LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน

usericon

ชื่อเรื่อง      การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปัตตานี
ผู้วิจัย      นางสาวไซลัน สาและ
ปีที่วิจัย      2561

บทคัดย่อ
     การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมุ่งประเมินในสิ่งต่อไปนี้คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังได้รับการสอนด้วยรูปแบบการสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบสัมภาษณ์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test แบบDependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา

     ผลการวิจัย พบว่า
     1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้ พบว่า คณิตศาสตร์มีบทบาทสาคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่สภาพการจัดการเรียนการสอนของครู ยังใช้รูปแบบการสอนแบบบรรยาย ให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดจากบทเรียน การใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ และฝึกให้ผู้เรียนคิด แก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผลยังมีน้อย แนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด การใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพราะนักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์มากขึ้น บรรยากาศในการเรียนสนุกสนาน นักเรียนได้เรียนร่วมกลุ่มกับเพื่อน กิจกรรมการเรียนการสอนหลากหลาย นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมทุกคน และนักเรียนสามารถนำความรู้ไปแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
     2. ผลการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีชื่อเรียกว่า P-UCAE-C Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เงื่อนไขในการใช้รูปแบบการสอน สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นกำหนดปัญหา (Problem Determination : P) 2) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (Understanding the problem : U) 3) ขั้นดำเนินการศึกษา (Conducting Studies : C) 4) ขั้น วิเคราะห์ความรู้และฝึกทักษะ (Analysis skills : A) 5) ขั้นประเมินค่าผลงานและนำเสนอผลงาน (Evaluation : E) และ 6) ขั้นสรุปและประเมินผล (Conclusion : C) ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.24/76.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
     3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อ เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลอง จานวน 24 คน ได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) เท่ากับ 18.04 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 60.12 และได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) เท่ากับ 23.08 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 76.94 แสดงว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
     4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อ เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และผลประเมินความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D.= 0.52) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมในการเรียน และด้านการประเมินผลในการเรียน รองลงมาคือ ด้านระยะเวลาในการเรียนและด้านบรรยากาศในการเรียน ตามลาดับ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^