LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญห

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
        ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย    นางอภิญญา พรหมรัตน์
ปีการศึกษา    2560
บทคัดย่อ
    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านนาตาล่วง) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านนาตาล่วง) เทศบาลนครตรัง จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) t-test dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ (PPPSE Model) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมและกระตุ้นจูงใจในการเรียน (Preparation and Motivation : P) 2) ขั้นการนำเสนอเนื้อหา (Presentation : P) 3) ขั้นการฝึกทักษะ (Practice Skill : P) 4)ขั้นสรุปความคิดรวบยอด (Summary and Conceptual : S) และ 5) ขั้นประเมินผล และการประยุกต์ใช้ความรู้ (Evaluation and Application :E) ผลการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าระหว่าง 0.80 -1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบการสอน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ มีค่าระหว่าง 0.80 -1.00 และความสอดคล้องของรูปแบบการสอน มีดัชนีความสอดคล้องรายข้อ มีค่าระหว่าง 0.80-1.00 ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมสอดคล้องเชิงโครงสร้าง สามารถนำไปทดลองใช้ได้ และผลการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) กับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านนาตาล่วง) จำนวน 28 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 82.79/81.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
    2. การประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน คะแนนทดสอบก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 41.49 และคะแนนทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 81.67 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนปรากฏว่า ค่าที่ได้จากการเปรียบเทียบ มีค่า t เท่ากับ 21.82 แสดงว่า คะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ภาพรวมพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.55 , S.D. = 0.16) ส่วนความพึงพอใจรายด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านประโยชน์ซึ่งการจัดการเรียนรู้ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย สร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง ได้พัฒนาทักษะการคิด ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูและเพื่อน และยังช่วยให้นักเรียนมีความละเอียดรอบคอบในการทำงานมากขึ้น
    
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^