LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนาคู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร
ผู้วิจัย    นายสุคน ระเบียบโอษฐ์
ปีที่ทำวิจัย    2560

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตรโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร 2) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร รอบที่ 1 และ 4) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร รอบที่ 2 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล หัวหน้าระดับชั้น รองหัวหน้าระดับชั้น ครูแนะแนว ครูที่ปรึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) คู่มือการสนทนากลุ่ม 2) แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และ 3) แบบสอบถามประเมินความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1.    ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า การดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งสามโรงเรียนสอดคล้องกันกล่าวคือ เน้นที่หัวหน้าระดับและครูที่ปรึกษารับผิดชอบร่วมกัน ฝ่ายบริหารจะให้แนวนโยบายแล้วแจกเอกสารให้ครูได้ปฏิบัติ ไม่มีคู่มือการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ครูได้ยึดเป็นกรอบแนวปฏิบัติ ไม่มีการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติ ไม่มีการประเมินทบทวนระบบหลังจากที่ดำเนินงานไปแล้ว ซึ่งทำให้ไม่มีการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานมาใช้ในครั้งต่อไป กระบวนการดำเนินงานขาดการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง คือ ผู้บริหาร ครูที่ปรึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และนักเรียน รวมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยไม่มีการวางแผนร่วมกัน ผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวไม่ได้ให้คำปรึกษาในการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ไม่มีโอกาสให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาแก้ไขนักเรียน
    ผู้ให้ข้อมูลส่วนมากต้องการให้โรงเรียนพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยจัดอบรมให้ความรู้แก่ครูที่ปรึกษาและผู้เกี่ยวข้อง จัดทำคู่มือการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ชัดเจน ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูที่ปรึกษา ครูแนะแนว ครูหัวหน้าระดับ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชน และนักเรียน การดำเนินงานตามระบบให้มีการวางแผนร่วมกัน ภายหลังดำเนินการแล้วต้องมีการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
2.    ผลการศึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีขั้นตอนในการดำเนินการประกอบด้วย
2.1    ขั้นวางแผน โดยการจัดประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ และร่วมกันกำหนดบทบาทหน้าที่เพื่อให้กระบวนการดำเนินงานมีประสิทธิผล ขั้นปฏิบัติการ ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันศึกษาปัญหาของโรงเรียนกำหนดแนวทางปฏิบัติ การตรวจสอบ และกาสะท้อนผลการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยยึดกรอบการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มี 5 ขั้นตอน คือ (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (2) การคัดกรอง (3) การส่งเสริมและพัฒนา (4) การป้องกันและแก้ไขปัญหา และ (5) การส่งต่อ กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติ ตรวจสอบ สะท้อนผล และประเมินผลการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติ ตรวจสอบ สะท้อนผล และสรุปเป็นแผนปฏิบัติการ ขั้นตรวจสอบ ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบแผนปฏิบัติที่ร่วมกันสร้างขึ้น โดยการประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ขั้นสะท้อนผล ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันนำผลที่ได้จากขั้นตรวจสอบมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ชัดเจนขึ้นสามารถนำไปปฏิบัติได้
2.2    ระบบปฏิบัติการ มีขั้นตอนในการดำเนินงานประกอบด้วย ขั้นวางแผน ดำเนินการโดยผู้บริหารและครูที่เกี่ยวข้องประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและนักเรียนในการดำเนินงานตามระบบวางแผน (Plan) ระบบปฏิบัติการ (Act) ระบบตรวจสอบ (Observe) และระบบสะท้อนผล (Reflect) ครูทีมประสานและทีมทำร่วมกันวิเคราะห์มาตรฐานระบบวางแผน (Plan) ระบบปฏิบัติการ (Act) ระบบตรวจสอบ (Observe) และระบบสะท้อนผล (Reflect) กำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์ สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน ขั้นปฏิบัติการ ครูที่ปรึกษาปฏิบัติการดูแล่ชวยเหลือนักเรียน ผู้เรียนดูแลแก้ไขพัฒนาตนเองและเพื่อนนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนดูแลนักเรียนเมื่ออยู่ที่บ้านและในชุมชน พร้อมกับประสานความร่วมมือกับโรงเรียน เมื่อนักเรียนมีปัญหา ขั้นตรวจสอบ ครูที่ปรึกษา ตรวจสอบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ปฏิบัติว่า เป็นไปตามแนวทางที่ร่วมกันกำหนดขึ้นหรือไม่ โดยครูที่ปรึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ขั้นสะท้อนผลผู้เกี่ยวข้องร่วมกันทบทวนและปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษา
2.3    ระบบติดตามตรวจสอบ มีขั้นตอนในการดำเนินงานประกอบด้วย ขั้นวางแผน ดำเนินการโดย จัดประชุมคณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้อง เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ขั้นปฏิบัติการ ดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติของครูที่ปรึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ในขั้นปฏิบัติการใช้แบบประเมินที่สร้างขึ้น ในขั้นตรวจสอบ กรรมการประเมินทบทวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในขั้นสะท้อนผล ผู้เกี่ยวข้องนำผลในขั้นตรวจสอบ ทบทวนและปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบการปฏิบัติ
2.4    ระบบสะท้อนผลปรับปรุง มีขั้นตอนในการดำเนินการประกอบด้วย ขั้นวางแผน โดยการจัดประชุมคณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลที่ได้จากระบบติดตามตรวจสอบมาร่วมกันวางแผนปรับปรุงแก้ไข ขั้นปฏิบัติการ ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อมูลทีได้แล้วจัดทำเอกสารรายงานผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ขั้นตรวจสอบ คณะกรรมการร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมครบถ้วนในกระบวนการปรับปรุงและขั้นสะท้อนผล ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันทบทวนปรับปรุงตามผลจากการตรวจสอบ
3.    ผลการทดลองใช้และประเมินระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการใช้การวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร รอบที่ 1 พบว่า ผลการดำเนินงานของโรงเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยมีค่าสูงกว่าเกณฑ์เกือบทุกตัวชี้วัด สรุปได้ดังนี้
3.1    ผลการประเมินทบทวนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานระบบ พบว่า ผลการประเมินในด้านนักเรียน และด้านปัจจัยในรอบที่ 1 มีบางตัวชี้วัดไม่ผ่านเกณฑ์ ผู้วิจัยและผู้เกี่ยวข้องจึงได้พัฒนาในส่วนบกพร่องทำให้ผลจากการประเมินในรอบที่ 2 ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด
3.2    ผลการประเมินประสิทธิผลของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานซึ่งกำหนดโดย Stufflebeam และคณะ (1981 อ้างอิงใน ศิริชัย กาญจนวาสี, 2545 : 178-180) โดยพิจารณาจากด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานจริง ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ และด้านผลที่เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า ประสิทธิผลของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยจากการทดลองใช้รอบที่ 2 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการทดลองใช้ในรอบที่ 1 เกือบทุกตัวชี้วัดนั่นแสดงว่า ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ผู้วิจัยและผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมพัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้นจากการดำเนินงานในรอบที่ 2
4.    ผลการทดลองใช้และแระเมินระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการใช้การวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร รอบที่ 2 พบว่า ผลการดำเนินงานมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด ผลจากการประเมินและปรับปรุงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแล้วดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่งผลในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
4.1     ด้านการใช้ประโยชน์ของระบบ ตอบสนองต่อความต้องการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งทำให้เกิดการดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหานักเรียน ได้รูปแบบกระบวนการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายใต้การมีส่วนร่วมของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถนำไปพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ แล้วรายงานผลการดูแลช่วยเหลือนักเรียนไปยังผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำผลไปใช้ประโยชน์
4.2    ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน ครูที่ปรึกษาและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้จริงเป็นที่ยอมรับของผู้บริหาร ครูนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ผลการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความคุ้มค่า
4.3    ด้านความเหมาะสม สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งพัฒนาระบบฯ โดยให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน พัฒนาระบบฯ โดยอาศัยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ คำนึงถึงประโยชน์ของนักเรียนเป็นหลัก ดำเนินการตามระบบฯ ด้วยความรับผิดชอบและมีจรรยาบรรณ
4.4    ด้านความถูกต้องน่าเชื่อถือ สอดคล้องกับความสำคัญและจำเป็นของระบบฯ กระบวนการดำเนินงานตามระบบฯ แสดงด้วยแผนภาพที่ชัดเจนและเจ้าใจง่าย กำหนดตัวชี้วัดและเครื่องมือที่ใช้สอดคล้องกับกระบวนการดำเนินงานของระบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในระบบฯ ถูกต้องหลากหลาย และครบถ้วน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ ระบบฯ ไว้อย่างชัดเจน
4.5    ด้านผลที่เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้อง
4.5.1    ด้านความพึงพอใจ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบฯ มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน ประเมินผู้เรียนในทิศทางเดียวกันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทั้งด้านนักเรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครองและชุมชน
ด้านการดูแลนักเรียน นักเรียนได้รู้จักตนเอง สามารถปรับตัวมีทักษะทางสังคมและอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ครูผู้สอนนำผลการดำเนินงานตามระบบฯ ไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารโรงเรียนนำข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนไปใช้ในการกำหนดแนวทางในการพัฒนานักเรียน หลักสูตร และคุณภาพการจัดการศึกษา นอกจากนี้ โรงเรียนได้รับการยอมรับการสนับสนุน และการร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^