LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model

usericon

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจะมาแกะ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เปรียบเทียบทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจะมาแกะ 3) ศึกษาพัฒนาการทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจะมาแกะ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจะมาแกะ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์และแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที (t-test) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประเภทผสมผสานวิธี ผลการวิจัยได้ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้



    1. รูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ คือ วัตถุประสงค์ หลักการ กระบวนการ เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ และการวัดประเมินผล เรียกว่า SAEROH Model มีการดำเนินการ 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 กระตุ้น (S : Stimulate) ขั้นที่ 2 อธิบาย
(A : Annotate) ขั้นที่ 3 ตรวจสอบ (E : Examine) ขั้นที่ 4 ทบทวน (R : Review) ขั้นที่ 5 ปฏิบัติ
(O : Operate) และขั้นที่ 6 ครอบคลุมความรู้ (H : Hold Knowledge) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.64/88.95 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
    2. ทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมาย
ทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
บ้านจะมาแกะ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    3. ทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์พัฒนาขึ้นระหว่างการจัด
การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจะมาแกะ
    4. ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model เพื่อพัฒนาทักษะ
การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจะมาแกะ อยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^