LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ

usericon

ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “HUAIRET MODEL”
โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560-2561
ชื่อผู้วิจัย : นางธรินทร์รัษฎิ์ ทองสุข
ปีการศึกษา : 2560-2561
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “HUAIRET MODEL” โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “HUAIRET MODEL” โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561 3) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ กลยุทธ์ “HUAIRET MODEL” โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยนักเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 43 คน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 45 ครู ปีการศึกษา 2560 และ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 8 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2560 จำนวน 43 คน และปีการศึกษา 2561 จำนวน 45 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 และ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 7 คน เครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2560 และ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 16 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.95-0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS for Window version 22

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ กลยุทธ์ “HUAIRET MODEL” โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ปีการศึกษา 2560โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูและกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่กลุ่มนักเรียนและกลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก ในปีการศึกษา 2561โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ และกลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกันสอดคล้องตามสมมติฐาน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “HUAIRET MODEL” โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครองปีการศึกษา 2560โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มครู อยู่ในระดับมาก เช่นกัน ในปีการศึกษา 2561โดยภาพรวมสองกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกันสอดคล้องตามสมมติฐาน
    3. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลคุณภาพคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ ปีการศึกษา 2560-2561 ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครองปีการศึกษา 2560โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มครู อยู่ในระดับมาก เช่นกัน ในปีการศึกษา 2561โดยภาพรวมสองกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
4. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “HUAIRET MODEL” โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูและกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือกลุ่มนักเรียนและกลุ่มเครือข่ายชุมชน อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ในปีการศึกษา 2561 หลังการพัฒนาโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปใช้
    1.1 การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ประสบผลสำเร็จและเกิดความยั่งยืน สถานศึกษาควรจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยมีการกำหนดเป้าหมายให้ ทุกคนในองค์กรมีความเข้าใจ เข้าถึง ในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบ มีการบูรณาการเรียนรู้ ทุกกลุ่มสาระทุกกิจกรรม มีการใช้เครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ จากชุมชน มีการสร้างขวัญกำลังใจ ส่งเสริม สนับสนุน แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ทั้งร่างกายและจิตใจรวมทั้งมิติสุขภาพ ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันทางจิตใจ มีทักษะชีวิต สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และควรนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ในการเก็บข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนอย่างมีระบบถูกต้องและมีความเชื่อถือได้ และมีการเผยแพร่ผลงานของโรงเรียนเพื่อเป็นแบบอย่างแก่หน่วยงานภายนอก
    1.2 สถานศึกษาควรชี้แจงและทำความเข้าใจเพื่อสร้างความตระหนักให้ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถึงความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และควรใช้หลักการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อีกทั้งใช้การวิจัยเป็นฐานในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ
    1.3 หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอันจะส่งผลต่อคุณภาพคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
    2.1     ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
    2.2 ควรศึกษารูปแบบหรือกลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนหรือการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในลักษณะอื่น


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^