ผลการพัฒนาความสามารถในการเรียนสาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นม
โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระภูมิศาสตร์
ผู้รายงาน นางสาวพรนิภา สมาเอ็ม
โรงเรียนบางชัน(ปลื้มวิทยานุสรณ์) สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนสาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ปัญหาที่เกิดกับผู้เรียนคือ นักเรียนขาดความสนใจ และขาดความกระตือรือร้นในบทเรียน ผู้รายงานจึงสนใจที่จะพัฒนาความสามารถในการเรียนสาระภูมิศาสตร์ การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนสาระภูมิศาสตร์ที่เรียนโดยหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์) สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ที่มีต่อการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม สาระภูมิศาสตร์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์) สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้คือ (1) หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระภูมิศาสตร์ จำนวน 5 เล่ม (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (3) แผนการจัดการเรียนรู้ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระภูมิศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t – test
ผลการวิเคราะห์ พบว่า (1) หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระภูมิศาสตร์ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้ง (2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม สาระภูมิศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 มีความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระภูมิศาสตร์อยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้