รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคนิคการเป
การเป่าขลุ่ยเพียงออ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษา นายประเสริฐ สุริยะ
หน่วยงาน โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร (เทศบาลบ้านพระเนตร) เทศบาลเมืองน่าน
จังหวัดน่าน
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคนิคการเป่าขลุ่ยเพียงออ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี)ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคนิคการเป่าขลุ่ยเพียงออ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคนิคการเป่าขลุ่ยเพียงออ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคนิคการเป่าขลุ่ยเพียงออ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร(เทศบาลบ้านพระเนตร) เทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคนิคการเป่าขลุ่ยเพียงออ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.25 – 0.78 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.210–0.758 และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคนิคการเป่าขลุ่ยเพียงออ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 13 ข้อ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคนิคการเป่าขลุ่ยเพียงออ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 87.51/85.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ 87.51/85.56 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคนิคการเป่าขลุ่ยเพียงออ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.55)