LASTEST NEWS

06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่

รายงานโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวัน

usericon

รายงานโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวัน โรงเรียนบ้านแม่คะตวนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่คะตวน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ปีการศึกษา 2560 ในด้านบริบท(Context Evaluation) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ(Process Evaluation) และด้านผลผลิต(Product Evaluation) โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (อ้างในระพินทร์ โพธิ์ศรี,2551 : 10) และเพิ่มผลสะท้อนหรือความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ที่มีต่อโครงการนี้ ซึ่งมีประชากรที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยครู จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 42 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 รวม 42 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบศึกษาเอกสาร และแบบสอบถามโดยผู้ประเมินสร้างขึ้นและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบศึกษาเอกสาร ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาคาเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากแบบสอบถามนำเสนอในรูปตารางพร้อมคำอธิบายประกอบ

สรุปผลการศึกษา

    จากการรายงานโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่คะตวน
สรุปผล ดังนี้
    1.ด้านบริบทของโครงการ จากการศึกษาเอกสารพบว่าทั้งนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 และนโยบายของโรงเรียนบ้านแม่คะตวน ได้กล่าวถึงนโยบายที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงทั้งสิ้น เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยรายการที่มีระดับการประเมินสูงสุดคือ โครงการมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของชุมชน รองลงมาคือ ผู้บริหารและครูมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการโครงการ และโครงการมีความสอดคล้องกับความเป็นอยู่ของชุมชนและสังคม ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่นช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียนในการดำเนินการตามโครงการ
    2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่มีผลการการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำและให้การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการโครงการเกษตรสู่ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง และผู้บริหารโรงเรียนมีความมุ่งมั่นให้โครงการประสบความสำเร็จ รองลงไปได้แก่ ผู้บริหารมีการกำหนดภาระงานแก่ผู้รับผิดชอบกิจกรรมและผู้บริหารมีความรู้ด้านการบริหารจัดการโครงการเกษตรสู่วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ มีวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินการโครงการเพียงพอ
3. ด้านกระบวนการของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีรายการที่ผลการประเมินอยู่ระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการวางแผนเตรียมการก่อนดำเนินการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม รองลงไป ได้แก่ มีการนำผลการประเมินผลไปปรับปรุงแก้ไขการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป และผู้บริหารมอบหมายงานมีคำสั่งแต่งตั้งบุคลากรรับผิดชอบการดำเนินการแต่ละกิจกรรมของโครงการ ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมในโครงการด้วยความใส่ใจและมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ด้านผลผลิตของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สภาพแวดล้อมโรงเรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่หลากหลาย ,นักเรียนสามารถปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ได้ และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนมีการพัฒนาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้แก่ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
5. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมแต่ละกิจกรรมของโครงการเมื่อสรุปรายงานโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่คะตวน โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน เป็นรายกิจกรรมได้ดังนี้
5.1 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมการปลูกผักสวนครัว เมื่อสรุปรายงานโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่คะตวน โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผลการดำเนินการของกิจกรรมหลังเสร็จสิ้นโครงการ ,สถานที่สำหรับการศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษาก่อนดำเนินการของกิจกรรมในโครงการนี้(ณ ห้วยฮ่องไคร้) และการดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลา ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ มีเอกสาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ประกอบกิจกรรม และการดำเนินการกิจกรรมนี้ควรดำเนินการต่อไป ซึ่งทั้งสองข้อผลการประเมินอยู่ในระดับมากเท่ากัน
5.2 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมการการเลี้ยงไก่ไข่ เมื่อสรุปรายงานโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่คะตวน โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สถานที่สำหรับดำเนินการของกิจกรรม , ครูผู้รับผิดชอบส่วนร่วมในการดำเนินการของกิจกรรมในโครงการ และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมในการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้สูงขึ้น ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ มีเอกสาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ประกอบกิจกรรม
5.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก เมื่อสรุปรายงานโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่คะตวน โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สถานที่สำหรับการศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษาก่อนดำเนินการของกิจกรรมในโครงการนี้ (ณ ห้วยฮ่องไคร้) ,ครูผู้รับผิดชอบมีส่วนร่วมในการดำเนินการของกิจกรรมในโครงการ และการดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลา ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนมีความรู้และทักษะในกิจกรรมนั้นๆรวมทั้งสามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานที่เกิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่อบุคลากรและหน่วยงานอื่น

5.4 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมการเพาะเห็ด เมื่อสรุปรายงานโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่คะตวน โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลา และสถานที่สำหรับการศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษาก่อนดำเนินการของกิจกรรมในโครงการนี้(ณ ห้วยฮ่องไคร้) , ระยะเวลาในการดำเนินการของกิจกรรม และมีเอกสาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ประกอบกิจกรรม ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนมีความรู้และทักษะในกิจกรรมนั้นๆรวมทั้งสามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานที่เกิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่อบุคลากรและหน่วยงานอื่น

สรุปในภาพรวมทั้ง 4 กิจกรรม พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับการประเมินมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมการเพาะเห็ด,กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก และกิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ ตามลำดับ และส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือกิจกรรมปลูกผักสวนครัว และเมื่อพิจารณาภาพรวมกิจกรรมทั้งหมดเป็นรายข้อ พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือสถานที่สำหรับการศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษาก่อนดำเนินการของกิจกรรมในโครงการนี้ ณ ห้วยฮ่องไคร้ ,การดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลา และนักเรียนสามารถนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน (µ= 4.52) ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ วิธีการดำเนินการกิจกรรม

6. ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ที่มีต่อโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่คะตวน จากผลการวิเคราะห์ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากประชากรทั้ง 4 กลุ่ม จัดเรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ดังนี้
    6.1 โดยภาพรวมทุกกิจกรรม มีความต้องการให้ดำเนินโครงการนี้ เพราะมีประโยชน์กับนักเรียนและผู้ปกครองมาก
    6.2 อยากให้โรงเรียนทำโครงการนี้ต่อไปอีกเพราะนักเรียนได้ความรู้ ทักษะการทำงานและสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในการดำรงชีวิตอนาคต    
    6.3 ควรมีการสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
    6.4 ควรเน้นและส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านรู้หน้าที่และความรับผิดชอบให้ดีขึ้นเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในโครงการอย่างมีคุณภาพและมีใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติดีขึ้น

อภิปรายผล
    
    ในการรายงานโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่คะตวน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ปีการศึกษา 2560 ครั้งนี้ มีประเด็นที่สมควรนำมาอภิปรายผลได้ดังนี้
    ด้านบริบทของโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่คะตวน จากผลการประเมินครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน จากการศึกษาเอกสารพบว่าทั้งนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 และนโยบายของโรงเรียนบ้านแม่คะตวน ได้กล่าวถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงทั้งสิ้น เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ารายการที่มีระดับการประเมินสูงสุด คือโครงการมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของชุมชน ทั้งนี้ อาจเกิดจาก โรงเรียนและสภาพของชุมชนบ้านแม่คะตวน มีพื้นเพของการเป็นชุมชนเกษตร วิถีชีวิตผูกพันกับการเกษตร ครั้นมีโครงการนี้ขึ้นมา จึงทำให้เชื่อได้ว่า ประชากรมีความเห็นและความเป็นไปได้ว่า สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องผลการศึกษา รองลงมาคือ ผู้บริหารและครูมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการโครงการ และโครงการมีความสอดคล้องกับความเป็นอยู่ของชุมชนและสังคม และจากการเปรียบเทียบกับเกณฑ์พบว่า ด้านบริบทผ่านเกณฑ์ ถือว่าสอดคล้องและเหมาะสมและเป็นไปได้ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการดำเนินโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่คะ
ตวน ได้นำนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดมาสู่การปฏิบัติจริง และได้ทำการศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการความจำเป็นของโรงเรียน ชุมชน ความต้องการของนักเรียนและความพร้อมของโรงเรียนก่อนที่จะดำเนินการตลอดจน คณะครูและผู้เกี่ยวข้องที่มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการจัดทำโครงการส่งผลให้ระดับผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับสว่าง ศักดิ์ใหญ่ (2554) ได้ประเมินโครงการเกษตรเพื่อชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านบ้านต้นส้าน เมื่อพิจารณาความเห็นครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ผลการประเมินพบว่าทั้งนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 และนโยบายของโรงเรียนบ้านต้นส้าน ผลการประเมินด้านบริบทโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์ ถือว่ามีความสอดคล้องของโครงการกับหน่วยงานต้นสังกัด และพิณ ชูทอง (2549) ได้ประเมินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริโรงเรียนบ้านเตง (เรือนจุลประชาสังคม) ผลการประเมินพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ได้แก่ ความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการอยู่ในระดับมาก และมีความเหมาะสมของกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด และสอดคล้องกับผลการประเมินของ ศุภชัย ผาจวง (2550)ที่ประเมินโครงการเกษตรพอเพียงในโรงเรียนบ้านสร้างคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการ
ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า รายการที่มีระดับการประเมินสูงสุด ตามลำดับได้แก่ สถานที่สำหรับดำเนินการของกิจกรรม , การดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และกำหนดเวลาและนักเรียนสามารถนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และสถานที่สำหรับการศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษาก่อนดำเนินการของกิจกรรมในโครงการนี้ (ณ ห้วยฮ่องไคร้) และมีรายการที่มีผลการประเมินอยู่ระดับมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวัน โรงเรียนบ้านแม่คะตวนได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากผู้บริหาร และการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชนและหน่วยงานอื่นเป็นอย่างดีเพราะโครงการจะต้องดำเนินงานภายใต้การมีส่วนร่วมจากบุคลากรและหน่วยงานทุกผ่ายอยู่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับศุภชัย ผาจวง(2550) ประเมินโครงการเกษตรพอเพียงในโรงเรียนบ้านสร้างคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ผลการศึกษาพบว่าด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากได้แก่กิจกรรมการดำเนินการโครงการและช่วงเวลาการดำเนินการและ พิณ ชูทอง(2549) ได้ประเมินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริโรงเรียนบ้านเตง (เรือนจุลประชาสังคม) ผลการประเมินพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ด้านปัจจัยของโครงการประเด็นงบประมาณดำเนินการโครงการ อยู่ในระดับมาก สว่าง ศักดิ์ใหญ่ (2554)ได้ประเมินโครงการเกษตรเพื่อชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านบ้านต้นส้าน เมื่อพิจารณาความเห็นครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับดีมากที่สุด ผ่านเกณฑ์และเสกสรร สามสี (2549)ได้เสนอผลการวิจัยเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ในโรงเรียนแกนนำ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ด้านปัจจัยเบื้องต้นมีความเพียงพอหรือมีความพร้อมในระดับมาก
    ด้านกระบวนการของโครงการตามแนวคิดของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายข้อส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากและรายการที่มีระดับการประเมินสูงสุดตามลำดับ ได้แก่ มีการวางแผนเตรียมการก่อนดำเนินการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม รองลงมา คือ มีการนำผลการประเมินผลไปปรับปรุงแก้ไขการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป และผู้บริหารมอบหมายงานมีคำสั่งแต่งตั้งบุคลากรรับผิดชอบการดำเนินการแต่ละกิจกรรมของโครงการโดยจากการประเมินดังกล่าว กล่าวได้ว่าการดำเนินงานต่างๆที่บังเกิดผลดีและประสบผลสำเร็จย่อมมาจากการวางแผนการดำเนินงานที่มีขั้นตอนชัดเจน เมื่อมีการดำเนินการต้องดำเนินงานตามแผน ขั้นตอน วิธีการและแนวปฏิบัติต่างๆที่กำหนดไว้ในแผนรวมทั้งต้องได้รับความร่วมมือในการดำเนินงานจากทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน กระบวนการในการดำเนินงานโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่คะตวน การทำงานเน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทุกกิจกรรมมีการประชุมระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การดำเนินงานแต่ละกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด มีการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอนตามแผนที่วางไว้ การบริหารงบประมาณเป็นไปด้วยความโปร่งใส มีเอกสารหลักฐานในการเบิกจ่าย มีคณะกรรมการตรวจสอบควบคุมดูแล มีการนิเทศ กับติดตาม ปรับปรุงพัฒนาการทำงานทุกขั้นตอน มีการสรุป ประเมินผล รายงานผลการดำเนินการงานของแต่ละกิจกรรม จึงส่งผลให้ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการด้านกระบวนการในภาพรวมของแต่ละกิจกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากสอดคล้องกับพิณ ชูทอง(2549) ได้ประเมินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริโรงเรียนบ้านเตง (เรือนจุลประชาสังคม) ผลการประเมินพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ด้านกระบวนการดำเนินการโครงการในความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน อยู่ในระดับมากและสว่าง ศักดิ์ใหญ่ (2554)ได้ประเมินโครงการเกษตรเพื่อชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านบ้านต้นส้าน เมื่อพิจารณาความเห็นครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับดีมากที่สุด ผ่านเกณฑ์และศุภชัย ผาจวง (2550) ประเมินโครงการเกษตรพอเพียงในโรงเรียนบ้านสร้างคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 ผลการศึกษาพบว่า ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินการโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ กิจกรรมการดำเนินโครงการและช่วงเวลาการดำเนินการ
    ด้านผลผลิตของโครงการ ผลผลิตของการดำเนินงานกิจกรรมโครงการในภาพรวมบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ผลสำเร็จของการดำเนินงานกิจกรรมโครงการในภาพรวมบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้วยังพบว่า ส่วนใหญ่มีผลการประเมินในระดับมาก ซึ่งรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับได้แก่ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ,สภาพแวดล้อมโรงเรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่หลากหลาย และนักเรียนสามารถปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ได้ ,สภาพแวดล้อมในโรงเรียนมีการพัฒนาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ทั้งนี้เนื่องมาจากการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ผลที่เกิดขึ้นสามารถสรุปได้ว่าโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่คะตวน เป็นโครงการที่มีประโยชน์และเกิดคุณค่าสำคัญสำหรับโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน ที่ทำให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ตามนโยบายการจัดการศึกษาของชาติและของโรงเรียน ซึ่งบุคคลสามารถนำผลที่ได้รับผลจากโครงการไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างดี โดยเฉพาะด้านการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินชีวิต เกิดความร่วมมือของทุกฝ่าย และนักเรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การดำเนินโครงการเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และได้ลงมือปฏิบัติจริง มีการกำกับติดตามการดำเนินงานทุกระยะ นอกจากนี้โครงการนี้สอดคล้องกับการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพของคนในชุมชนทำให้ทุกคนสามารถนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้จริง จึงส่งผลให้โครงการประสบผลสำเร็จ ดังที่ สว่าง ศักดิ์ใหญ่ (2554)ได้ประเมินโครงการเกษตรเพื่อชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านบ้านต้นส้าน เมื่อพิจารณาความเห็นครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด,ทิพวัลย์ พึ่งโพธิ์ (2550)ได้ประเมินโครงการบริหารโรงเรียนซอย 3 สาย 4 ซ้ายสู่ความเป็นเลิศ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผลการประเมินในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ด้านความเหมาะสมและความจำเป็นของโครงการ การกำหนดเวลาในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการไว้อย่างแน่นอนมีผลการประเมินในระดับมากที่สุด และควรมีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด, ศุภชัย ผาจวง(2550)ได้ประเมินโครงการเกษตรพอเพียงในโรงเรียนบ้านสร้างคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 ผลการศึกษาพบว่า ด้านผลผลิตของโครงการผลการประเมินตามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับปานกลาง และสว่าง ศักดิ์ใหญ่ (2554)ได้ประเมินโครงการเกษตรเพื่อชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านบ้านต้นส้าน เมื่อพิจารณาความเห็นครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับดีมากที่สุด โดยรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ การจัดกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนด ส่วนรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้ปกครอง ชุมชนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
    ความพึงพอใจของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมของโครงการโดยภาพรวมตามความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง พบว่า ส่วนใหญ่ผลการประเมินแต่ละกิจกรรมภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมกิจกรรมที่อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งรายการประเมินแต่ละกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับได้แก่ กิจกรรมการเพาะเห็ด กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก กิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ และเมื่อประเมินโดยภาพรวมทุกกิจกรรม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก และรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับได้แก่ สถานที่สำหรับการศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษาก่อนดำเนินการของกิจกรรมในโครงการนี้ ณ ห้วยฮ่องไคร้ ,การดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลา และนักเรียนสามารถนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ผลการประเมินดังกล่าว จากครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้
     จากการรายงานโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่คะตวน พบว่า ด้านบริบทสอดคล้องเหมาะสม และเป็นไปได้ ด้านปัจจัยพอเพียงและเหมาะสม ด้านกระบวนการพบว่าดำเนินงานโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านผลผลิตมีประสิทธิผล สมควรดำเนินการโครงการต่อไป ด้านผลสะท้อนความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ได้รับความไว้วางใจ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมในโครงการโดยมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานโครงการเกษตรพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่คะตวน ดังต่อไปนี้
    1.1 โรงเรียนควรมีการวางแผนการบริหาร และการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน นักเรียนและชุมชน
    1.2 ควรจัดงบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความคล่องตัว สมควรที่โรงเรียนต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆให้การสนับสนุนงบประมาณเพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
    1.3 การจัดกิจกรรมตามโครงการเกษตรสู่ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงเพื่ออาหารกลางวัน จะต้องดำเนินการในเวลาที่เหมาะสม ควรมีการปฏิบัติงานที่มีความยึดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา
    1.4 การดำเนินงานโครงการเกษตรสู่ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงเพื่ออาหารกลางวัน ผู้บริหารจะต้องเป็นแกนหลักในการบริหารและดำเนินการร่วมกับแกนนำอื่นๆเพื่อช่วยผลักดัน ส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานให้บุคลากรภายในสถานศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องภายนอกร่วมกันทำงานเป็นหมู่คณะ สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างบุคลากรทุกฝ่าย
    2. ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป
     2.1 การดำเนินโครงการที่สำคัญของโรงเรียนบ้านแม่คะตวนควรได้รับการประเมินทุกโครงการ ตามแผนปฏิบัติการประจำปีและดำเนินการทุกๆปี
     2.2 ควรนำผลการประเมินของโรงเรียนไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินของโรงเรียนอื่นที่ทำโครงการเดียวกันนี้ที่มีสภาพบริบททั่วไปของโรงเรียนใกล้เคียงกันเพื่อพัฒนาโครงการให้มีคุณภาพต่อไป
     2.3 ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานโครงการต่างๆตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     2.4 ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ต้องมาสนับสนุน ร่วมมือพัฒนา ระดมทรัพยากร เพื่อให้มีความยั่งยื่น เจริญก้าวหน้าของโครงการตลอดไป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^