รายงานการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้าน
แหล่งเรียนรู้ โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40
ผู้รายงาน นายสิทธิโชค ทองโคตร
บทคัดย่อ
การปฏิรูปการศึกษา ที่เน้นการกระจายอำนาจ และการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ตัวแทนของประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเขตชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน หรือสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในชุมชน บทบาท และหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการกำกับ และส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาอันเนื่องมาจากเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ต้องการให้ประชาชนซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาอย่างแท้จริง การศึกษาในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน บึงสามพันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 2) พัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ให้เกิดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน เกี่ยวกับ การปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในและภายนอกบริเวณโรงเรียน การปรับปรุงห้องปฏิบัติการ การปรับปรุงห้องอินเทอร์เน็ต ศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิต,ศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียง(การปลูกพืชแบบไฮโดรโปรนิค) ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน และการปรับปรุงห้องเกียรติยศของโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินงานของกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า การพัฒนาการ มีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 และ 4) สังเคราะห์กระบวนการดำเนินงานพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 โดยใช้กลยุทธ์การประชุมปฏิบัติการ และการประเมินโดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของ เคมมิสและแม็คแทคการ์ท (Kemmis and McTaggart) และการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Action Learning) ของฉลาด จันทรสมบัติ โดยมีขั้นตอนดังนี้ (1) การวางแผน (Planning) (2) การปฏิบัติ (Action) (3) การสังเกต (Observation) (4) การสะท้อนผล (Reflection) (5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) โดยมีผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าโดยสมัครใจ จำนวน 15 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบทดสอบ และแบบประเมิน การตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิค การตรวจสอบคุณภาพข้อมูลแบบหลายมิติ วิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า การพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ใช้กลยุทธ์การอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยภาพรวมการพัฒนาทั้ง 2 วงรอบ ปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจในการมีส่วนร่วมในกิจการของโรงเรียน รู้จักบทบาทหน้าที่ตนเอง ในการเป็นคณะกรรมการสถานศึกษามากขึ้น และคาดหวังในผลการเรียนรู้ที่พัฒนาดีขึ้น ของนักเรียน แต่ในวงรอบที่ 1 ผู้รับการอบรมความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ และแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนอยู่มากแต่มีบางส่วนที่ยังต้องพัฒนาในวงรอบที่ 2 ต่อไป เมื่ออบรม ผู้เข้าประชุม มีความเข้าใจมากขึ้นและการประเมินคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของโรงเรียนน้อย โครงสร้างทางสังคมของท้องถิ่น ทางสถานศึกษามีกิจกรรมเท่านั้น และได้ดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยใช้กลยุทธ์การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการประเมิน แล้วนำผลการดำเนินงานมาวิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ในการปรับปรุงแก้ปัญหาร่วมกัน และดำเนินการพัฒนาต่อไป และพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการร่วมบริหารจัดการศึกษาและเห็นความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ โดยให้ความร่วมมือในการสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน คือ การปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในและภายนอกบริเวณโรงเรียน การปรับปรุงห้องปฏิบัติการ การปรับปรุงห้องอินเทอร์เน็ต ศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิต,ศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียง(การปลูกพืชแบบไฮโดรโปรนิค) ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน และการปรับปรุงห้องเกียรติยศของโรงเรียน โดยสรุป การพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 โดยใช้กลยุทธ์การประชุมปฏิบัติการ และการบริหารงานแบบ มีส่วนร่วม ช่วยให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง ในการร่วมบริหารจัดการศึกษา โดยเฉพาะด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และร่วมมือกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในโรงเรียน จึงควรส่งเสริมสนับสนุนให้นำกลยุทธ์ดังกล่าว ไปพัฒนาโรงเรียนอื่นต่อไป