LASTEST NEWS

06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่

การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด

usericon

เรื่อง    “การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ด้าน
    การอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ”
ผู้วิจัย    นางยินดี ปัญจเส็น
ระดับชั้น    มัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียน    อบจ. เมืองภูเก็ต
ปีการศึกษา    2559

บทคัดย่อ

    การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ การวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3/3 โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 แผน ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.21/80.80
2. แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6441
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
โดยสรุป การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลเหมาะสม ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษสูงขึ้น รู้จักวิเคราะห์คำและความ ทั้งจากเนื้อหาที่กำหนด และเนื้อหาที่สนใจด้วยตนเอง สามารถสร้างองค์ความรู้ได้อย่างยั่งยืน จึงควรสนับสนุนให้ครูนำวิธีการการจัดการเรียนรู้นี้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน6 เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์ของรายวิชาต่อไป



ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^