LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทานพื้นบ้าน ฯ

usericon

คำแนะนำการใช้สำหรับครู

    
เพื่อให้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทานพื้นบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียนเกิดประโยชน์กับนักเรียนสูงสุด ครูผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้
๑. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทานพื้นบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน มีทั้งหมด ๑๐ เล่ม ใช้ในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ชั่วโมงภาษาไทยหรืออาจจะสอนซ่อมเสริม นอกเวลาก็ได้ โดยให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกทักษะเป็นรายบุคคล
๒. ชี้แจงให้นักเรียนทราบตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการในแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทานพื้นบ้านไทย
๓. แนะนำให้นักเรียนอ่านและปฏิบัติตามบทบาทของนักเรียนตามลำดับขั้นตอนโดยครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา
๔. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้พื้นฐานของนักเรียน
๕. กรณีนักเรียนคนใดยังทำกิจกรรมไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด ให้นำไปทำเป็นการบ้าน โดยครูและผู้ปกครองร่วมมือกันคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
๖. นักเรียนที่ขาดเรียนในวันที่ทำแบบฝึกทักษะ ครูต้องให้นักเรียนทำกิจกรรมจนครบทุกกิจกรรมและในกรณีที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด ครูสอนซ่อมเสริมเป็นรายบุคคลอีกครั้งหนึ่ง
๗. ในการทำกิจกรรม ครูควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากที่สุดในการตรวจแบบฝึกทักษะด้วยตนเองหรือสลับเปลี่ยนกับสมาชิกในห้องเรียนและการเปรียบเทียบพัฒนาการของตนเอง จากนั้นครูตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขเมื่อพบข้อบกพร่องเป็นรายบุคคลทันที พร้อมทั้งบันทึกผลคะแนนทุกครั้ง ทุกกิจกรรมเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียน
๘. หากนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จก่อนเวลาที่กำหนด ครูควรให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากสื่อการเรียนอื่น เช่น ความรู้จากอินเตอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น



คำแนะนำการใช้สำหรับนักเรียน
    

    การเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทานพื้นบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เล่มนี้ เป็นเล่มที่ ๑ นิทานพื้นบ้านไทย นักเรียนควรปฏิบัติดังนี้
๑. ศึกษาแบบฝึกทักษะเล่มนี้ ใช้เวลา ๓ ชั่วโมง
๒. ศึกษาทำความเข้าใจตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ของแบบฝึกทักษะการอ่าน จับใจความสำคัญจากนิทานพื้นบ้านไทย
๓. ปฏิบัติกิจกรรมในแบบฝึกทักษะตามขั้นตอนด้วยตนเองตามกิจกรรมที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดและด้วยความตั้งใจ หากพบปัญหาให้สอบถามครูผู้สอน
๔. บทบาทของนักเรียน
๔.๑ ก่อนทำกิจกรรมแบบฝึกทักษะ นักเรียนควรทำแบบทดสอบก่อนเรียน
๔.๒ ศึกษาเนื้อหาสาระการเรียนรู้จากสาระน่ารู้และอ่านนิทานพื้นบ้านไทยอย่างละเอียดให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
๔.๓ ทำกิจกรรมให้ครบทุกกิจกรรมด้วยความตั้งใจ รอบคอบและซื่อสัตย์ ต่อตนเองด้วยการไม่เปิดดูเฉลยขณะทำกิจกรรม
๔.๔ นักเรียนร่วมกันตรวจคำตอบของแต่ละกิจกรรมในแบบฝึกทักษะ จากเฉลย
๔.๕ ไม่ขูด ลบ ขีด ฆ่า ให้แบบฝึกทักษะสกปรก
๔.๖ ตรวจสอบผลการเรียนด้วยการทำแบบทดสอบหลังเรียน







สาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด


สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
ตัวชี้วัด
ป.๖/๒ อธิบายความหมายของคำ ประโยคและข้อความที่เป็นโวหาร
ป.๖/๓ อ่านเรื่องสั้น ๆ อย่างหลากหลายโดยจับเวลาแล้วถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
ป.๖/๔ แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน
ป.๖/๕ อธิบายการนำความรู้และความคิดจากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหา
ในการดำเนินชีวิต

สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความและเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
ป.๖/๓ เขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน









แผนภูมิลำดับขั้นตอนการเรียนรู้จากแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
จากนิทานพื้นบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน เล่มที่ ๑ นิทานพื้นบ้านไทย


อ่านคำแนะนำ / คำชี้แจงสำหรับนักเรียนให้เข้าใจ



ตัวชี้วัด


ทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความรู้พื้นฐาน


ศึกษาเนื้อหา สาระจากแบบฝึกทักษะในแต่ละเล่ม


ฝึกทักษะจากแบบฝึกทักษะในแต่ละเล่มไปตามลำดับ


ทดสอบหลังเรียนเพื่อวัดการพัฒนา



ผ่านเกณฑ์                    ไม่ผ่านเกณฑ์



แบบทดสอบก่อนเรียน การอ่านจับใจความสำคัญจากนิทานพื้นบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน
เล่มที่ ๑ นิทานพื้นบ้านไทย

คำชี้แจง
๑. แบบทดสอบชุดนี้เป็นแบบทดสอบก่อนเรียน นิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง ตาอินกับ ตานา มีทั้งหมด ๑๐ ข้อ เป็นแบบเลือกตอบ จำนวน ๔ ตัวเลือก ได้แก่ ก ข ค และ ง แต่ละข้อให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วทำเครื่องหมาย × ลงในกระดาษคำตอบ
๒. นักเรียนมีเวลาในการทำแบบทดสอบ ๑๐ นาที
๓. ตัวอย่างคำตอบและวิธีตอบ
๓.๑ ตัวอย่างคำถาม
๐) ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับใจความสำคัญ
ก. เป็นสาระสำคัญของข้อความหรือเรื่องที่อ่าน
ข. เป็นข้อความสำคัญและเด่นที่สุดในย่อหน้า
ค. เป็นรายละเอียดของข้อความหรือเรื่องที่อ่าน
ง. เป็นแก่นของย่อหน้าที่สามารถครอบคลุมเนื้อความอื่น ๆ
๓.๒ วิธีตอบ
        ถ้านักเรียนคิดว่าตัวเลือก ค เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย × ลงในกระดาษคำตอบในช่อง ค ดังนี้
    ตัวอย่างกระดาษคำตอบ
ข้อ    ก    ข    ค    ง    จ
๐            ×        

        หากนักเรียนต้องการเปลี่ยนคำตอบใหม่เป็นข้อ ข ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย
× ทับข้อความเดิม แล้วทำเครื่องหมาย × ลงในกระดาษในช่อง ข ดังนี้
ข้อ    ก    ข    ค    ง    จ
๐        ×    ×
    

๑. ข้อใดคือสาระสำคัญของการอ่านจับใจความสำคัญ
ก. อ่านเพื่อความรู้    
ข. อ่านเพื่อความบันเทิง
ค. อ่านเพื่อหาสาระสำคัญของเรื่อง
ง. อ่านเพื่อค้นหาแนวทางในการดำเนินชีวิต

๒. ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการอ่านจับใจความสำคัญ
ก. อ่านเพื่อย่อเรื่องสรุปเรื่อง    
ข. อ่านเพื่อสามารถจำคำประพันธ์ชนิดต่าง ๆ ได้
ค. อ่านเพื่อสามารถปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำได้
ง. อ่านเพื่อสามารถคาดการณ์ และหาความจริง แสดงข้อคิดเห็นได้

๓. บุคคลในข้อใดไม่ได้ปฏิบัติตามหลักในการอ่านจับใจความสำคัญ
ก. นิดยืมหนังสือจากห้องสมุดมาทำรายงาน โดยยังไม่มีหัวข้อในการทำงาน
ข. หน่อยอ่านเรื่องขุนช้างขุนแผนจบแล้ว จึงเขียนสรุปใจความสำคัญของเรื่อง
เป็นสำนวนของตนเอง
ค. โหน่งอ่านเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนศึกไมยราพ จบ เธอก็ตั้งคำถามตนเองว่า
ใคร ทำ อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร
ง. นิ่มอ่านเรื่องเที่ยวตลาดน้ำ แล้วหาใจความสำคัญในแต่ละย่อหน้าทุกครั้ง

๔. ประโยคใจความสำคัญ หมายถึงอะไร
        ก. ประโยคตอนต้นของเรื่อง
        ข. ประโยคตอนท้ายของเรื่อง            
        ค. ประโยคบอกที่มาของเรื่อง
        ง. ประโยคที่สรุปเรื่องนั้นไว้ทั้งหมด


๕. ข้อใดเป็นข้อคิดเห็น
        ก. คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้    
        ข. ต้นสนขึ้นเรียงรายชายหาดบางแสน
        ค. ต้นไม้นอกจากจะช่วยให้ความชุ่มชื้นยังช่วยป้องกันลมได้ด้วย
        ง. วันหนึ่ง ๆ เราควรดื่มน้ำวันละ ๖ - ๘ แก้ว จะช่วยให้ผิวหนังเต่งตึง

๖. ข้อใดเป็นข้อเท็จจริง
        ก. วันนี้อากาศครึ้มฝนคงจะตก        
        ข. การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด
        ค. การตื่นนอนแต่เช้าถือว่าเป็นกำไรของชีวิต
        ง. จังหวัดหนองคายมีพรมแดนติดกับประเทศลาว

อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม ข้อ ๗ – ๑๐

คนไทยทุกคน มีหน้าที่จะต้องช่วยกันรักษาผืนแผ่นดินไทย ทรัพยากร สถาบันและเอกลักษณ์ทุกอย่างที่แสดงความเป็นไทย เพื่อให้ชาติไทยคงอยู่ตลอดไป สถาบันหลักหรือสถาบันสำคัญที่เราต้องเคารพและจงรักภักดีคือ ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์เพราะสถาบันทั้งสามนี้เป็นสถาบันที่แสดงถึงความ มั่นคงของประเทศชาติ


๗. ข้อความนี้กล่าวถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
ก. ชาวไทย
ข. ชาติไทย
ค. อาหารไทย
ง. วัฒนธรรมไทย


๘. หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของชาวไทยคือสิ่งใด
ก. ทำอาหารไทยได้อร่อย
ข. ช่วยกันรักษาผืนแผ่นดินไทย
ค. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
ง. พูดภาษาไทยให้ถูกต้องชัดเจน

๙. สถาบันที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติไทยคือสถาบันใด
ก. วัด
ข. รัฐบาล
ค. ครอบครัว
ง. พระมหากษัตริย์

๑๐. เอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นคนไทยคือข้อใด
ก. ขนมไทย
ข. ภาษาไทย
ค. อาหารไทย
ง. ผ้าไหมไทย


ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเสร็จแล้ว
เรามาเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ






สาระน่ารู้
เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ


ความหมาย










         หลักการอ่านจับใจความสำคัญ












วิธีจับใจความสำคัญ

วิธีการจับใจความสำคัญมีหลายอย่างขึ้นอยู่กับความชอบว่าอย่างไร เช่น การขีดเส้น การใช้สีต่าง ๆ กันแสดงความสำคัญมากน้อยของข้อความ การบันทึกย่อเป็นส่วนหนึ่งของ การอ่านจับใจความสำคัญที่ดีแต่ผู้ที่ย่อควรย่อด้วยสำนวนภาษาและสำนวนของตนเอง ไม่ควรย่อด้วยการตัดเอาข้อความสำคัญมาเรียงต่อกันเพราะอาจทำให้ผู้อ่านพลาดสาระสำคัญ บางตอนไปอันเป็นเหตุให้การตีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ วิธีจับใจความสำคัญมีหลักดังนี้
๑. พิจารณาทีละย่อหน้า หาประโยคใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้า
๒. ตัดส่วนที่เป็นรายละเอียดออกได้ เช่น ตัวอย่าง สำนวนโวหาร อุปมาอุปไมย (การเปรียบเทียบ) ตัวเลข สถิติ ตลอดจนคำถามหรือคำพูดของผู้เขียนซึ่งเป็นส่วนขยายใจความ สำคัญ
๓. สรุปใจความสำคัญด้วยสำนวนภาษาของตนเอง

การพิจารณาตำแหน่งใจความสำคัญ

ใจความสำคัญของข้อความในแต่ละย่อหน้าจะปรากฏดังนี้
๑.    ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนต้นของย่อหน้า
    ๒. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนกลางของย่อหน้า
๓. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนท้ายของย่อหน้า
๔. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนต้นและตอนท้ายของย่อหน้า
๕. ผู้อ่านสรุปขึ้นเอง จากการอ่านทั้งย่อหน้า (ในกรณีใจความสำคัญหรือ
ความคิดสำคัญอาจอยู่รวมในความคิดย่อย ๆ โดยไม่มีความคิดที่เป็นประโยคหลัก)





ตัวอย่าง การอ่านจับใจความสำคัญ






ใจความสำคัญ คือ การกินอย่างรู้ค่าจะช่วยให้เราสุขภาพดีได้


สรุป


๑.    อ่านเรื่องราวทั้งหมดให้เข้าใจและจับประเด็นสำคัญ
๒.    ทบทวนเรื่องโดยการตั้งคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไรและทำไม (ผลเป็นอย่างไร)
๓.    นำคำตอบของแต่ละคำถามมาเรียบเรียงใจความสำคัญใหม่ให้มีความสัมพันธ์ ด้วยสำนวนภาษาของตนเอง



อ่านนิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง ตาอินกับตานา
แล้วทำกิจกรรมกันดู.....ว่าเข้าใจกัน
หรือเปล่า













    

























    




                



























































































































คำศัพท์น่ารู้
                    
คำ    ความหมาย
แยกย้าย    แยกกันไปคนละทาง
สวิง    เครื่องช้อนปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นร่างแห ลักษณะเป็นถุงมักใช้ไม้หรือหวายทำเป็นขอบปาก
ช้อน (ก)    ตักเอาสิ่งที่อยู่ในน้ำหรือในของเหลว
โต้เถียง    เถียงกันไปมา
ยื้อแย่ง    แย่งกัน
อ้อนวอน     พยายามพูดขอร้อง
ข้อโต้แย้ง    ข้อความตอนหนึ่งที่แสดงความเห็นแย้งกัน
สัญญา    ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่าย
ตามประสา    ตามธรรมชาติ
ปรึกษา    หารือ, ขอความคิดเห็น, ขอคำแนะนำ







กิจกรรมที่ ๑ คำศัพท์น่ารู้และความหมายของคำ
คำชี้แจง นักเรียนโยงเส้นคำศัพท์ตรงกับความหมาย


ตัวอย่าง    ปกติ    ฎ. เป็นไปตามเคย
        ฑ. ตามธรรมชาติ


๑. แยกย้าย    ก. เครื่องช้อนปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นร่างแห
ลักษณะเป็นถุงมักใช้ไม้หรือหวายทำเป็นขอบปาก

๒. สวิง    ข. ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่าย     

๓. ช้อน (ก)     ค. แยกกันไปคนละทาง    
    
๔. โต้เถียง    ง. เถียงกันไปมา

๕. สัญญา    จ. ตักเอาสิ่งที่อยู่ในน้ำหรือในของเหลว

๖. ยื้อแย่ง    ฉ. พยายามพูดขอร้อง
    
๗. อ้อนวอน     ช. ลงความเห็นชี้ขาด

๘. ข้อโต้แย้ง     ซ. หารือ, ขอความเห็นแนะนำ, พิจารณาหารือกัน
    
๙. ตัดสิน    ฌ. แย่งกัน

๑๐. ปรึกษา     ญ. ข้อความตอนหนึ่งที่แสดงความเห็นแย้งกัน

กิจกรรมที่ ๒ บอกความหมายและแต่งประโยค
    คำชี้แจง นักเรียนอธิบายความหมายของคำตามความเข้าใจของนักเรียน
พร้อมแต่งประโยค


ตัวอย่าง    ๐. คำ      = แยกย้าย
             ความหมาย = ต่างคนต่างไปคนละทาง
             ประโยค     = ทุกคนต่างแยกย้ายกันไปทำงาน

๑.     คำ         = ตามประสา
    ความหมาย    = ................................................................................................
    ประโยค        = ................................................................................................

๒.     คำ         = ตัดสิน
    ความหมาย    = ................................................................................................    ประโยค        = ................................................................................................

๓.     คำ         = โต้เถียง
    ความหมาย    = ................................................................................................
    ประโยค        = ................................................................................................

๔.     คำ         = ปรึกษา
    ความหมาย    = ........................................... ....................................................
    ประโยค        = ................................................................................................

๕.     คำ         = สัญญา
    ความหมาย    = ................................................................................................
    ประโยค        = ................................................................................................




สาระน่ารู้
เรื่อง การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น

ความหมาย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๔ : ๓๙๔ และ ๔๐๗) ให้ความหมายข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นไว้ว่า
“ข้อเท็จจริง” หมายถึง ข้อความหรือเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามจริง เรื่องหรือประเด็นที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ พฤติกรรม หรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้น ที่มีอยู่ หรือที่เป็นไปที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง
“ข้อคิดเห็น” หมายถึง ความเห็น ความรู้สึกนึกคิดของผู้ส่งสารที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหาอาจกล่าวได้ว่า
ข้อเท็จจริง นั้นต้องสามารถพิสูจน์สนับสนุนยืนยันได้
ข้อคิดเห็น นั้นไม่สามารถสนับสนุนยืนยันได้

ลักษณะของข้อเท็จจริง

๑. มีความเป็นไปได้
๒. มีความสมจริง
๓. มีหลักฐานเชื่อถือได้
๔. มีความสมเหตุสมผล

ลักษณะของข้อคิดเห็น

๑. เป็นข้อความที่แสดงความรู้สึก
๒. เป็นข้อความที่แสดงการคาดคะเน
๓. เป็นข้อความที่แสดงการเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมย

ตัวอย่างข้อความที่เป็นข้อเท็จจริง

๑. กตเวที หมายถึง สนองคุณท่าน (พิสูจน์ได้โดยค้นความหมายจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)
๒. ดวงตาเป็นอวัยวะที่ทำให้มองเห็น (พิสูจน์ได้ด้วยหลักวิชาการ)
๓. ทุกคนหนีไม่พ้นความตาย (พิสูจน์ได้จากประสบการณ์)


ตัวอย่างข้อความที่เป็นข้อคิดเห็น

๑. การปกครองในระบอบประชาธิปไตยดีทีสุด (ไม่มีข้อวินิจฉัย)
๒. คนเรียนเก่งย่อมประสบผลสำเร็จในชีวิตเสมอ (ไม่มีข้อยืนยัน)
๓. การรับประทานแต่ผักไม่น่าจะเป็นผลดีต่อร่างกาย (ไม่มีข้อยืนยัน)














    กิจกรรมที่ ๓ ตอบคำถาม
    คำชี้แจง นักเรียนอ่านนิทานเรื่อง ตาอินกับตานา ภายในเวลา ๑๐ นาที
แล้วทำเครื่องหมาย × ทับตัวอักษรหน้าข้อความที่ถูกต้องที่สุด


ตัวอย่าง     ๐. แยกย้าย หมายถึงข้อใด
ก. เป็นไปตามธรรมชาติ
ข. แยกกันไปคนละทาง
ค. เถียงกันไปมา
ง. ดักเอาสิ่งที่อยู่ในน้ำ

๑. ตัวละครในเรื่องกล่าวถึงใคร
ก. ตาอิน
ข. ตานา
ค. ตาอยู่
ง. ถูกทุกข้อ

๒. เกิดอะไรขึ้นระหว่างตาอินกับตานา
ก. ตาอินกับตานาออกไปหาปลา ตกลงจะแบ่งปลากันไม่ได้จึงให้ตาอยู่ช่วย
แบ่งปลา
ข. ตาอินกับตานาออกไปหาปลา ตกลงจะแบ่งปลากันได้และจะแบ่งให้ตาอยู่
ด้วย
ค. ตาอินกับตานาแบ่งปลาให้ตาอยู่ด้วย เพราะออกไปหาปลาด้วยกัน
ง. ตาอินกับตานาแยกกันไปหาปลา เมื่อได้ปลามาแล้วแบ่งกันคนละครึ่ง



๓. ผลจากการแบ่งปลาเป็นอย่างไร
ก. ตาอินกับตานาแบ่งปลาคนละครึ่งเท่า ๆ กัน
ข. แบ่งปลาแล้วตาอินได้ส่วนหัว ตานาได้ส่วนหาง
ค. แบ่งปลาแล้วตาอินได้ส่วนกลาง ตานาได้ส่วนหัว
ง. ตาอยู่แบ่งปลาเอาส่วนกลางไป

๔. เรื่องนี้ให้คุณค่าด้านใด
ก. ความซื่อสัตย์
ข. ความอดทน
ค. การรู้จักแบ่งปัน
ง. การประหยัด อดออม

๕. ข้อใดเป็นข้อเท็จจริง
ก. ตาอินกับตานาน่าจะหาปลาด้วยกัน
ข. ตาอินกับตานาแบ่งปลากันไม่ได้
ค. ตาอยู่ควรแบ่งปลาเป็น ๒ ส่วน
ง. ตาอยู่น่าจะช่วยตาอินกับตานาหาปลา

๖. ข้อใดเป็นข้อคิดเห็น
ก. ตาอินกับตานาเป็นเพื่อนกัน
ข. ตาอินกับตานาแยกย้ายกันหาปลา
ค. ตาอินกับตานาน่าจะตกลงแบ่งปลากันได้
ง. ตาอินกับตานาให้ตาอยู่ช่วยแบ่งปลา




๗. ข้อใดเป็นข้อเท็จจริง
ก. ตาอยู่กินผักบุ้งแล้วทำให้ตาหวาน
ข. ตาอินกับตานาไม่ควรทะเลาะเบาะแว้งกัน
ค. ตาอินชอบออกหาปลาน้ำตื้น ตานาชอบหาปลาน้ำลึก
ง. ตาอิน ตานาและตาอยู่เป็นเพื่อนรักกันเพราะบ้านอยู่ใกล้กัน

๘. ข้อใดเป็นข้อคิดเห็น
ก. เชียงใหม่มีภูมิประเทศที่น่าอยู่
ข. เชียงใหม่เป็นจังหวัดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย
ค. เจนวิทย์เป็นนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘
ง. เมื่อราคาข้าวตกต่ำจะทำให้ชาวนาเดือดร้อน

๙. ข้อใดเป็นข้อเท็จจริง
ก. ปลาวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ข. ผู้หญิงส่วนใหญ่แต่งกายทันสมัยและสวยงาม
ค. รายการโทรทัศน์ช่องนี้เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย
ง. การเดินทางด้วยรถไฟน่าจะเป็นการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด

๑๐. นิทานเรื่องนี้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องใด
ก. การหาปลาเป็นอาชีพสุจริต
ข. เมื่อมีปัญหา ให้ผู้อื่นช่วยแก้ปัญหา
ค. การรู้จักแบ่งปัน มีน้ำใจต่อกันเป็นสิ่งที่ดี
ง. ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น




กิจกรรมที่ ๔ ลำดับเหตุการณ์
คำชี้แจง นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์จากนิทานเรื่อง ตาอินกับตานา
ให้ถูกต้อง


ตัวอย่าง     ............................ ๐. ตาอินหาปลาน้ำตื้นส่วนตาอินหาปลาน้ำลึก

....................๑. อยู่มาวันหนึ่ง
....................๒. แต่เมื่อหาปลามาได้ตัวเดียว
....................๓. ตาอินกับตานาเป็นเพื่อนกัน
....................๔. ตาอินกับตานาจะตกลงกันใหม่ว่าจะแบ่งปันกัน
....................๕. ตาอินกับตานาแยกย้ายกันหาปลา
....................๖. ตาอยู่ได้ปลาส่วนกลางไปทั้งที่ไม่ได้เป็นคนหา
....................๗. เมื่อออกหาปลามาได้ทั้งสองจะแบ่งปันกัน
....................๘. ตาอินกับตานาตกลงแบ่งปลากันไม่ได้
....................๙. ตาอินกับตานาสัญญาว่าจะแบ่งปลากันเหมือนเดิม
....................๑๐. ตาอยู่เพื่อนบ้านเป็นคนตัดสินการแบ่งปลา
กิจกรรมที่ ๕ จับใจความสำคัญ
คำชี้แจง นักเรียนจับใจความสำคัญจากนิทานเรื่อง ตาอินกับตานา
ด้วยสำนวนภาษาของตนเอง







๑.    เรื่องนี้กล่าวถึงใคร
......................................................................................................................
๒.    ทำอะไร
......................................................................................................................
......................................................................................................................
......................................................................................................................
๓.    ที่ไหน
......................................................................................................................
๔.    อย่างไร
......................................................................................................................
......................................................................................................................
......................................................................................................................
๕.    เมื่อไร
......................................................................................................................
๖.    ผลเป็นอย่างไร
............................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................



สาระน่ารู้
เรื่อง การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง

ความหมาย
การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง เป็นการเขียนที่แสดงให้เห็นโครงเรื่องโดยรวมทั้งเรื่อง ทำให้จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ดียิ่งขึ้นการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ต้องอาศัย การตั้งคำถามและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านว่า ตัวละครในเรื่องมีใครบ้าง สถานที่เกิดเหตุการณ์คือที่ไหน มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ผลของเหตุการณ์นั้นคืออะไร



ตัวอย่าง การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง


เรื่อง กากับสุนัขจิ้งจอกเจ้าเล่ห์

อีกาตัวหนึ่งกำลังหิว มันจึงบินออกหาอาหารมันเหลือบไปเห็นเนื้อชิ้นหนึ่งหล่นอยู่ มันจึงใช้ปากคาบเนื้อชิ้นนั้นขึ้นมา แล้วบินไปเกาะที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเดินผ่านมาเห็นอีกาคาบเนื้ออยู่ในปาก มันอยากกินเนื้อชิ้นนั้นมันจึงเอ่ยปากทักอีกาว่า "สวัสดีครับคุณกา คุณช่างสง่างามอะไรอย่างนี้ ขนของคุณก็ดูสวยงามมาก" อีการู้สึกชอบใจมาก มันมองดูขนของตัวเองอย่างภูมิใจ สุนัขจิ้งจอกจึงพูดต่อไปว่า "คุณคงมีเสียงที่ไพเราะมาก คุณคงร้องเพลงเพราะด้วยใช่ไหม" อีการีบผงกหัวรับ "ถ้าอย่างนั้นคุณช่วยร้องเพลงให้ผมฟังสักหน่อยเถิดครับ" อีกาจึงอ้าปากจะร้องเพลง พอมันอ้าปากเนื้อก็หลุดจากปากตกลงที่พื้น สุนัขจิ้งจอกจึงรีบคาบเนื้อชิ้นนั้นแล้ววิ่งหนีไป


แผนภาพโครงเรื่อง ของนิทานเรื่อง กากับสุนัขจิ้งจอกเจ้าเล่ห์
ตัวละครในเรื่อง : อีกาและสุนัขจิ้งจอก
สถานที่ : ต้นไม้ต้นหนึ่ง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น : อีกาซึ่งกำลังคาบเนื้ออยู่ในปาก หลงเชื่อคำพูดของสุนัขจิ้งจอกที่ชมว่า อีกามีเสียงไพเราะ จึงอ้าปากจะร้องเพลงให้สุนัขจิ้งจอกฟัง
ผลของเหตุการณ์ : ทำให้ชิ้นเนื้อที่อีกาคาบมาหล่นจากปาก สุนัขจิ้งจอกจึงมาคาบเนื้อ ไปกินแทน



















กิจกรรมที่ ๖ เขียนแผนภาพโครงเรื่อง
คำชี้แจง นักเรียนเขียนแผนภาพโครงเรื่องในรูปแบบแผนผังความคิด
จากนิทานเรื่อง ตาอินกับตานา
























กิจกรรมที่ ๗ สรุปใจความสำคัญ
คำชี้แจง นักเรียนเขียนสรุปใจความสำคัญจากนิทานเรื่อง ตาอินกับตานา
ด้วยสำนวนภาษาของตัวเอง


ใจความสำคัญ











ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง






จากนิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง ตาอินกับตานา ตรงกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพย



แบบทดสอบหลังเรียน การอ่านจับใจความสำคัญจากนิทานพื้นบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน
เล่มที่ ๑ นิทานพื้นบ้านไทย

คำชี้แจง
๑. แบบทดสอบชุดนี้เป็นแบบทดสอบหลังเรียน นิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง ตาอินกับ ตานา มีทั้งหมด ๑๐ ข้อ เป็นแบบเลือกตอบ จำนวน ๔ ตัวเลือก ได้แก่ ก ข ค และ ง แต่ละข้อให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วทำเครื่องหมาย × ลงในกระดาษคำตอบ
๒. นักเรียนมีเวลาในการทำแบบทดสอบ ๑๐ นาที
๓. ตัวอย่างคำตอบและวิธีตอบ
๓.๑ ตัวอย่างคำถาม
๐) ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับใจความสำคัญ
ก. เป็นสาระสำคัญของข้อความหรือเรื่องที่อ่าน
ข. เป็นข้อความสำคัญและเด่นที่สุดในย่อหน้า
ค. เป็นรายละเอียดของข้อความหรือเรื่องที่อ่าน
ง. เป็นแก่นของย่อหน้าที่สามารถครอบคลุมเนื้อความอื่น ๆ
๓.๒ วิธีตอบ
        ถ้านักเรียนคิดว่าตัวเลือก ค เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย × ลงในกระดาษคำตอบในช่อง ค ดังนี้
    ตัวอย่างกระดาษคำตอบ
ข้อ    ก    ข    ค    ง    จ
๐            ×        

        หากนักเรียนต้องการเปลี่ยนคำตอบใหม่เป็นข้อ ข ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย
× ทับข้อความเดิม แล้วทำเครื่องหมาย × ลงในกระดาษในช่อง ข ดังนี้
ข้อ    ก    ข    ค    ง    จ
๐        ×    ×
    

๑. ประโยคใจความสำคัญ หมายถึงอะไร
        ก. ประโยคตอนต้นของเรื่อง
        ข. ประโยคตอนท้ายของเรื่อง            
        ค. ประโยคบอกที่มาของเรื่อง
        ง. ประโยคที่สรุปเรื่องนั้นไว้ทั้งหมด

๒. บุคคลในข้อใด ไม่ได้ ปฏิบัติตามหลักในการอ่านจับใจความสำคัญ
ก. นิดยืมหนังสือจากห้องสมุดมาทำรายงาน โดยยังไม่มีหัวข้อในการทำงาน
ข. หน่อยอ่านเรื่องขุนช้างขุนแผนจบแล้ว จึงเขียนสรุปใจความสำคัญของเรื่อง
เป็นสำนวนของตนเอง
ค. โหน่งอ่านเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนศึกไมยราพ จบ เธอก็ตั้งคำถามตนเองว่า
ใคร ทำ อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร
ง. นิ่มอ่านเรื่องเที่ยวตลาดน้ำ แล้วหาใจความสำคัญในแต่ละย่อหน้าทุกครั้ง

๓. ข้อใดคือสาระสำคัญของการอ่านจับใจความสำคัญ
ก. อ่านเพื่อความรู้    
ข. อ่านเพื่อความบันเทิง
ค. อ่านเพื่อหาสาระสำคัญของเรื่อง
ง. อ่านเพื่อค้นหาแนวทางในการดำเนินชีวิต

๔. ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการอ่านจับใจความสำคัญ
ก. อ่านเพื่อย่อเรื่องสรุปเรื่อง    
ข. อ่านเพื่อสามารถจำคำประพันธ์ชนิดต่าง ๆ ได้
ค. อ่านเพื่อสามารถปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำได้
ง. อ่านเพื่อสามารถคาดการณ์ และหาความจริง แสดงข้อคิดเห็นได้



อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม ข้อ ๕ – ๘

คนไทยทุกคน มีหน้าที่จะต้องช่วยกันรักษาผืนแผ่นดินไทย ทรัพยากร สถาบันและเอกลักษณ์ทุกอย่างที่แสดงความเป็นไทย เพื่อให้ชาติไทยคงอยู่ตลอดไป สถาบันหลักหรือสถาบันสำคัญที่เราต้องเคารพและจงรักภักดีคือ ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์เพราะสถาบันทั้งสามนี้เป็นสถาบันที่แสดงถึงความ มั่นคงของประเทศชาติ

๕. ข้อความนี้กล่าวถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
ก. ชาวไทย
ข. ชาติไทย
ค. อาหารไทย
ง. วัฒนธรรมไทย

๖. สถาบันที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติไทยคือสถาบันใด
ก. วัด
ข. รัฐบาล
ค. ครอบครัว
ง. พระมหากษัตริย์

๗. เอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นคนไทยคือข้อใด
ก. ขนมไทย
ข. ภาษาไทย
ค. อาหารไทย
ง. ผ้าไหมไทย



๘. หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของชาวไทยคือสิ่งใด
ก. ทำอาหารไทยได้อร่อย
ข. ช่วยกันรักษาผืนแผ่นดินไทย
ค. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
ง. พูดภาษาไทยให้ถูกต้องชัดเจน

๙. ข้อใดเป็นข้อเท็จจริง
        ก. วันนี้อากาศครึ้มฝนคงจะตก        
        ข. การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด
        ค. การตื่นนอนแต่เช้าถือว่าเป็นกำไรของชีวิต
        ง. จังหวัดหนองคายมีพรมแดนติดกับประเทศลาว

๑๐. ข้อใดเป็นข้อคิดเห็น
        ก. คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้    
        ข. ต้นสนขึ้นเรียงรายชายหาดบางแสน
        ค. ต้นไม้นอกจากจะช่วยให้ความชุ่มชื้นยังช่วยป้องกันลมได้ด้วย
        ง. วันหนึ่ง ๆ เราควรดื่มน้ำวันละ ๖ - ๘ แก้ว จะช่วยให้ผิวหนังเต่งตึง












ภาคผนวก



แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
จากนิทานพื้นบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน
เล่มที่ ๑ นิทานพื้นบ้านไทย

 เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน
                 เฉลยกิจกรรมที่ ๑
                 เฉลยกิจกรรมที่ ๒
                 เฉลยกิจกรรมที่ ๓
                 เฉลยกิจกรรมที่ ๔
                 เฉลยกิจกรรมที่ ๕
                 เฉลยกิจกรรมที่ ๖
 เฉลยกิจกรรมที่ ๗
 เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน





เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน

ข้อที่    คำตอบ
๑    ค
๒    ข
๓    ก
๔    ง
๕    ก
๖    ง
๗    ข
๘    ข
๙    ง
๑๐    ก











กิจกรรมที่ ๑ คำศัพท์น่ารู้และความหมายของคำ

ข้อที่    คำตอบ
๑    ค
๒    ก
๓    จ
๔    ง
๕    ข
๖    ฌ
๗    ฉ
๘    ญ
๙    ช
๑๐    ซ










กิจกรรมที่ ๒ บอกความหมายและแต่งประโยค

๑.     คำ         = ตามประสา
    ความหมาย    = ตามธรรมชาติ
    ประโยค        = อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน
                 ตัวอย่างเช่น เมื่อพ่อกับแม่เสียชีวิตเราก็อยู่กันตามประสาพี่น้อง

๒.     คำ         = ตัดสิน
    ความหมาย    = ลงความเห็นชี้ขาด
    ประโยค        = อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน
                 ตัวอย่างเช่น ศาลตัดสินให้นักโทษจำคุกเป็นเวลา ๒ ปี

๓.     คำ         = โต้เถียง
    ความหมาย    = เถียงกันไปมา
    ประโยค        = อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน
                 ตัวอย่างเช่น พี่น้องคู่นี้โต้เ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^