ทักษะ เจตคติที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ไปเชื่อมโยง ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ แต่การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูในบางระดับชั้นของโรงเรียน พบว่าการจัดกระบวนการเรียนรู้ในหลายวิชา ยังมุ่งเน้นเนื้อหา และความรู้ความจำเป็นหลัก นักเรียนยังไม่สามารถนำความรู้ ทักษะที่ได้จากการเรียนรู้ เชื่อมโยง และประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ และโดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีหลายสาระการเรียนรู้ที่มี เป้าหมาย เนื้อหา ความรู้ ทักษะ ที่ซ้ำซ้อน กันทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไม่เป็นไปตามหลักการของหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัยที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้อย่างบูรณาการ จากสถานการณ์ และเหตุผลดังกล่าว ทางโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จึงสนใจที่จะศึกษา และพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู และเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนใช้การศึกษาแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) ประกอบด้วย 1) ระยะวางแผนการยกระดับคุณภาพการศึกษา 2) ระยะดำเนินการ 3) ระยะกำกับติดตามกระบวนการพัฒนา และ 4) ระยะประเมินผลโดยการนำขั้นตอนกระบวนการ การออกแบบการคิด (Design Thinking) ของ Stanford d.school 5 ขั้นตอน เป็นกรอบเครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ 1) ขั้นทำความเข้าใจ 2) ขั้นตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง (กำหนดเป้าหมาย) 3) ขั้นใช้ความคิดสร้างสรรค์ 4) ขั้นทดสอบแนวคิด 5) ขั้นลงมือปฏิบัติจริง โดยความร่วมมือกับภาคีการศึกษาของโรงเรียนประกอบด้วยสถาบันคีนันแห่งเอเชีย (โครงการ Chevron Enjoy Science) สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในทุกระดับชั้นมัธยมศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ มีสมรรถนะ และความสามารถตามหลักสูตร และส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบความถนัด และความสนใจของตนเอง สามารถนำองค์ความรู้ ทักษะ เจตคติที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ไปเชื่อมโยง ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ คือ การยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และมาตรฐานการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยยึดหลักการว่าข้อค้นพบจากการวิจัยเป็นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ยุทธศาสตร์ การแก้ปัญหาที่ปรากฏอยู่จริงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยการนำขั้นตอนกระบวนการ การออกแบบการคิด (Design Thinking) ของ Stanford d.school เป็นยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงที่มีหลักการสำคัญว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีบทบาทในการกำหนดปัญหา วิเคราะห์ปัญหา ค้นหาสาเหตุแห่งปัญหาอย่างเป็นระบบ ค้นหาแนวทางปฏิบัติเพื่อการแก้ปัญหาได้จริงโดยระดมความร่วมมือทั้งภายในภายนอกชุมชน หน่วยงาน และองค์กรมาร่วมแก้ปัญหาให้สถานศึกษาเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาแบบร่วมมือแบบทำไปเรียนรู้ไป โดยผู้วิจัยเป็นผู้มีบทบาทในการกระตุ้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างกระบวนการต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนำไปสู่มาตรฐานการจัดการศึกษาของโรงเรียน อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาในระบบการจัดการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม และเกิดคุณภาพสูงสุดในอนาคต

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
2. เพื่อศึกษาการดำเนินงานการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
3. เพื่อศึกษาติดตาม และประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.    เป็นการวิจัยที่จะก่อให้เกิดองค์ความรู้จากบุคคล และผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษา ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในลักษณะเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ฐานรากจากการกระทำ (grounded knowledge from doing)    
2.    เป็นการวิจัยที่จะก่อให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับโรงเรียนเป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ตามหลักการเรียนรู้ด้วยการกระทำ (learning by doing)
3.    นักวิจัยหรือนักวิชาการ สามารถศึกษาเรียนรู้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่ ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อปรับปรุงหรือพัฒนารูปแบบการวิจัยให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

ขอบเขตการศึกษา
ขอบเขตด้านเนื้อหา
การยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จากข้อเสนอเชิงนโยบาย สู่การปฏิบัติด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research: PAR) ซึ่งใช้การศึกษาจากข้อมูลทิศทางการจัดการศึกษา ปัญหาเชิงลึก และพัฒนาแนวทางโดยความร่วมมือจากภาคีร่วมพัฒนา เพื่อกำหนดการปฏิบัติการตามวงจรการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในศึกษา ได้แก่ ครูระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 15 คน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 225 คน ปีการศึกษา 2561

วิธีการวิจัย
วิธีการวิจัย แบ่งออก 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาและแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย
ผู้ให้ข้อมูลหลัก
ผู้ให้ข้อมูล แบ่งออก 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพี่เลี้ยงวิชาการบุคลากรจากภาคีหน่วยงานความร่วมมือ 3 กลุ่ม ได้แก่ สถาบันคีนันแห่งเอเชีย (โครงการ Chevron Enjoy Science) สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีล้านนาภาคพายัพ กลุ่มผู้บริหารโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ๓ ท่าน และกลุ่มครู 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Focus Group) โดยการแบ่งกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม โดยการศึกษาแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR)
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยแยกออกเป็นประเด็นความสำคัญปัญหาและแนวทางการปฏิบัติ
ระยะที่ 2 ดำเนินงานการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย
กลุ่มดำเนินงาน
กลุ่มดำเนินงาน ได้แก่ ครูระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 15 คน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 225 คน ปีการศึกษา 2561 และกลุ่ม พี่เลี้ยงวิชาการบุคลากรจากภาคีหน่วยงานความร่วมมือ 2 กลุ่ม ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สถาบันคีนันแห่งเอเชีย (โครงการ Chevron Enjoy Science) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบตรวจสอบรายการภาระงาน และผลงานของนักเรียน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยออกเป็นประเด็นดำเนินงาน
ระยะที่ 3 การติดตามและประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย
ผู้ให้ข้อมูลหลัก
ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 15 คน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 225 คน ปีการศึกษา 2561
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนใช้สอบถามนักเรียน และครู แบ่งออก 2 ชุด คือ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนใช้สอบถามนักเรียน มีจำนวนคำถาม 10 ข้อคำถามจะใช้มาตราวัดแบบประมาณค่า (Rating Scale) เป็นการวัดแบบเรียงลำดับ (Ordinal Scale) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ส่วนแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนใช้สอบถามครู มีจำนวนคำถาม 20 ข้อ ถามจะใช้มาตราวัดแบบประมาณค่า (Rating Scale) เป็นการวัดแบบเรียงลำดับ (Ordinal Scale) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยและอภิปรายผล
ผลการวิจัย
1. ศึกษาปัญหาและแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย
จากแบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Focus Group) จาก 15 ท่าน สรุปประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย 2 ด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านการเรียนรู้ของนักเรียน ได้แก่ นักเรียนขาดแรงจูงใจขาดความกระตือรือร้นในการเรียน กลุ่มให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ถัดมานักเรียนขาดทักษะการความคิดวิเคราะห์ นักเรียนไม่กล้าแสดงความเห็น นักเรียนมีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาด้านวิธีการจัดการเรียนการสอนของครู ได้แก่ ครูขาดเทคนิควิธีการสอนที่ถูกต้องเหมาะสมทันสมัย กลุ่มให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ถัดมาครูมีภาระงานมากเกินไป และครูขาดทักษะด้าน ไอที และเทคโนโลยี และขาดสื่ออุปกรณ์
แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา 3 แนวทาง คือ
(1)     กระบวนการสอนแบบทีม (Team Teaching) เป็นการสอนที่มีครูอย่างน้อย 2 คน ร่วมมือกันเตรียมการสอนอย่างใกล้ชิดและสอนนักเรียนร่วมกันในห้องเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน การสอนแบบทีมจะมีครูที่เป็นหัวหน้าทีม (Team Leader) ครูร่วมทีม ได้แก่ ครูอาวุโส (Senior Teacher) ครูประจำ (Master Teacher) และครูช่วยสอน (Co-operative Teacher) การสอนแบบนี้ได้ผลดีถ้าครูหัวหน้าทีม และครูร่วมทีมเข้มแข็งร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานอย่างดี
(2)    รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการ (Module) เป็นบูรณาการในลักษณะนี้เป็นได้ทั้งภายในวิชาเดียวกันหรือบูรณาการหลายวิชาที่บูรณาการทักษะในวิชาเดียวกัน เช่น บูรณาการทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การสรุป การนำเสนอ ในวิชาภาษาที่บูรณาการทักษะในหลายวิชา เช่น ทักษะการคิด ทักษะการจัดการ และทักษะการวิจัย (ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต) เป็นต้น วิชาที่มักบูรณาการด้วยทักษะจำเป็นต้องมีการวางแผนร่วมกัน เพราะเกี่ยวข้องกับผู้สอนหลายวิชา ผู้สอนจะต้องมาตกลงกันเกี่ยวกับเนื้อหา ลำดับความยากง่าย จะแยกสอนเป็นวิชาหรือสอนเป็นทีม ครูต้องร่วมกันกำหนดคำถามสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และทักษะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนให้ครบถ้วน และเหมาะสม อีกทั้งให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่จะเรียนด้วย การบูรณาการลักษณะนี้ใช้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นโครงงาน (Projects) ประเด็นปัญหา (Issues) สภาพชุมชน (Community) อาชีพ (Careers) หรือแม้แต่ศาสนา การจัดทำหลักสูตรในลักษณะโมดูล (Modules) ก็อยู่ในประเภทนี้ บูรณาการสื่อเทคโนโลยี (Integrated by technology) การจัดหลักสูตรโดยนำสื่อเทคโนโลยีมาบูรณาการนั้น น่าจะทำได้ง่าย และจำเป็นในสภาวการณ์ปัจจุบัน เพราะทุกวิชาสามารถใช้เทคโนโลยีบูรณาการในการเรียนการสอนได้ แม้แต่วิชาเทคโนโลยีเองก็ใช้เนื้อหาวิชาอื่น เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ฯลฯ เป็นสื่อการเรียนรู้ได้ บูรณาการในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นบูรณาการแบบคู่ขนาน การบูรณาการโดยแหล่งเรียนรู้ก็จัดอยู่ในประเภทนี้
(3)     ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) เป็นการรวมตัว ร่วมมือร่วมใจ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษาบนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันแบบทีมการเรียนรู้ที่มีครูเป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารเป็นผู้ดูแลสนับสนุนสู่การเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญ และความสุขของการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้
2. ดำเนินงานการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย
การดำเนินงานการยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ใช้รูปแบบการดำเนินการ ๒ แนวทาง คือ
(๑)     การยกระดับคุณภาพผู้เรียนโดยใช้บทเรียนโมดูล เรื่อง ภัยพิบัติ เป็นต้นแบบแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา เริ่มต้นจากครูใช้แบบกระบวนการสอนแบบทีม (Team Teaching) และหลักการการออกแบบการคิด (Design Thinking) ของ Stanford d.school 5 ขั้นตอน เป็นกรอบเครื่องมือในก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^