LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ฯ

usericon

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม “เราทำความดีด้วยหัวใจ” ของนักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา ตามแนวโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม “เราทำความดีด้วยหัวใจ” ของนักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา ตามแนวโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 รายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประเมินกระบวนการการดำเนินโครงการ ประเมินผลผลิตของโครงการ ประเมินผลกระทบของโครงการ ประเมินประสิทธิผลของโครงการ ประเมินความยั่งยืนของโครงการ ประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการ และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีทั้งสิ้น 731 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา 19 คน ครูและบุคลากรการศึกษา 92 คน นักเรียน 310 คน ผู้ปกครองนักเรียน 310 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินและข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้

ผลการประเมิน
    ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ผลการประเมินรายประเด็นและตัวชี้วัด สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า
    1.1 ระดับผู้ร่วมดำเนินการพร้อมให้ความร่วมมือในการส่งเสริม พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ตามแนวโรงเรียนวิถีพุทธ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
    1.2 ระดับกิจกรรมโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป็นไปตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า
        2.1 ระดับผู้บริหาร มีภาวะผู้นำในการขับเคลื่อนโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
    2.2 ระดับครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความสามารถในการส่งเสริม พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ตามแนวโรงเรียนวิถีพุทธ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
    3. กระบวนการดำเนินโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า
    3.1 มีคำสั่งมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรมแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
    3.2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีการบูรณาการหลักการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรมตามแนววิถีพุทธในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
    4. ผลผลิตของโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า
    4.1 โรงเรียนมีแหล่งการเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาตามแนววิถีพุทธ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
    4.2 สถานศึกษามีหลักการส่งเสริม พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตามแนวโรงเรียน
วิถีพุทธอย่างมีระบบ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
    4.3 โรงเรียนมีทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
    4.4 ครูผู้สอนจัดทำแผนการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมตามแนวโรงเรียนวิถีพุทธได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
    5. ด้านผลกระทบของโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า
    5.1 นักเรียนมีจิสาธารณะโดยการ “ทำความดีด้วยหัวใจ” ในครอบครัวและใน
การดำเนินชีวิตประจำวันของตนเอง ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
    5.2 นักเรียนมีจิตสาธารณะ “ทำความดีด้วยหัวใจ” ในชุมชน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
    6. ด้านประสิทธิผล ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า
    6.1 นักเรียนเข้าใจและปฏิบัติตนให้อยู่อย่างพอเพียงได้อย่างมีความสุข ผ่านเกณฑ์
การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
    6.2 นักเรียนมีวินัยในการรักษากฎระเบียบของโรงเรียน ปฏิบัติตนตามกติกาต่าง ๆ ได้ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
    7. ด้านความยั่งยืน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า
    7.1 นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นและเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์ได้ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
    7.2 โรงเรียนพัฒนาโครงการสร้างจิตสาธารณะให้แก่นักเรียนอย่างต่อเนื่อง ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
    8. ด้านการถ่ายโยงความรู้ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า
    8.1 โรงเรียนถ่ายทอดแนวคิดโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม “เราทำดีด้วยหัวใจ” ของนักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา ตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติได้ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
    8.2 นักเรียนสามารถปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบด้านจิตสาธารณะ “เราทำดีด้วยหัวใจ” สำหรับให้ผู้อื่นเรียนรู้ได้     ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

ข้อเสนอแนะ
    จากผลการประเมินรายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม “เราทำความดีด้วยหัวใจ” ของนักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา ตามแนวโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน จึงควรดำเนินโครงการนี้ต่อไป ควรนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ตามข้อเสนอแนะ ดังนี้
    1. จากผลประเมินพบว่า ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งใน
การดำเนินโครงการ เพราะปัจจัยนำเข้าเปรียบเสมือนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัตถุดิบที่จะส่งผลคุณภาพของสินค้า ปัจจัยนำเข้าของโครงการจึงขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน โรงเรียน และวัสดุอุปกรณ์ที่สนับสนุนโครงการ
ความแตกต่างของบริบทโรงเรียนย่อมส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ ดังนั้น การดำเนินโครงการจึงต้องประเมินความพร้อมของปัจจัยที่จะส่งผลถึงความสำเร็จ
    2. จากผลประเมินพบว่า ด้านกระบวนการในการดำเนินกิจกรรม การปฏิบัติงานตามกิจกรรมของโครงการ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในการทำกิจกรรมมีหลายกิจกรรมที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้รับผิดชอบโครงการจึงควรมีการประสานงาน การติดตามผลในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุผล
ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียน
3. จากผลประเมินพบว่า ด้านผลกระทบของโครงการเกิดจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโรงเรียน สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ย่อมมีส่วนส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ
การดำเนินโครงการจึงควรเก็บข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนทางด้านภูมิสังคม เพื่อใช้ประกอบใน
การวางแผนจัดกิจกรรม เพื่อที่จะทำให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์
4. จากผลประเมินพบว่า ด้านการถ่ายโยงความรู้ควรศึกษากระบวนการถ่ายโยงความรู้ของโรงเรียน ซึ่งมีวิธีการหรือกระบวนการหลากหลายให้นำมาปรับใช้ในการพัฒนา การสร้างองค์ความรู้ให้กับนักเรียน เพื่อพัฒนารูปแบบการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^