รายงานการประเมินโครงการคุณธรรม จริยธรรม เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอั
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการคุณธรรมจริยธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียนโรงเรียนบ้านตี๊ด
ชื่อผู้ประเมิน พิพัฒน์ พงษ์พันธ์
ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2555
ปีที่สำเร็จ 2556
รายงานการประเมินโครงการคุณธรรมจริยธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โรงเรียนบ้านตี๊ดครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) ประเมินกระบวนการของโครงการ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ โดยรูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (CIPP Model)
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน โรงเรียนบ้านตึ๊ด จำนวน 4 คน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนิน โครงการคุณธรรมจริยธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียนโรงเรียนบ้านตึ๊ดในปีการศึกษา 2555 กรรมการสถานศึกษา 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน 24 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 จำนวน 24 คน รวมประชากรทั้งหมด 59 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสร้างขึ้นเอง
สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการประเมินโครงการตาม วัตถุประสงค์ของการประเมิน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ เห็นด้วย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่1 ก่อนการดำเนินการด้านบริบท เป็นแบบบันทึกการประชุม ด้านปัจจัยนำเข้า เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเหมาะสม เพียงพอ ฉบับที่ 1 ระยะที่ 2 ระหว่างการดำเนินการ ด้านกระบวนการ เป็นแบบสอบถามความเหมาะสม ฉบับที่ 3 ถามจำนวน 2 ครั้ง และระยะที่ 3 สิ้นสุดการดำเนินการ ด้านผลผลิต เป็นแบบสอบถามความเหมาะสม ฉบับที่ 3 และ 4
ผลการประเมินโครงการพบว่า
โครงการคุณธรรมจริยธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์นักเรียนโรงเรียนบ้านตึ๊ด มีผลการประเมินตามมิติ การประเมิน 4 ด้านคือ
ด้านบริบท (Context: C) จาการดำเนินประชุม ประเมินก่อนการดำเนินการ ประกอบด้วย ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ในภาพรวมพบว่ามี สภาพปัญหาและจำเป็นที่ต้องดำเนินการมีความเหมาะสมในกิจกรรมทีนำมาดำเนินการจัดกิจกรรม เหมาะสมบริบทของสภาพของโรงเรียนมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินการของโครงการ มีความสอดคล้องในการดำเนินการ ผ่านเกณฑ์ประเมิน
ด้านปัจจัย (Input: I) จากการประเมิน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ในภาพรวม
อยู่ในระดับ มาก ผ่านเกณฑ์ประเมินเมื่อประเมินรายด้านพบว่า มีความเพียงพอ ด้านงบประมาณ การบริหารจัดการ ด้านวัสดุอุปกรณ์สถานที่ และบุคคลากร มีความเหมาะสมเพียงพอระดับมากผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ทุกข้อรายการ
ด้านกระบวนการ (Process: P) จากการประเมินในระยะที่ 1 ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียนในภาพรวมอยู่ใน ระดับ ปานกลาง ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินเมื่อประเมินรายด้านพบว่า การวางแผน (Plan) การปรับปรุงแก้ไข (Act) การติดตามตรวจสอบ (Check) และการปฏิบัติตามแผน (Do) ในระยะที่ 1 พบปัญหา และอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนทำให้การดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพ และผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด
ในระยะที่ 2 จากการสอบถามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายการตัวชี้วัด พบว่า การวางแผน (Plan) การติดตามตรวจสอบ (Check) การปรับปรุงแก้ไข (Act) และ การปฏิบัติตามแผน (Do) ในระยะที่ 2 มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด
ด้านผลผลิตของโครงการ (Product: P) ในภาพรวมอยู่ในจากการประเมินครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ระดับ มากที่สุด และด้านคุณธรรมจริยธรรม อยู่ในระดับ มาก ผ่านเกณฑ์ประเมิน เกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ทุกข้อรายการเมื่อประเมินราย ด้านพบว่า
4.1 ด้านคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียน โดยรวม ระดับ มาก ผ่านเกณฑ์การประเมินพบว่า ระดับสูงสุด คือ นักเรียนเป็นลูกที่ดีของผู้ปกครอง อยู่ระดับ มาก และระดับน้อยสุด คือ การประหยัด และอดออม ระดับ มาก
4.2 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยรวม มากทีสุด ผ่านเกณฑ์การประเมินพบว่า ระดับสูงสุด คือ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อยู่ในระดับ มากที่สุดและระดับน้อยสุด คือใฝ่เรียนรู้ ระดับ มาก
คำสำคัญ การประเมินโครงการคุณธรรมจริยธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียนโรงเรียนบ้านตี๊ด