ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้อุปกรณ์เครื่องมืองานบ้าน งานประดิษฐ์ แ
ผู้รายงาน นางบุญเชิญ ศรีอินทร์
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสื่อประสมประสานภาษาไทยควบคู่ภาษามาลายูถิ่น เรื่อง การใช้อุปกรณ์เครื่องมือการเรียน งานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การใช้อุปกรณ์เครื่องมือการเรียน งานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยสื่อประสมประสานภาษาไทยควบคู่ภาษามาลายูถิ่น และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อสื่อประสมประสานภาษาไทยควบคู่ภาษามาลายูถิ่น เรื่อง การใช้อุปกรณ์เครื่องมือการเรียน งานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยดำเนินการสอนด้วยตนเอง
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านตะลุบัน สังกัดเทศบาลตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ปีการศึกษา 2555 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ สื่อประสมประสานภาษาไทยควบคู่ภาษามาลายูถิ่น ประกอบด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชางานบ้าน ชุดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รายวิชางานเกษตร แบบฝึกทักษะงานช่างและงานประดิษฐ์ รายวิชางานประดิษฐ์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้ศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบแบบไม่อิสระ (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. สื่อประสมประสานภาษาไทยควบคู่ภาษามาลายูถิ่น เรื่อง การใช้อุปกรณ์เครื่องมือการเรียน งานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.99/88.49 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยสื่อประสมประสานภาษาไทยควบคู่ภาษามาลายูถิ่น เรื่อง การใช้อุปกรณ์เครื่องมือการเรียน งานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนสื่อประสมประสานภาษาไทยควบคู่ภาษามาลายูถิ่น เรื่อง การใช้อุปกรณ์เครื่องมือการเรียน งานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยภาพรวมรายด้าน และรายข้อทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50