LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนท่าศาลา
ผู้วิจัย        นางบุญธิดา เทวาพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนท่าศาลา
ปีการศึกษา 2560

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน 2) นำเสนอชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา 3) ศึกษาผลการทดลองใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา และ 4) ประเมินชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ครูผู้สอนโรงเรียนท่าศาลาจำนวน 15 คน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับสอบถามความคิดเห็น และการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 9 คน และ 3) ผู้เชี่ยวชาญ สำหรับตรวจสอบเครื่องมือการวิจัย จำนวน 5 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย1) แบบสอบถามความคิดเห็น 2) แบบบันทึกการวิจัยในชั้นเรียน และ 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction)

ผลการวิจัยพบว่า
    1. ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน จากการสังเคราะห์ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตามแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยเกี่ยวข้อง พบว่า ประกอบด้วย 1)ด้านวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) 2) ด้านการร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) 3) ด้านร่วมเป็นผู้นำ (Shared Leadership) 4) ด้านการเรียนรู้ของทีม (Team Learning) 5) ด้านการสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflective Dialogue) 6) ด้านการเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพ (Professional Learning and Development) 7) ด้านชุมชนกัลยาณมิตร (Caring Community) 8) ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน (Supportive Structure) และ 9)ด้านการเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน (Expert Advice and Study Visit) และผลจากการสังเคราะห์การสอบถามความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ประกอบด้วย1)ด้านวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) 2) ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน (Supportive Structure) 3) ด้านการร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) 4) ด้านการเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน (Expert Advice and Study Visit) และ 5) ด้านการเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพ (Professional Learning and Development) และ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการสอบถามความคิดเห็นครูผู้สอนโรงเรียนท่าศาลา ได้แก่ 1)ด้านวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 100 2) ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน (Supportive Structure) จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 3) ด้านการร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 4) ด้านการเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน (Expert Advice and Study Visit) จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33 และ 5) ด้านการเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพ (Professional Learning and Development) จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00
2. นำเสนอชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา พบว่า ความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นด้วยว่ามีความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา และคู่มือการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา มีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 100 และจากการสังเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีของด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การสังเคราะห์การสอบถามความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ข้อสรุป ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา 5 ด้าน เรียกว่า “SCEPS” โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) 2) การร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) 3) การเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน (Expert Advice and Study Visit) 4) การเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพ (Professional Learning and Development 5) โครงสร้างสนับสนุนชุมชน (Supportive Structure)
     3. ผลการทดลองใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา พบว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา จำแนกรายด้าน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับสูงสุด ได้แก่ การเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ โครงสร้างสนับสนุนชุมชน อยู่ในระดับมาก วิสัยทัศน์ร่วม อยู่ในระดับมาก และลำดับต่ำสุดได้แก่ การร่วมมือร่วมพลังและการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ อยู่ในระดับมาก และ ผลการการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลาจำแนก รายด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับสูงสุด ได้แก่ ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ส่งเสริมเจตคติต่อการวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมาก และลำดับต่ำสุดได้แก่ ส่งเสริมทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียน
    4.ผลการประเมินชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา พบว่า ผลการประเมิน จำแนกรายด้าน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับสูงสุด ได้แก่ ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับต่ำสุดได้แก่ ความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^