LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรูัภาษาอังกฤษ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรูภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสาร
ในการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย    ศิริพร สุยะวงค์
ปีที่วิจัย          ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติและความต้องการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียน ดังนี้ 3.1) ศึกษาความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เรียนรู้ตามรูปแบบในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ 3.2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการเรียนรู้ตามรูปแบบ 3.3) เปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นกับนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบปกติ กลุ่มทดลองใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 66 คน ใช้จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และใช้จัดการเรียนรู้แบบปกติ รวมนักเรียน 66 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบทดสอบความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษของนักเรียน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนและการใช้ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ 5) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 6) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 7) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 10 แผน รวมเวลา 60 ชั่วโมง และ 8) แบบทดสอบวัดทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ จำนวน 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติ t-test (Dependent Samples) และ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพการปฏิบัติและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า สภาพการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนยังไม่ได้เน้นให้ความสำคัญในการเสริมสร้างทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จ และสามารถสื่อสารผ่านการฟังและการพูดในสถานการณ์จริงเท่าที่ควร อีกทั้งยังไม่มีการจัดการเรียนรู้ในบริบทการฝึก ปฏิบัติเสริมสร้างการฟังและการพูดในชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลในการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารด้านการฟังและการพูดที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นเงื่อนไขความต้องการที่จะพัฒนา ผู้เรียนด้านทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนให้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น 2. ผลการพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการสื่อสารด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน พบว่า แนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้สนับสนุนการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐานของรูปแบบการสอน 1) รูปแบบเรียนรูแบบมุ่งประสบการณ 2. รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3. รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยนำมาสังเคราะห์ประกอบการสร้างรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ และมีองค์ประกอบของรูปแบบ ได้แก่ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) หลักการตอบสนอง 5) ระบบสนับสนุน และ 6) การวัดและประเมินผล และรูปแบบมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวนประสบการณ์เดิม ขั้นที่ 2 ขั้นเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ขั้นที่ 3 ขั้นระดมสมองและแลกเปลี่ยนความรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปความรู้ ขั้นที่ 5 ขั้นการฝึกปฏิบัติ ขั้นที่ 6 ขั้นทดสอบความรู้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และขั้นที่ 7 ขั้นการมอบรางวัล และมีผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก รวมทั้งปรากฏผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ของการวิเคราะห์จากคะแนนประเมินทักษะการฟังและการพูดของนักเรียนเท่ากับ 75.82/75.24 3. ผลการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียนไปใช้ พบว่า 1) ความสามารถด้านการฟังของนักเรียน ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 48.44, 57.45, 66.56 และ 74.65 และผลการทดสอบความสามารถด้านทักษะการพูดในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 58.24, 63.78, 67.32 และ 78.54 ตามลำดับ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบมีคะแนนการฟังและการพูดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบมีทักษะการฟังและการพูดหลังเรียน สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่จัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^